กรุงเทพ--23 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สิงคโปร์ : การส่งเสริมโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น
แม้ว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นจะเน้นการสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครด้านแฟชั่นของเอเชีย แต่การบุกเบิกตลาดด้านแฟชั่นของไทยในให้ก้าวสู่ระดับอินเตอร์จำเป็นต้องอาศัยการผลักดันจากทั้งภาครัฐแล
เอกชนอย่างจริงจัง ดังนั้น ในโอกาสที่บริษัทอีลีท โมเด็ล แมเนจเมนท์ กรุงเทพฯ (Elite Model Management, Bangkok) ได้ร่วมกับกลุ่มธุรกิจด้านแฟชั่นของสิงคโปร์จัดงานแสดงแฟชั่นของเอเชียโดยใช้ชื่อว่า The Asian Collection by Vyns Couture ที่โรงแรมฮิลตัน สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2548 สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ จึงเข้าร่วมและสนับสนุนการจัดงานดังกล่าว รวมทั้งช่วยในการประชาสัมพันธ์ผลงานด้านแฟชั่นของไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
สถานทูตฯ ได้ให้ข้อมูลเพื่อแนะนำบริษัทอีลีทฯ ว่าเป็นบริษัทด้านแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-
แปซิฟิก บริหารงานโดยนายเอ็ดเวิร์ด กิติ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก การไปจัดแสดงแฟชั่นของบริษัทฯ ในสิงคโปร์ครั้งนี้ จึงถือเป็นการเปิดตัวบริษัทอีลีทฯ อย่างเป็นทางการในสิงคโปร์ด้วย โดยได้มีการเปิดสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ที่สิงคโปร์ เพื่อดูแลธุรกิจด้านแฟชั่นในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกโดยรวม
บริษัทอีลีทฯ ได้ร่วมมือกับนายโมฮัมเมด ยูซุฟ อิสเมล นักออกแบบชาวสิงคโปร์ในการนำคอลเลคชั่นเสื้อผ้าจากนักออกแบบ 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ไปร่วมแสดงในงาน นักออกแบบชั้นนำของไทยที่ได้ส่งเสื้อผ้าเข้าร่วมแสดง ได้แก่ ไข่, พูสิตา และคลาสสิค โมเด็ล บูติก จึงถือว่าเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ให้ก้าวสู่ระดับอินเตอร์ โดยเสื้อผ้าที่นำไปแสดงเน้นการใช้วัตถุดิบของไทยในการตัดเย็บ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยอย่างโดดเด่น
ผู้บริหารของบริษัทอีลีทฯ ได้ย้ำต่อสถานทูตฯ ว่าบริษัทฯ มีนโยบายที่จะส่งเสริมโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นอย่างเต็มที่ โดยการนำเสนอเอกลักษณ์ของแฟชั่นไทย การออกแบบ และการใช้วัสดุและสิ่งทอของไทย และพร้อมที่จะผลักดันให้นักออกแบบรุ่นใหม่ของไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านแฟชั่นของภูมิภาคเอเชียและของโลก ดังนั้น จึงถือเป็นภารกิจสำคัญของสถานทูตและสถานกงสุลไทยที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยผลักดันให้โครงการนี้ให้สำเร็จผลเป็นรูปธรรม โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล และชี้โอกาสทางธุรกิจด้านแฟชั่นของไทยให้แก่นักธุรกิจของต่างประเทศอย่างแพร่หลายในระดับสากล
บรูไน : ชวนนักธุรกิจไทยหนีหวัดนกไปทำฟาร์มเลี้ยงไก่ในบรูไน
เดิมบรูไนผลิตไข่ไก่ได้ประมาณปีละ 108 ล้านฟอง เฉลี่ยแล้วตกประมาณเดือนละ 8-9 ล้านฟอง ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในตลาดบรูไน นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ เป็นต้นมา สินค้าไข่ใน
บรูไนเกิดขาดตลาด ร้านค้าสามารถจำหน่ายไข่ไก่ให้แก่ผู้บริโภคเพียง 10 % เท่านั้น จึงมีเสียงเรียกร้องให้ทางการบรูไนเพิ่มปริมาณนำเข้าไขไก่จากต่างประเทศ เพราะการที่ไข่ขาดตลาด ทำให้ราคาไข่สูงขึ้น ขณะนี้ ไข่ไก่ขนาดเล็ก 10 ใบ ตกประมาณ 115 บาท พ่อค้าชาวบรูไนจึงขอให้รัฐบาลแถลงเรื่องไข่ขาดตลาดให้ประชาชนเข้าใจ เนื่องจากมีลูกค้าบางรายกล่าวหาว่าพ่อค้ากักตุนไข่ไว้เพื่อโก่งราคา
