กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ปาฐกถาพิเศษ ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ (1)
ท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปค ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเปิดการสัมมนา และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” ซึ่งศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันจัดขึ้น และนับว่าเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมมาก เพราะสัปดาห์หน้าก็จะมีการประชุมเอเปคประจำปีขึ้นที่ประเทศจีน ประเทศไทยเองจะต้องมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเราจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคนี้ในปี พ.ศ. 2546
เมื่อเช้าวันนี้ ผมและท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีโอกาสหารือกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของไทยต่อการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 9 ซึ่งจีนจะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 20-21 ตุลาคม การสัมมนาครั้งนี้จึงนับว่าเป็นโอกาสดีมากที่เราจะได้มีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการเอเปค และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคณะผู้แทนไทยในการไปเข้าร่วมประชุม และยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคใน2 ปีข้างหน้าต่อไปด้วย
โดยที่ทุกท่านในที่นี้มีความรู้ความเข้าใจกับเอเปคมาบ้างแล้ว และยังมี ผู้บรรยายอีกหลายท่านที่อาจจะกล่าวลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรหรือกิจกรรมของเอเปคโดยตรง ผมจึงขอเน้นประเด็นว่า รัฐบาลไทยมองบทบาทและผลประโยชน์ของประเทศในกลุ่มความร่วมมือนี้เช่นใด และมียุทธศาสตร์เชิงรุกต่อกลุ่มความร่วมมือนี้อย่างไร เพื่อให้เอเปคสามารถตอบสนองและอำนวยประโยชน์ต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ภูมิภาค และของประชาคมโลกได้อย่างแท้จริง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เราเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากกว่าที่เคยพบเห็นกันมาในอดีต ภาวะเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ผันผวนและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความผันผวนในเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นมากมาย ทำให้สภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา และราคาน้ำมันผันผวน นอกจากนั้น ปัญหาการก่อการร้าย สากลซึ่งรุนแรงขึ้นในขณะนี้ ยิ่งจะเป็นอุปสรรคซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจโลกให้มีความ ผันผวนและกดดันให้เกิดการชะลอตัวที่ยาวนานขึ้น และอาจยืดเยื้อยาวนานจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ตามมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไว้
สภาวะแวดล้อมของโลกในขณะนี้ เป็นโลกแห่งการรวมกลุ่มหรือภูมิภาคนิยม (regionalism) เป็นโลกแห่งการแสวงหาความร่วมมือ และการเจรจาหลายฝ่ายทั้งในแบบพหุภาคีและทวิภาคี ในขณะเดียวกันก็มีการกีดกันทางการค้ามากขึ้นต่อประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุปสรรคทางการค้ามาเป็น มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) มากยิ่งขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว ประเทศไทย จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไปในอนาคต
หนึ่งในกลุ่มความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ก็คือกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (APEC) ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและมีพลวัตการเจริญเติบโตสูงที่สุดในโลก ครอบคลุมประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคถึง 19 ประเทศ รวมทั้งฮ่องกงและไต้หวัน มีประชากรรวมเกือบ 2,5000 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของกลุ่มสมาชิกเอเปคมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติโลก สำหรับประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงกว่า 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 72 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เฉพาะด้านการส่งออก ไทย ส่งออกไปยังกลุ่มเอเปคมากกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
บทบาทของไทยในเอเปคเริ่มต้นตั้งแต่การมีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรเมื่อปี พ.ศ. 2532 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการต่างประเทศไทยที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นคือ การมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับทุกประเทศและทุกกลุ่มความร่วมมือ ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และ พหุภาคี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและอำนาจต่อรองในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยหลังจากที่ไทยได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 และร่วมกันพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอาเซียนจนได้รับการ ยอมรับว่าเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลกแล้ว ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศและเขตเศรษฐกิจรอบมหาสมุทรแปซิฟิค จนนำไปสู่การสถาปนาเอเปคในปี พ.ศ. 2532 โดยไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในขณะนั้นอีก 5 ชาติ ร่วมกับออสเตรเลีย สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ก่อตั้งเอเปคขึ้น บทบาทของไทย โดดเด่นในเอเปคมาตั้งแต่เริ่มแรก โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลให้มีการตกลงจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปคขึ้น ซึ่งทำให้ความร่วมมือมีความมั่นคงและยั่งยืน
