แท็ก
หมู่เกาะ
กรุงเทพ--30 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยกับสาธารณรัฐคีรีบาสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2548 การสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกทางการทูตและเศรษฐกิจของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง รวมทั้งความร่วมมือในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรอบ Pacific Islands Forum (PIF) ที่ไทยเป็นสมาชิกประเทศคู่เจรจาตั้งแต่ปี 2547
คีรีบาสตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย มีพื้นที่ทั้งหมด 811 ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 3,550,000 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะหินปะการังจำนวน 32 เกาะ โดยแบ่งเป็น 3 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะกิลเบิร์ท (Gilbert Islands) ทางตะวันตก หมู่เกาะฟีนิกซ์ (Phoenix Islands) ทางตอนกลาง และหมู่เกาะไลน์ (Line Islands) ทางตะวันออก มีภูมิอากาศเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เมืองหลวงคือกรุงตาระวา (Tarawa) มีประชากรประมาณ 101,000 คน โดยร้อยละ 93 เป็นชาวโพลินีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรแตสแตนท์ ภาษาราชการคือภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาพื้นเมืองกิลเบิร์ทอย่างแพร่หลาย
คีรีบาสซึ่งมีชื่อเดิมว่าหมู่เกาะกิลเบิร์ท ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522 ปัจจุบันมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีได้รับการ เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงและมีวาระ 4 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายอาโน๊ตเต้ ทอง (Anote Tong) ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกตำแหน่งหนึ่ง
เศรษฐกิจของคีรีบาสขึ้นอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกมะพร้าวแห้ง สาหร่ายและปลา ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ไทย สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ คีรีบาสยังมีรายได้จากการ ให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ คีรีบาส มีรายได้ประชาชาติประมาณ 58.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 663 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่า การค้าระหว่างไทยกับคีรีบาสอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูป ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังคีรีบาสมูลค่าประมาณ 9 แสนดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้าสัตว์น้ำมูลค่าประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คีรีบาสเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และ Pacific Islands Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งแต่ปี 2514
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ประเทศไทยกับสาธารณรัฐคีรีบาสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 29 มิถุนายน 2548 การสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกทางการทูตและเศรษฐกิจของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง รวมทั้งความร่วมมือในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรอบ Pacific Islands Forum (PIF) ที่ไทยเป็นสมาชิกประเทศคู่เจรจาตั้งแต่ปี 2547
คีรีบาสตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างหมู่เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย มีพื้นที่ทั้งหมด 811 ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 3,550,000 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะหินปะการังจำนวน 32 เกาะ โดยแบ่งเป็น 3 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะกิลเบิร์ท (Gilbert Islands) ทางตะวันตก หมู่เกาะฟีนิกซ์ (Phoenix Islands) ทางตอนกลาง และหมู่เกาะไลน์ (Line Islands) ทางตะวันออก มีภูมิอากาศเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เมืองหลวงคือกรุงตาระวา (Tarawa) มีประชากรประมาณ 101,000 คน โดยร้อยละ 93 เป็นชาวโพลินีเซีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรแตสแตนท์ ภาษาราชการคือภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาพื้นเมืองกิลเบิร์ทอย่างแพร่หลาย
คีรีบาสซึ่งมีชื่อเดิมว่าหมู่เกาะกิลเบิร์ท ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2522 ปัจจุบันมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีได้รับการ เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงและมีวาระ 4 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายอาโน๊ตเต้ ทอง (Anote Tong) ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกตำแหน่งหนึ่ง
เศรษฐกิจของคีรีบาสขึ้นอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกมะพร้าวแห้ง สาหร่ายและปลา ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น ไทย สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ คีรีบาสยังมีรายได้จากการ ให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ คีรีบาส มีรายได้ประชาชาติประมาณ 58.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 663 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่า การค้าระหว่างไทยกับคีรีบาสอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูป ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังคีรีบาสมูลค่าประมาณ 9 แสนดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้าสัตว์น้ำมูลค่าประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คีรีบาสเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และ Pacific Islands Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งแต่ปี 2514
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-