กรุงเทพ--21 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ที่จังหวัดภูเก็ต ดังนี้
1. ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ที่โรงแรม Hilton Phuket Arcadia Resort & Spa โดยจะจัดการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันที่ 28 มกราคม 2548 และการประชุมในระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 29 มกราคม 2548 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ฯ ในวันที่ 29 มกราคม 2548 เวลาประมาณ 09.00 น. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง-ประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประธานร่วมในการประชุม ฯ และโดยได้เชิญรัฐมนตรีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ ดังนี้
- ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
- ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ ติมอร์เลสเต
- ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ โซมาเลีย ซีเชลส์ เคนยา ทานซาเนีย โมซัมบิก โคโมโรส มาดากัสการ์ มอริเชียส และแอฟริกาใต้
- จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
- สหภาพยุโรป
- สหรัฐอเมริกา แคนาดา
- สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฯ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี รัสเซีย
- องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) /United Nations Special Coordinator for Tsunami Relief/ ESCAP/ UNDP/UNEP/World Meteorological Organization (WMO)/Asian Development Bank (ADB)/Islamic Development Bank (ISB)/ Intergovernmental Oceanographic Commission (IOC)/International Tsunami Information Center (ITIC)
2. วัตถุประสงค์ของการประชุม คือ
2.1 แลกเปลี่ยนทัศนะและพิจารณาในระดับนโยบายเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยได้เสนอให้มีการขยายและปรับปรุง ADPC ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ดูแลรับผิดชอบเรื่องระบบเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งนี้ การหารือเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าจะครอบคลุมมิติต่าง ๆ ได้แก่
- การวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยง
- การจัดเก็บข้อมูล การพยากรณ์ และการวางรูปแบบของการเตือนภัย ล่วงหน้า
- การกระจายข้อมูล และประสานงานเมื่อได้รับการเตือนภัย
- การจัดระบบเตรียมความพร้อมของระบบเตือนภัยในภาพรวม (capacity building)
- การให้ความรู้และสร้างความตื่นตัวให้กับสาธารณชนเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับการเตือนภัย
2.2 หารือเรื่องการจัดตั้งกองทุน (Voluntary Trust Fund) ซึ่งจะเป็นกองทุนสำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในบริเวณรอบมหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตกของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ประกาศที่จะบริจาคจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
2.3 ติดตามผลการประชุม World Conference on Disaster Reduction (WCDR) ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2548 และการประชุม ASEAN-China Workshop on Earthquake-Generated Tsunami Warning ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ (Ministerial Meeting on Regional Cooperation on Tsunami Early Warning Arrangements) ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ที่จังหวัดภูเก็ต ดังนี้
1. ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ที่โรงแรม Hilton Phuket Arcadia Resort & Spa โดยจะจัดการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสในวันที่ 28 มกราคม 2548 และการประชุมในระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 29 มกราคม 2548 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ฯ ในวันที่ 29 มกราคม 2548 เวลาประมาณ 09.00 น. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง-ประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นประธานร่วมในการประชุม ฯ และโดยได้เชิญรัฐมนตรีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ ดังนี้
- ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
- ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ ติมอร์เลสเต
- ประเทศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ โซมาเลีย ซีเชลส์ เคนยา ทานซาเนีย โมซัมบิก โคโมโรส มาดากัสการ์ มอริเชียส และแอฟริกาใต้
- จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี
- ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
- สหภาพยุโรป
- สหรัฐอเมริกา แคนาดา
- สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฯ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี รัสเซีย
- องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center-ADPC) /United Nations Special Coordinator for Tsunami Relief/ ESCAP/ UNDP/UNEP/World Meteorological Organization (WMO)/Asian Development Bank (ADB)/Islamic Development Bank (ISB)/ Intergovernmental Oceanographic Commission (IOC)/International Tsunami Information Center (ITIC)
2. วัตถุประสงค์ของการประชุม คือ
2.1 แลกเปลี่ยนทัศนะและพิจารณาในระดับนโยบายเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งไทยได้เสนอให้มีการขยายและปรับปรุง ADPC ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ฯ ดูแลรับผิดชอบเรื่องระบบเตือนภัยล่วงหน้า ทั้งนี้ การหารือเรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าจะครอบคลุมมิติต่าง ๆ ได้แก่
- การวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยง
- การจัดเก็บข้อมูล การพยากรณ์ และการวางรูปแบบของการเตือนภัย ล่วงหน้า
- การกระจายข้อมูล และประสานงานเมื่อได้รับการเตือนภัย
- การจัดระบบเตรียมความพร้อมของระบบเตือนภัยในภาพรวม (capacity building)
- การให้ความรู้และสร้างความตื่นตัวให้กับสาธารณชนเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับการเตือนภัย
2.2 หารือเรื่องการจัดตั้งกองทุน (Voluntary Trust Fund) ซึ่งจะเป็นกองทุนสำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าในบริเวณรอบมหาสมุทรอินเดียและฝั่งตะวันตกของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ประกาศที่จะบริจาคจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
2.3 ติดตามผลการประชุม World Conference on Disaster Reduction (WCDR) ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2548 และการประชุม ASEAN-China Workshop on Earthquake-Generated Tsunami Warning ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-