สถานการณ์ทั่วไป
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2547 (ม.ค.—พ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 5,803.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 16.8 ตลาดหลักสำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ตามลำดับ
โครงสร้างการผลิต
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1) อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใย และอุตสาหกรรมปั่นด้าย
2) อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และแต่งสำเร็จ
3) อุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำเร็จรูปอื่นๆ
จำนวนโรงงาน
ปี 2546 อุตสาหกรรมสิ่งทอมีจำนวนโรงงานรวม 4,592 โรงงาน อุตสาหกรรมปั่นด้าย มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนโรงงานมากที่สุด เมื่อเทียบกับปี 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ส่วนอุตสาหกรรมเส้นใย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนโรงงาน
จำนวนแรงงาน
การจ้างงานปี 2546 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีการจ้างงานสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 77.6 รองลงมาคืออุตสาหกรรมทอผ้าและถักผ้า (ร้อยละ 10.9), ปั่นด้าย (ร้อยละ 5.7), ฟอกย้อม พิมพ์และแต่งสำเร็จ (ร้อยละ 4.4) และอุตสาหกรรมเส้นใย (ร้อยละ 1.4) ตามลำดับ ในอดีตอุตสาหกรรมทอผ้าและ ถักผ้ามีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยจะใช้เงินทุนและเทคโนโลยีสูง จึงมีอัตราการจ้างงานน้อยที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของการจ้างงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมด แรงงานถือเป็นปัจจัยแปรผันที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง(Labor Intensive) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
สถานการณ์ส่งออก
ปี 2546 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออก 5,803.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออก 4,968.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 2,797.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 2,514.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี สัดส่วนร้อยละ 52.9 , 6.5, 5.8, 5.1 และ 3.4 ตามลำดับ
ผ้าผืนและด้าย ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 1,560.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,279.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯตลาดส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.1 , 7.2 , 6.1 , 4.9 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ้าผืน ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 933.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 793.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.0 , 7.6, 7.5, 6.4 และ 4.7 ตามลำดับ
2. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 626.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 486.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ตุรกี และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 8.8, 7.6 , 6.8 , 6.6 และ 6.4 ตามลำดับ
2.1 ด้ายฝ้าย ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 122.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 109.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 19.6 , 16.2 , 10.0 , 9.1 และ 6.9 ตามลำดับ
2.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 504.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 377.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ ตุรกี เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.2 , 7.7 , 6.7 , 6.1 และ 5.5 ตามลำดับ เส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 382.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 265.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย สัดส่วนร้อยละ 16.5, 14.9, 7.1, 6.8 และ 6.6 ตามลำดับ
เคหะสิ่งทอ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 206.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 168.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ สหราชอาณาจักร และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 46.7, 21.8 , 2.7 , 2.7 และ 2.6 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกาในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่า 1,885.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากมูลค่า 1,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สหภาพยุโรป ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 1,072.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
ญี่ปุ่น ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 393.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สถานการณ์นำเข้าสิ่งทอ
ในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) การนำเข้าสิ่งทอพบว่า มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยมีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอทั้งหมด 2,044.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากมูลค่า 1,806.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 652.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 591.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ สหรัฐอเมริกา ซิมบับเว และบราซิล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.3, 23.5, 5.6 และ 4.6 ตามลำดับ ด้ายทอผ้า ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 411.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 342.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1, 16.8, 12.8, 8.8 และ 6.3 ตามลำดับ
ผ้าผืน ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 980.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 872.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 31.6, 20.9, 10.4, 8.9 และ 7.7 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 161.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 125.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น อิตาลี และฝรั่งเศส สัดส่วนร้อยละ 54.5, 15.0, 5.0, 3.9 และ 3.0 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ ในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่านำเข้า 400.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 394.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือญี่ปุ่น เยอรมัน และไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 26.6, 18.9 และ 13.5 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้มปี 2548
ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าสำเร็จรูป (+11.2%) ผ้าผืน (+17.7%) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (+28.8%) เคหะสิ่งทอ(+22.8%) และสิ่งทออื่นๆ (+22.3%) ซึ่งมีเพียงผ้าปักและผ้าลูกไม้เท่านั้นที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เนื่องจากราคา ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศ ส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 54.5 รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และอิตาลี เป็นต้น
ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2548 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากปี 2547 เนื่องจากในปี 2548 องค์การการค้าโลกจะยกเลิกโควตาสิ่งทอ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สินค้าไทยจะเข้าไปแข่งขัน โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป (กลุ่มอียู) เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ เพราะติดปัญหาข้อกำหนดของ WTO เนื่องจากจีนเพิ่งจะเข้าเป็นสมาชิกเมื่อเร็วๆนี้ และโควต้าจะถูกยกเลิกอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดเอเซียนเองยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคผ่านโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย มีกระบวนการผลิตที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตเส้นใย ปั่นด้าย ทอผ้า ถักผ้า ฟอกย้อมฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก่อให้เกิดการจ้างงานสูงถึง1.08 ล้านคน อีกทั้งยังสามารถนำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปี 2547 (ม.ค.—พ.ย.) การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีมูลค่า 5,803.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 16.8 ตลาดหลักสำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ตามลำดับ