เมื่อปี 2518 เศรษฐกิจของบรูไนได้รุ่งเรืองขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำให้ประชาชนบรูไนละทิ้งไร่นาเข้าไปทำงานในเมือง และได้จ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในระดับล่าง รวมทั้งนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิดจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งนอกจากผักและผลไม้แล้ว รัฐบาลบรูไนได้ซื้อข้าวหอมมะลิและน้ำตาลในระดับรัฐต่อรัฐไปจำหน่ายให้ประชาชนบรูไนในราคาถูก
ปัจจุบันรัฐบาลบรูไนกำลังแสวงหาลู่ทางใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งรายได้จากน้ำมันเพียงแหล่งเดียวและได้ชักชวนให้ต่างชาติเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ อาทิ นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้ำลึก การท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม ศกนี้ บรูไนได้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติอย่างใหญ่โตและคึกคักกว่าทุกปี โดยมีบริษัทบรูไนและต่างชาติเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง รวมทั้งบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทรอยัล ชาโนมัน ของไทยเข้าร่วมออกบูธในงานด้วย
สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน จึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะเข้าไปร่วมลงทุนทำการเกษตรในบรูไน โดยอาจเริ่มต้นด้วยการทำฟาร์มการเกษตรขนาดกลาง เพื่อเป็นโอกาสในการส่งออกแรงงานไทยซึ่งมีความถนัดในงานด้านเกษตรกรรมไปทำงานในบรูไน นอกจากนี้ เมื่อคำนึงปัญหาไข้หวัดนกที่กำลังระบาดอยู่ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกชนไทยอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่บนเกาะซึ่งปลอดโรคอย่างเช่นในบรูไน โดยการตั้งฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อส่งสินค้าเนื้อไก่ และไข่ไก่ ป้อนตลาดบรูไนและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศด้วย
ไท ดูโต
[email protected]
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
สิงคโปร์ : การส่งเสริมโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น
แม้ว่าโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นจะเน้นการสร้างกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครด้านแฟชั่นของเอเชีย แต่การบุกเบิกตลาดด้านแฟชั่นของไทยในให้ก้าวสู่ระดับอินเตอร์จำเป็นต้องอาศัยการผลักดันจากทั้งภาครัฐแล
เอกชนอย่างจริงจัง ดังนั้น ในโอกาสที่บริษัทอีลีท โมเด็ล แมเนจเมนท์ กรุงเทพฯ (Elite Model Management, Bangkok) ได้ร่วมกับกลุ่มธุรกิจด้านแฟชั่นของสิงคโปร์จัดงานแสดงแฟชั่นของเอเชียโดยใช้ชื่อว่า The Asian Collection by Vyns Couture ที่โรงแรมฮิลตัน สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2548 สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ จึงเข้าร่วมและสนับสนุนการจัดงานดังกล่าว รวมทั้งช่วยในการประชาสัมพันธ์ผลงานด้านแฟชั่นของไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
สถานทูตฯ ได้ให้ข้อมูลเพื่อแนะนำบริษัทอีลีทฯ ว่าเป็นบริษัทด้านแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-
แปซิฟิก บริหารงานโดยนายเอ็ดเวิร์ด กิติ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทของไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก การไปจัดแสดงแฟชั่นของบริษัทฯ ในสิงคโปร์ครั้งนี้ จึงถือเป็นการเปิดตัวบริษัทอีลีทฯ อย่างเป็นทางการในสิงคโปร์ด้วย โดยได้มีการเปิดสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ที่สิงคโปร์ เพื่อดูแลธุรกิจด้านแฟชั่นในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกโดยรวม
บริษัทอีลีทฯ ได้ร่วมมือกับนายโมฮัมเมด ยูซุฟ อิสเมล นักออกแบบชาวสิงคโปร์ในการนำคอลเลคชั่นเสื้อผ้าจากนักออกแบบ 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ไปร่วมแสดงในงาน นักออกแบบชั้นนำของไทยที่ได้ส่งเสื้อผ้าเข้าร่วมแสดง ได้แก่ ไข่, พูสิตา และคลาสสิค โมเด็ล บูติก จึงถือว่าเป็นการส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ให้ก้าวสู่ระดับอินเตอร์ โดยเสื้อผ้าที่นำไปแสดงเน้นการใช้วัตถุดิบของไทยในการตัดเย็บ สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทยอย่างโดดเด่น