ในไม่กี่ปีต่อมา ไทยได้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งการประชุมเอเชีย- ยุโรปหรืออาเซ็ม (Asia-Europe Meeting — ASEM) เพื่อเป็นประตูเปิดไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป และไทยเป็นประเทศเจ้าภาพการประชุมอาเซ็มครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 เอเปคและอาเซ็มจึงเป็นสองกรอบหลักของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก 3 กลุ่ม คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ ไทยได้พยายามธำรงบทบาทและความเป็นแกนหลักของอาเซียนในทั้งสองกรอบ และใช้ทั้งสองกรอบความร่วมมือมาเสริมกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค ที่ไทยเป็นสมาชิกสำคัญอยู่ด้วย
นอกจากการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่มมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกแล้ว ไทยยังได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ เช่น การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ซึ่งไทยเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2543 และจะจัด การประชุม Mid-Term Review ในเดือนเมษายนปีหน้า, สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IOR-ARC), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า- ศรีลังกา-ไทย (BIMST-EC) และความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (MGC) รวมทั้งกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น สามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) การที่ไทยมีบทบาทแข็งขันเชิงรุกในการแสวงหาและเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และอนุภูมิภาค เป็นเพราะไทยต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกซึ่งจะกระทำผ่านเวทีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ หากไทยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด ทิศทางความร่วมมือดังกล่าว ไทยก็จะได้แต่เพียงตั้งรับทิศทางและกระแสความร่วมมือที่ ผู้อื่นกำหนดขึ้น เพราะไม่มีทางที่ไทยจะหลีกหนีจากผลกระทบของความร่วมมือทางเศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ได้ การเป็นสมาชิกเอเปคและกรอบความร่วมมือ อื่น ๆ จึงไม่ใช่ทางเลือกของนโยบายต่างประเทศไทยที่กำหนดขึ้นมาลอย ๆ แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected](ยังมีต่อ)
-อน-
ปาฐกถาพิเศษ ของ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” จัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ วันพุธที่ 10 ตุลาคม 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ (1)
ท่านผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปค ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเปิดการสัมมนา และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ยุทธศาสตร์เชิงรุกของไทยในเอเปค” ซึ่งศูนย์ศึกษาเอเปค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงการต่างประเทศร่วมกันจัดขึ้น และนับว่าเป็นจังหวะเวลาที่เหมาะสมมาก เพราะสัปดาห์หน้าก็จะมีการประชุมเอเปคประจำปีขึ้นที่ประเทศจีน ประเทศไทยเองจะต้องมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะเราจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคนี้ในปี พ.ศ. 2546
เมื่อเช้าวันนี้ ผมและท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีโอกาสหารือกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของไทยต่อการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 9 ซึ่งจีนจะจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 20-21 ตุลาคม การสัมมนาครั้งนี้จึงนับว่าเป็นโอกาสดีมากที่เราจะได้มีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการเอเปค และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคณะผู้แทนไทยในการไปเข้าร่วมประชุม และยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคใน2 ปีข้างหน้าต่อไปด้วย
โดยที่ทุกท่านในที่นี้มีความรู้ความเข้าใจกับเอเปคมาบ้างแล้ว และยังมี ผู้บรรยายอีกหลายท่านที่อาจจะกล่าวลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรหรือกิจกรรมของเอเปคโดยตรง ผมจึงขอเน้นประเด็นว่า รัฐบาลไทยมองบทบาทและผลประโยชน์ของประเทศในกลุ่มความร่วมมือนี้เช่นใด และมียุทธศาสตร์เชิงรุกต่อกลุ่มความร่วมมือนี้อย่างไร เพื่อให้เอเปคสามารถตอบสนองและอำนวยประโยชน์ต่อนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ภูมิภาค และของประชาคมโลกได้อย่างแท้จริง
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
เราเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 ด้วยสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากกว่าที่เคยพบเห็นกันมาในอดีต ภาวะเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ผันผวนและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความผันผวนในเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นมากมาย ทำให้สภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา และราคาน้ำมันผันผวน นอกจากนั้น ปัญหาการก่อการร้าย สากลซึ่งรุนแรงขึ้นในขณะนี้ ยิ่งจะเป็นอุปสรรคซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจโลกให้มีความ ผันผวนและกดดันให้เกิดการชะลอตัวที่ยาวนานขึ้น และอาจยืดเยื้อยาวนานจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ตามมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ไว้
