กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--ธสน.
มาเลเซียเคยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก ยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ในช่วงปี 2520-2533 รองลงมาคือ อินโดนีเซีย และไทยเป็นอันดับสาม ต่อมา มาเลเซียประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลมาเลเซียจึงมีนโยบาย ลดพื้นที่ปลูกยางพาราลง และหันไปส่งเสริมการปลูกพืชอื่นแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนหันไปมุ่งส่งเสริม อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น
นับตั้งแต่ปี 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ไทยจึงเป็นประเทศผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ เป็นอันดับหนึ่งของโลกแทนมาเลเซีย ตามมาด้วยอินโดนีเซีย และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่สาม นอกจากจะได้รับผลดีจากการปรับนโยบายของมาเลเซียดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไทยยังได้มีการปรับปรุงพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดี ทดแทนพันธุ์พื้นเมืองซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศักยภาพการแข่งขันของไทยกับอินโดนีเซียและมาเลเซียในด้านการปลูกยางพารา พอสรุปได้ดังนี้
- พื้นที่เพาะปลูก : พื้นที่เพาะปลูกยางพาราส่วนใหญ่เป็นสวนยางขนาดเล็ก คล้ายกันทั้งสามประเทศ แต่ไทยมีสัดส่วนของพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กมากที่สุดคือ 95% (อินโดนีเซีย 83% และมาเลเซีย 81%)
- ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ : ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี อินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ต่อปี ส่วนมาเลเซียลดลงร้อยละ 4.0 ต่อปี
- ต้นทุนการผลิต : ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่ามาเลเซีย เนื่องมาจากค่าจ้าง แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งอินโดนีเซียไม่มีการเก็บอากรสงเคราะห์จากผู้ส่งออกยางธรรมชาติเช่นไทย และมาเลเซีย ส่วนมาเลเซียมีสวนยางขนาดใหญ่มากกว่าไทยและอินโดนีเซีย จึงมีต้นทุนด้านการจัดการสวนยางสูงกว่า
หากเปรียบเทียบโครงสร้างการผลิตยางธรรมชาติของทั้งสามประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
- ยางแผ่นรมควัน : ไทยผลิตยางแผ่นรมควันเป็นหลัก (ร้อยละ 57 ของผลผลิตรวม) ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตยางแผ่นรมควันเพียงร้อยละ 5.7 และ 4.9 ของผลผลิตรวมของแต่ละประเทศ คุณภาพยางแผ่นรมควันของอินโดนีเซียสูงกว่าของไทยและมาเลเซีย โดยอินโดนีเซียผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 1 ได้มากถึงร้อยละ 94.9 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่ไทยและมาเลเซียผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 ได้มากที่สุดคือร้อยละ 78.5 และร้อยละ 80.9 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของแต่ละประเทศ
- ยางแท่ง : มาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตยางแท่งเป็นหลัก (ร้อยละ 80.3 และ 93.2 ของผลผลิตยางโดยรวมของแต่ละประเทศ) ส่วนไทยผลิตยางแท่งเพียงร้อยละ 21 ของผลผลิตรวมเท่านั้น ในขณะที่แนวโน้มความต้องการของประเทศผู้ใช้ยางเปลี่ยนไปใช้ยางแท่งมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปใช้แปรรูป ประกอบกับราคายางแผ่นรมควันมีความผันผวนสูง ทำให้ประเทศผู้ซื้อรายสำคัญหันไปซื้อยางแท่งทดแทนยางแผ่นรมควันมากขึ้น
- น้ำยางข้น : ไทยและมาเลเซียผลิตน้ำยางข้นเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมของแต่ละประเทศ แต่อินโดนีเซียผลิตน้ำยางข้นเพียงร้อยละ 2-3 เท่านั้น เนื่องจากการผลิตน้ำยางข้นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงกว่าการผลิตยางประเภทอื่น
- การใช้ยางในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือแปรรูปภายในประเทศ : มาเลเซียมีสัดส่วนการใช้ภายในประเทศสูงที่สุด (ร้อยละ 30.1) เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้ายางพารา ในขณะที่ไทยและอินโดนีเซีย มีสัดส่วนการใช้ยางในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หรือแปรรูปภายในประเทศต่ำกว่ามาก คือร้อยละ 8.4 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากมุ่งเน้นการส่งออกเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
ทางด้านตลาดส่งออกนั้น สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีความต้องการใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก รองลงมาคือ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน สามตลาดแรกนั้นต้องนำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศทั้งหมด แต่สัดส่วนการนำเข้ายางแต่ละประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ส่วนแบ่งตลาดของไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จึงแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ดังนี้
- ตลาดสหรัฐอเมริกา : ยางพาราจากอินโดนีเซียมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริกาสูงที่สุด คือร้อยละ 58 ไทยเป็นอันดับสอง ประมาณร้อยละ 18-20 และมาเลเซียเป็นอันดับสาม ประมาณร้อยละ 12 หากจำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์ พอจะแบ่งออกได้เป็น