โครงสร้างการผลิต
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1) อุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมเส้นใย และอุตสาหกรรมปั่นด้าย
2) อุตสาหกรรมกลางน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมถักผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และแต่งสำเร็จ
3) อุตสาหกรรมปลายน้ำ ได้แก่ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำเร็จรูปอื่นๆ
จำนวนโรงงาน
ปี 2546 อุตสาหกรรมสิ่งทอมีจำนวนโรงงานรวม 4,592 โรงงาน อุตสาหกรรมปั่นด้าย มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนโรงงานมากที่สุด เมื่อเทียบกับปี 2545 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ส่วนอุตสาหกรรมเส้นใย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนโรงงาน
จำนวนแรงงาน
การจ้างงานปี 2546 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมีการจ้างงานสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 77.6 รองลงมาคืออุตสาหกรรมทอผ้าและถักผ้า (ร้อยละ 10.9), ปั่นด้าย (ร้อยละ 5.7), ฟอกย้อม พิมพ์และแต่งสำเร็จ (ร้อยละ 4.4) และอุตสาหกรรมเส้นใย (ร้อยละ 1.4) ตามลำดับ ในอดีตอุตสาหกรรมทอผ้าและ ถักผ้ามีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยจะใช้เงินทุนและเทคโนโลยีสูง จึงมีอัตราการจ้างงานน้อยที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของการจ้างงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งหมด แรงงานถือเป็นปัจจัยแปรผันที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง(Labor Intensive) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
สถานการณ์ส่งออก
ปี 2546 (ม.ค.-พ.ย.) การส่งออกสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออก 5,803.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 มีมูลค่าการส่งออก 4,968.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 2,797.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 2,514.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี สัดส่วนร้อยละ 52.9 , 6.5, 5.8, 5.1 และ 3.4 ตามลำดับ
ผ้าผืนและด้าย ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 1,560.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,279.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯตลาดส่งออกหลักคือ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.1 , 7.2 , 6.1 , 4.9 และ 4.7 ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่
1. ผ้าผืน ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 933.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 793.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.0 , 7.6, 7.5, 6.4 และ 4.7 ตามลำดับ
2. ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 626.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 486.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ตุรกี และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 8.8, 7.6 , 6.8 , 6.6 และ 6.4 ตามลำดับ
2.1 ด้ายฝ้าย ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 122.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 109.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา สัดส่วนร้อยละ 19.6 , 16.2 , 10.0 , 9.1 และ 6.9 ตามลำดับ
2.2 ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 504.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 377.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ ตุรกี เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา จีน และบังคลาเทศ สัดส่วนร้อยละ 8.2 , 7.7 , 6.7 , 6.1 และ 5.5 ตามลำดับ เส้นใยประดิษฐ์ ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 382.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 265.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ จีน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย สัดส่วนร้อยละ 16.5, 14.9, 7.1, 6.8 และ 6.6 ตามลำดับ
เคหะสิ่งทอ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 206.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 168.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลักคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ สหราชอาณาจักร และฮ่องกง สัดส่วนร้อยละ 46.7, 21.8 , 2.7 , 2.7 และ 2.6 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกาในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่า 1,885.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากมูลค่า 1,709.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สหภาพยุโรป ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 1,072.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
ญี่ปุ่น ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการส่งออก 393.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สถานการณ์นำเข้าสิ่งทอ
ในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) การนำเข้าสิ่งทอพบว่า มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยมีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอทั้งหมด 2,044.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากมูลค่า 1,806.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
เส้นใยที่ใช้ในการทอ ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 652.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 591.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ สหรัฐอเมริกา ซิมบับเว และบราซิล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.3, 23.5, 5.6 และ 4.6 ตามลำดับ ด้ายทอผ้า ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 411.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 342.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.1, 16.8, 12.8, 8.8 และ 6.3 ตามลำดับ
ผ้าผืน ปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 980.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 872.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 31.6, 20.9, 10.4, 8.9 และ 7.7 ตามลำดับ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าการนำเข้า 161.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 125.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น อิตาลี และฝรั่งเศส สัดส่วนร้อยละ 54.5, 15.0, 5.0, 3.9 และ 3.0 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ ในปี 2547 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่านำเข้า 400.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 394.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าหลักคือญี่ปุ่น เยอรมัน และไต้หวัน สัดส่วนร้อยละ 26.6, 18.9 และ 13.5 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้มปี 2548
ปี 2547(ม.ค.-พ.ย.) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าสำเร็จรูป (+11.2%) ผ้าผืน (+17.7%) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (+28.8%) เคหะสิ่งทอ(+22.8%) และสิ่งทออื่นๆ (+22.3%) ซึ่งมีเพียงผ้าปักและผ้าลูกไม้เท่านั้นที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าเพิ่มขึ้นของเสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เนื่องจากราคา ต้นทุนการผลิตจะต่ำกว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศ ส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 54.5 รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และอิตาลี เป็นต้น
ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2548 คาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจากปี 2547 เนื่องจากในปี 2548 องค์การการค้าโลกจะยกเลิกโควตาสิ่งทอ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สินค้าไทยจะเข้าไปแข่งขัน โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป (กลุ่มอียู) เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้ เพราะติดปัญหาข้อกำหนดของ WTO เนื่องจากจีนเพิ่งจะเข้าเป็นสมาชิกเมื่อเร็วๆนี้ และโควต้าจะถูกยกเลิกอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ไทยเป็นผู้นำตลาดเสื้อผ้าในเอเชียและในตลาดเอเซียนเองยังมีการรวมกลุ่มทางการค้า การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ หรือมาตรการภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาคผ่านโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-