สภาวะแวดล้อมของโลกในขณะนี้ เป็นโลกแห่งการรวมกลุ่มหรือภูมิภาคนิยม (regionalism) เป็นโลกแห่งการแสวงหาความร่วมมือ และการเจรจาหลายฝ่ายทั้งในแบบพหุภาคีและทวิภาคี ในขณะเดียวกันก็มีการกีดกันทางการค้ามากขึ้นต่อประเทศนอกกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุปสรรคทางการค้ามาเป็น มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) มากยิ่งขึ้น ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าว ประเทศไทย จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ เพื่อ เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันต่อไปในอนาคต
หนึ่งในกลุ่มความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ก็คือกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิค (APEC) ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีพลังและมีพลวัตการเจริญเติบโตสูงที่สุดในโลก ครอบคลุมประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคถึง 19 ประเทศ รวมทั้งฮ่องกงและไต้หวัน มีประชากรรวมเกือบ 2,5000 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของกลุ่มสมาชิกเอเปคมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติโลก สำหรับประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงกว่า 95,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณร้อยละ 72 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย เฉพาะด้านการส่งออก ไทย ส่งออกไปยังกลุ่มเอเปคมากกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย
บทบาทของไทยในเอเปคเริ่มต้นตั้งแต่การมีส่วนร่วมก่อตั้งองค์กรเมื่อปี พ.ศ. 2532 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงยุทธศาสตร์เชิงรุกด้านการต่างประเทศไทยที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นคือ การมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับทุกประเทศและทุกกลุ่มความร่วมมือ ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และ พหุภาคี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและอำนาจต่อรองในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยหลังจากที่ไทยได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 และร่วมกันพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอาเซียนจนได้รับการ ยอมรับว่าเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลกแล้ว ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศและเขตเศรษฐกิจรอบมหาสมุทรแปซิฟิค จนนำไปสู่การสถาปนาเอเปคในปี พ.ศ. 2532 โดยไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในขณะนั้นอีก 5 ชาติ ร่วมกับออสเตรเลีย สหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ก่อตั้งเอเปคขึ้น บทบาทของไทย โดดเด่นในเอเปคมาตั้งแต่เริ่มแรก โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลให้มีการตกลงจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปคขึ้น ซึ่งทำให้ความร่วมมือมีความมั่นคงและยั่งยืน
ในไม่กี่ปีต่อมา ไทยได้มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งการประชุมเอเชีย- ยุโรปหรืออาเซ็ม (Asia-Europe Meeting — ASEM) เพื่อเป็นประตูเปิดไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป และไทยเป็นประเทศเจ้าภาพการประชุมอาเซ็มครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 เอเปคและอาเซ็มจึงเป็นสองกรอบหลักของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก 3 กลุ่ม คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ ไทยได้พยายามธำรงบทบาทและความเป็นแกนหลักของอาเซียนในทั้งสองกรอบ และใช้ทั้งสองกรอบความร่วมมือมาเสริมกับความร่วมมือในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค ที่ไทยเป็นสมาชิกสำคัญอยู่ด้วย
นอกจากการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่มมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกแล้ว ไทยยังได้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ เช่น การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ซึ่งไทยเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2543 และจะจัด การประชุม Mid-Term Review ในเดือนเมษายนปีหน้า, สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (IOR-ARC), ความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า- ศรีลังกา-ไทย (BIMST-EC) และความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา (MGC) รวมทั้งกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ เช่น สามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (GMS) การที่ไทยมีบทบาทแข็งขันเชิงรุกในการแสวงหาและเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และอนุภูมิภาค เป็นเพราะไทยต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลกซึ่งจะกระทำผ่านเวทีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจต่างๆ หากไทยไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด ทิศทางความร่วมมือดังกล่าว ไทยก็จะได้แต่เพียงตั้งรับทิศทางและกระแสความร่วมมือที่ ผู้อื่นกำหนดขึ้น เพราะไม่มีทางที่ไทยจะหลีกหนีจากผลกระทบของความร่วมมือทางเศรษฐกิจโลกในยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้ได้ การเป็นสมาชิกเอเปคและกรอบความร่วมมือ อื่น ๆ จึงไม่ใช่ทางเลือกของนโยบายต่างประเทศไทยที่กำหนดขึ้นมาลอย ๆ แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทยในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected](ยังมีต่อ)
-อน-