- ยางแท่ง (มีสัดส่วนร้อยละ 62 ของการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของสหรัฐฯ) อินโดนีเซียครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 74) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 12) และไทย (ร้อยละ 8)
- ยางแผ่นรมควัน (สัดส่วนร้อยละ 22 ของการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของสหรัฐฯ) ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 60-70) อินโดนีเซียเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 15-20) มาเลเซียเป็นอันดับสาม (ราวร้อยละ 10)
- น้ำยางข้น (สัดส่วนร้อยละ 9.4 ของการนำเข้า) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (ร้อยละ 40) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 30) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 21)
- ตลาดสหภาพยุโรป : ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ราวร้อยละ 28) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 23) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 16)
- ยางแผ่นรมควัน มีสัดส่วนการนำเข้ามากที่สุดในตลาดสหภาพยุโรป ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 66) มาลเซียเป็นอันสอง (ร้อยละ 8) และอินโดนีเซียเป็นอันดับสี่ (ร้อยละ 5) รองจาก โคตดิวัวร์ ซึ่งเป็นอันดับสาม (ร้อยละ 6)
- น้ำยางข้น มีสัดส่วนนำเข้ามากอันดับสองในตลาดนี้ ไทยครองตลาดอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 30) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 23) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 13)
- ตลาดญี่ปุ่น : ไทยครองส่วนแบ่งตลาดยางพาราเป็นอันดับหนึ่งในตลาดญี่ปุ่น (ราวร้อยละ 70) รองลงมาคืออินโดนีเซีย (ร้อยละ 18) และมาเลเซีย (ร้อยละ 9)
- ยางแผ่นรมควัน (มีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการนำเข้ายางพาราทั้งหมดของญี่ปุ่น) ไทยครองตลาด เป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 94) รองลงมาคือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย (ร้อยละ 2-3 ใกล้เคียงกัน) อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายางแผ่นรมควันในตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง และหันไปนำเข้ายางแท่งมากขึ้น
- ยางแท่ง (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของการนำเข้า)
- น้ำยางข้น (มีสัดส่วนราวร้อยละ 2 ของการนำเข้า) มาเลเซียเป็นผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น (ร้อยละ 90) รองลงมาคือไทย (ร้อยละ 9)--จบ--
-อน-
มาเลเซียเคยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก ยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ในช่วงปี 2520-2533 รองลงมาคือ อินโดนีเซีย และไทยเป็นอันดับสาม ต่อมา มาเลเซียประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลมาเลเซียจึงมีนโยบาย ลดพื้นที่ปลูกยางพาราลง และหันไปส่งเสริมการปลูกพืชอื่นแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนหันไปมุ่งส่งเสริม อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางมากขึ้น
นับตั้งแต่ปี 2534 มาจนถึงปัจจุบัน ไทยจึงเป็นประเทศผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ เป็นอันดับหนึ่งของโลกแทนมาเลเซีย ตามมาด้วยอินโดนีเซีย และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่สาม นอกจากจะได้รับผลดีจากการปรับนโยบายของมาเลเซียดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไทยยังได้มีการปรับปรุงพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2530 รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดี ทดแทนพันธุ์พื้นเมืองซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศักยภาพการแข่งขันของไทยกับอินโดนีเซียและมาเลเซียในด้านการปลูกยางพารา พอสรุปได้ดังนี้
- พื้นที่เพาะปลูก : พื้นที่เพาะปลูกยางพาราส่วนใหญ่เป็นสวนยางขนาดเล็ก คล้ายกันทั้งสามประเทศ แต่ไทยมีสัดส่วนของพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กมากที่สุดคือ 95% (อินโดนีเซีย 83% และมาเลเซีย 81%)
- ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ : ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี อินโดนีเซียเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.0 ต่อปี ส่วนมาเลเซียลดลงร้อยละ 4.0 ต่อปี
- ต้นทุนการผลิต : ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย แต่ต่ำกว่ามาเลเซีย เนื่องมาจากค่าจ้าง แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งอินโดนีเซียไม่มีการเก็บอากรสงเคราะห์จากผู้ส่งออกยางธรรมชาติเช่นไทย และมาเลเซีย ส่วนมาเลเซียมีสวนยางขนาดใหญ่มากกว่าไทยและอินโดนีเซีย จึงมีต้นทุนด้านการจัดการสวนยางสูงกว่า
หากเปรียบเทียบโครงสร้างการผลิตยางธรรมชาติของทั้งสามประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