ผู้บริหารของบริษัทอีลีทฯ ได้ย้ำต่อสถานทูตฯ ว่าบริษัทฯ มีนโยบายที่จะส่งเสริมโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นอย่างเต็มที่ โดยการนำเสนอเอกลักษณ์ของแฟชั่นไทย การออกแบบ และการใช้วัสดุและสิ่งทอของไทย และพร้อมที่จะผลักดันให้นักออกแบบรุ่นใหม่ของไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านแฟชั่นของภูมิภาคเอเชียและของโลก ดังนั้น จึงถือเป็นภารกิจสำคัญของสถานทูตและสถานกงสุลไทยที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยผลักดันให้โครงการนี้ให้สำเร็จผลเป็นรูปธรรม โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล และชี้โอกาสทางธุรกิจด้านแฟชั่นของไทยให้แก่นักธุรกิจของต่างประเทศอย่างแพร่หลายในระดับสากล
บรูไน : ชวนนักธุรกิจไทยหนีหวัดนกไปทำฟาร์มเลี้ยงไก่ในบรูไน
เดิมบรูไนผลิตไข่ไก่ได้ประมาณปีละ 108 ล้านฟอง เฉลี่ยแล้วตกประมาณเดือนละ 8-9 ล้านฟอง ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในตลาดบรูไน นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ เป็นต้นมา สินค้าไข่ใน
บรูไนเกิดขาดตลาด ร้านค้าสามารถจำหน่ายไข่ไก่ให้แก่ผู้บริโภคเพียง 10 % เท่านั้น จึงมีเสียงเรียกร้องให้ทางการบรูไนเพิ่มปริมาณนำเข้าไขไก่จากต่างประเทศ เพราะการที่ไข่ขาดตลาด ทำให้ราคาไข่สูงขึ้น ขณะนี้ ไข่ไก่ขนาดเล็ก 10 ใบ ตกประมาณ 115 บาท พ่อค้าชาวบรูไนจึงขอให้รัฐบาลแถลงเรื่องไข่ขาดตลาดให้ประชาชนเข้าใจ เนื่องจากมีลูกค้าบางรายกล่าวหาว่าพ่อค้ากักตุนไข่ไว้เพื่อโก่งราคา
เมื่อปี 2518 เศรษฐกิจของบรูไนได้รุ่งเรืองขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำมัน ทำให้ประชาชนบรูไนละทิ้งไร่นาเข้าไปทำงานในเมือง และได้จ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในระดับล่าง รวมทั้งนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิดจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งนอกจากผักและผลไม้แล้ว รัฐบาลบรูไนได้ซื้อข้าวหอมมะลิและน้ำตาลในระดับรัฐต่อรัฐไปจำหน่ายให้ประชาชนบรูไนในราคาถูก
ปัจจุบันรัฐบาลบรูไนกำลังแสวงหาลู่ทางใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะไม่ต้องพึ่งรายได้จากน้ำมันเพียงแหล่งเดียวและได้ชักชวนให้ต่างชาติเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างๆ อาทิ นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือน้ำลึก การท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคม ศกนี้ บรูไนได้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติอย่างใหญ่โตและคึกคักกว่าทุกปี โดยมีบริษัทบรูไนและต่างชาติเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง รวมทั้งบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทรอยัล ชาโนมัน ของไทยเข้าร่วมออกบูธในงานด้วย
สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน จึงเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะเข้าไปร่วมลงทุนทำการเกษตรในบรูไน โดยอาจเริ่มต้นด้วยการทำฟาร์มการเกษตรขนาดกลาง เพื่อเป็นโอกาสในการส่งออกแรงงานไทยซึ่งมีความถนัดในงานด้านเกษตรกรรมไปทำงานในบรูไน นอกจากนี้ เมื่อคำนึงปัญหาไข้หวัดนกที่กำลังระบาดอยู่ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอกชนไทยอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่บนเกาะซึ่งปลอดโรคอย่างเช่นในบรูไน โดยการตั้งฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อส่งสินค้าเนื้อไก่ และไข่ไก่ ป้อนตลาดบรูไนและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศด้วย
ไท ดูโต
[email protected]
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-