กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (19 พฤษภาคม 2543) นายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2543 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ สรุปดังนี้
1. การจัดการประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ได้แบ่งการประชุมหารือเป็น 3 วาระคือ การรับประทานอาหารค่ำพร้อมกับหารือข้อราชการ (Working Dinner) เกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์ การประชุมระหว่างหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (Retreat) ของการประชุม ARF เกี่ยวกับประเด็นปัญหาระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการประชุมระหว่างปี (Inter-sessional activities) ตลอดจนประเด็นการสมัครเป็นสมาชิก ARF ของเกาหลีเหนือ
2. สำหรับการหารือเกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์ นั้น ที่ประชุมได้เห็นพ้องว่าผลกระทบอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ต่อภูมิภาคนั้น มีทั้งด้านบวกและลบ ดังนั้น ประเทศสมาชิกจึงเห็นว่า ความร่วมมือในภูมิภาคในเวทีต่างๆ รวมถึงเวที ARF นี้ เพื่อรองรับและรับมือกับผลกระทบด้านลบต่างๆ จึงมีความจำเป็นยิ่ง
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะได้ปรึกษาหารือเรื่องนี้เพิ่มเติมในการประชุม ARF ระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ 7 ในเดือนกรกฎาคม 2543 ด้วย
3. สำหรับการประชุมหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส ARF (ARF SOM Retreat) นั้น ที่ประชุมฯแสดงความยินดีที่บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ (frank and constructive) โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี พัฒนาการในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ บทบาทของผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติกับปัญหาพม่า สถานการณ์ในติมอร์ตะวันออก โดยเฉพาะในประเด็นติมอร์ตะวันออกนั้น ที่ประชุมฯ มีความชื่นชมต่อบทบาทความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียกับ UNTAET ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรองดองและบูรณาการในติมอร์ตะวันออก
4. สำหรับการประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับกิจกรรมระหว่างปีของ ARF (ARF Intersessional Activities) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เน้นการพัฒนามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (CBMs) รวมถึงการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักการและแนวคิดของการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ในอนาคตด้วย
5. นอกจากนี้ ในการประชุมเต็มคณะดังกล่าว บทบาทของประเทศไทยในฐานะประธานของ ARF ได้รับความชื่นชมอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ดำเนินความพยายามเชื่อมโยงบทบาท ARF กับองค์กรด้านความมั่นคงในภูมิภาคต่างๆ อาทิ OSCE (Organisation for Security Cooperation in Europe) และ OAS (Organisation of American States) เป็นต้น 6. สำหรับประเด็นการขอเป็นสมาชิก ARF ของเกาหลีเหนือ นั้น ที่ประชุมฯ มีฉันทามติว่า การเข้าร่วมกระบวนการ ARF ของเกาหลีเหนือจะเกื้อกูลและพัฒนา ARF ในฐานะเป็นเวทีการหารือด้านความมั่นคงของภูมิภาค รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมให้ภูมิภาคเกิดสันติภาพและความมั่นคง ต่อไป อนึ่ง ปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้กล่าวว่า ประเทศไทยในฐานะประธาน ARF มีความพึงพอใจต่อการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ และย้ำด้วยว่าผลการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ถือว่ายังไม่เป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสแต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะเสนอรายงานการประชุมครั้งนี้ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศตนได้พิจารณาเห็นชอบต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
วันนี้ (19 พฤษภาคม 2543) นายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2543 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ สรุปดังนี้
1. การจัดการประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ได้แบ่งการประชุมหารือเป็น 3 วาระคือ การรับประทานอาหารค่ำพร้อมกับหารือข้อราชการ (Working Dinner) เกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์ การประชุมระหว่างหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส (Retreat) ของการประชุม ARF เกี่ยวกับประเด็นปัญหาระหว่างประเทศและในภูมิภาค และการประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการประชุมระหว่างปี (Inter-sessional activities) ตลอดจนประเด็นการสมัครเป็นสมาชิก ARF ของเกาหลีเหนือ
2. สำหรับการหารือเกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงอันเกิดจากโลกาภิวัฒน์ นั้น ที่ประชุมได้เห็นพ้องว่าผลกระทบอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัฒน์ต่อภูมิภาคนั้น มีทั้งด้านบวกและลบ ดังนั้น ประเทศสมาชิกจึงเห็นว่า ความร่วมมือในภูมิภาคในเวทีต่างๆ รวมถึงเวที ARF นี้ เพื่อรองรับและรับมือกับผลกระทบด้านลบต่างๆ จึงมีความจำเป็นยิ่ง
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะได้ปรึกษาหารือเรื่องนี้เพิ่มเติมในการประชุม ARF ระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ 7 ในเดือนกรกฎาคม 2543 ด้วย
3. สำหรับการประชุมหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโส ARF (ARF SOM Retreat) นั้น ที่ประชุมฯแสดงความยินดีที่บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ (frank and constructive) โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี พัฒนาการในการแก้ไขปัญหาทะเลจีนใต้ การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ บทบาทของผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติกับปัญหาพม่า สถานการณ์ในติมอร์ตะวันออก โดยเฉพาะในประเด็นติมอร์ตะวันออกนั้น ที่ประชุมฯ มีความชื่นชมต่อบทบาทความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียกับ UNTAET ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปรองดองและบูรณาการในติมอร์ตะวันออก
4. สำหรับการประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) ที่ประชุมฯ ได้หารือเกี่ยวกับกิจกรรมระหว่างปีของ ARF (ARF Intersessional Activities) ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เน้นการพัฒนามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (CBMs) รวมถึงการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักการและแนวคิดของการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ในอนาคตด้วย
5. นอกจากนี้ ในการประชุมเต็มคณะดังกล่าว บทบาทของประเทศไทยในฐานะประธานของ ARF ได้รับความชื่นชมอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ได้ดำเนินความพยายามเชื่อมโยงบทบาท ARF กับองค์กรด้านความมั่นคงในภูมิภาคต่างๆ อาทิ OSCE (Organisation for Security Cooperation in Europe) และ OAS (Organisation of American States) เป็นต้น 6. สำหรับประเด็นการขอเป็นสมาชิก ARF ของเกาหลีเหนือ นั้น ที่ประชุมฯ มีฉันทามติว่า การเข้าร่วมกระบวนการ ARF ของเกาหลีเหนือจะเกื้อกูลและพัฒนา ARF ในฐานะเป็นเวทีการหารือด้านความมั่นคงของภูมิภาค รวมทั้งจะช่วยส่งเสริมให้ภูมิภาคเกิดสันติภาพและความมั่นคง ต่อไป อนึ่ง ปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้กล่าวว่า ประเทศไทยในฐานะประธาน ARF มีความพึงพอใจต่อการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ และย้ำด้วยว่าผลการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งนี้ถือว่ายังไม่เป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสแต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะเสนอรายงานการประชุมครั้งนี้ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศตนได้พิจารณาเห็นชอบต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--