- ยางแผ่นรมควัน : ไทยผลิตยางแผ่นรมควันเป็นหลัก (ร้อยละ 57 ของผลผลิตรวม) ส่วนมาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตยางแผ่นรมควันเพียงร้อยละ 5.7 และ 4.9 ของผลผลิตรวมของแต่ละประเทศ คุณภาพยางแผ่นรมควันของอินโดนีเซียสูงกว่าของไทยและมาเลเซีย โดยอินโดนีเซียผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 1 ได้มากถึงร้อยละ 94.9 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่ไทยและมาเลเซียผลิตยางแผ่นรมควันชั้น 3 ได้มากที่สุดคือร้อยละ 78.5 และร้อยละ 80.9 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของแต่ละประเทศ
- ยางแท่ง : มาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตยางแท่งเป็นหลัก (ร้อยละ 80.3 และ 93.2 ของผลผลิตยางโดยรวมของแต่ละประเทศ) ส่วนไทยผลิตยางแท่งเพียงร้อยละ 21 ของผลผลิตรวมเท่านั้น ในขณะที่แนวโน้มความต้องการของประเทศผู้ใช้ยางเปลี่ยนไปใช้ยางแท่งมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปใช้แปรรูป ประกอบกับราคายางแผ่นรมควันมีความผันผวนสูง ทำให้ประเทศผู้ซื้อรายสำคัญหันไปซื้อยางแท่งทดแทนยางแผ่นรมควันมากขึ้น
- น้ำยางข้น : ไทยและมาเลเซียผลิตน้ำยางข้นเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกันคือประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมของแต่ละประเทศ แต่อินโดนีเซียผลิตน้ำยางข้นเพียงร้อยละ 2-3 เท่านั้น เนื่องจากการผลิตน้ำยางข้นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงกว่าการผลิตยางประเภทอื่น
- การใช้ยางในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหรือแปรรูปภายในประเทศ : มาเลเซียมีสัดส่วนการใช้ภายในประเทศสูงที่สุด (ร้อยละ 30.1) เนื่องจากรัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้ายางพารา ในขณะที่ไทยและอินโดนีเซีย มีสัดส่วนการใช้ยางในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หรือแปรรูปภายในประเทศต่ำกว่ามาก คือร้อยละ 8.4 และ 9.1 ตามลำดับ เนื่องจากมุ่งเน้นการส่งออกเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
ทางด้านตลาดส่งออกนั้น สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีความต้องการใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก รองลงมาคือ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน สามตลาดแรกนั้นต้องนำเข้ายางธรรมชาติจากต่างประเทศทั้งหมด แต่สัดส่วนการนำเข้ายางแต่ละประเภทแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ส่วนแบ่งตลาดของไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จึงแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ดังนี้
- ตลาดสหรัฐอเมริกา : ยางพาราจากอินโดนีเซียมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริกาสูงที่สุด คือร้อยละ 58 ไทยเป็นอันดับสอง ประมาณร้อยละ 18-20 และมาเลเซียเป็นอันดับสาม ประมาณร้อยละ 12 หากจำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์ พอจะแบ่งออกได้เป็น
- ยางแท่ง (มีสัดส่วนร้อยละ 62 ของการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของสหรัฐฯ) อินโดนีเซียครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 74) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 12) และไทย (ร้อยละ 8)
- ยางแผ่นรมควัน (สัดส่วนร้อยละ 22 ของการนำเข้ายางธรรมชาติทั้งหมดของสหรัฐฯ) ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 60-70) อินโดนีเซียเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 15-20) มาเลเซียเป็นอันดับสาม (ราวร้อยละ 10)
- น้ำยางข้น (สัดส่วนร้อยละ 9.4 ของการนำเข้า) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (ร้อยละ 40) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 30) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 21)
- ตลาดสหภาพยุโรป : ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ราวร้อยละ 28) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 23) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 16)
- ยางแผ่นรมควัน มีสัดส่วนการนำเข้ามากที่สุดในตลาดสหภาพยุโรป ไทยครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 66) มาลเซียเป็นอันสอง (ร้อยละ 8) และอินโดนีเซียเป็นอันดับสี่ (ร้อยละ 5) รองจาก โคตดิวัวร์ ซึ่งเป็นอันดับสาม (ร้อยละ 6)
- น้ำยางข้น มีสัดส่วนนำเข้ามากอันดับสองในตลาดนี้ ไทยครองตลาดอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 30) รองลงมาคือ มาเลเซีย (ร้อยละ 23) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 13)
- ตลาดญี่ปุ่น : ไทยครองส่วนแบ่งตลาดยางพาราเป็นอันดับหนึ่งในตลาดญี่ปุ่น (ราวร้อยละ 70) รองลงมาคืออินโดนีเซีย (ร้อยละ 18) และมาเลเซีย (ร้อยละ 9)
- ยางแผ่นรมควัน (มีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการนำเข้ายางพาราทั้งหมดของญี่ปุ่น) ไทยครองตลาด เป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 94) รองลงมาคือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย (ร้อยละ 2-3 ใกล้เคียงกัน) อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายางแผ่นรมควันในตลาดญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลง และหันไปนำเข้ายางแท่งมากขึ้น
- ยางแท่ง (มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของการนำเข้า)
- น้ำยางข้น (มีสัดส่วนราวร้อยละ 2 ของการนำเข้า) มาเลเซียเป็นผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น (ร้อยละ 90) รองลงมาคือไทย (ร้อยละ 9)--จบ--
-อน-