กรุงเทพ--17 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548 นาย Paulo Sergio Pinheiro ผู้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า (Special Rapporteur on Human Rights Situation in Myanmar) ของสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ใหสัภาษณ์สื่อมวลชนว่า นาย Pinheiro ได้แจ้งให้ทราบว่ามีความห่วงใยต่อสถานการณ์ในพม่า เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปในประเทศพม่าได้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว จึงค่อนข้างจะห่างกับสถานการณ์ในพม่า อย่างไรก็ตาม นาย Pinheiro ได้แสดงความชื่นชมและเห็นด้วยกับนโยบายของไทยที่ต้องการเปิดประตูติดต่อกับพม่าเพื่อเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพม่า
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เพิ่มเติมเกียวกับสถานการณ์ในพม่า ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับสัญญาณจากหลายประเทศในสหภาพยุโรปแสดงความเห็นด้วยว่า การที่ไทยเปิดประตูติดต่อกับพม่าเพื่อแลกเปลียนความคิดเห็นนั้นเป็นส่งที่ดีกว่าการปิดประตูติดต่อกับพม่า เพราะพม่าปิดตนเองมา 30 ปีแล้ว หากไทยไม่ติดต่อกับพม่าจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น และประชาชนพม่าที่ชาวโลกเป็นห่วงก็จะยิ่งได้รับความลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การเปิดประตูกับพม่า ย่อมทำให้พม่าได้เห็นว่าประเทศไทยซึ่งมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ประชาชนมีความก้าวหน้าในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
2. ในส่วนบทบาทของรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศนั้น ตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้ารับหน้าที่ก็ได้เน้นการดำเนินการโน้มน้าวให้พม่าเร่งกระบวนการปรองดองแห่งชาติให้มีความคืบหน้าเร็วที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การทำงานของอาเซียนมีความราบรื่นด้วย ซึ่งความคืบหน้าที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือ การประชุมเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(National Convention) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากฝ่ายพม่าว่า การร่างรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นไปแล้วร้อยละ 80 และการประชุมจะเริ่มอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญน่าจะแล้วเสร็จในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายไทยจึงหวังว่าหลังจากนั้นฝ่ายพม่าน่าจะปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ให้เป็นอิสระในที่สุด
3. ต่อคำถามของสื่อมวลชนว่า พม่าได้ยืนยันจะสละตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2549 หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า พม่ายังไม่ยืนยันว่าจะสละ อย่างไรก็ตามหวังว่าพม่าจะมีวิธีการที่สร้างสรรค์สำหรับอาเซียน เพราะอาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญ และมีความสำคัญสำหรับพม่าที่เป็นสมาชิกด้วย และหวังว่าพม่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของอาเซียนโดยรวม ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พยายามดำเนินการทางการทูตกับพม่า ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้เพราะมีความละเอียดอ่อน แต่สิ่งที่ไทยต้องการเห็นคือการตัดสินใจเกี่ยวกับการเป็นประธานอาเซียนหรือไม่นั้น ควรเป็นการตัดสินใจของพม่าเอง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548 นาย Paulo Sergio Pinheiro ผู้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า (Special Rapporteur on Human Rights Situation in Myanmar) ของสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ใหสัภาษณ์สื่อมวลชนว่า นาย Pinheiro ได้แจ้งให้ทราบว่ามีความห่วงใยต่อสถานการณ์ในพม่า เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปในประเทศพม่าได้เป็นเวลา 2 ปีแล้ว จึงค่อนข้างจะห่างกับสถานการณ์ในพม่า อย่างไรก็ตาม นาย Pinheiro ได้แสดงความชื่นชมและเห็นด้วยกับนโยบายของไทยที่ต้องการเปิดประตูติดต่อกับพม่าเพื่อเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพม่า
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เพิ่มเติมเกียวกับสถานการณ์ในพม่า ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับสัญญาณจากหลายประเทศในสหภาพยุโรปแสดงความเห็นด้วยว่า การที่ไทยเปิดประตูติดต่อกับพม่าเพื่อแลกเปลียนความคิดเห็นนั้นเป็นส่งที่ดีกว่าการปิดประตูติดต่อกับพม่า เพราะพม่าปิดตนเองมา 30 ปีแล้ว หากไทยไม่ติดต่อกับพม่าจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น และประชาชนพม่าที่ชาวโลกเป็นห่วงก็จะยิ่งได้รับความลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น การเปิดประตูกับพม่า ย่อมทำให้พม่าได้เห็นว่าประเทศไทยซึ่งมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ประชาชนมีความก้าวหน้าในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
2. ในส่วนบทบาทของรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศนั้น ตั้งแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้ารับหน้าที่ก็ได้เน้นการดำเนินการโน้มน้าวให้พม่าเร่งกระบวนการปรองดองแห่งชาติให้มีความคืบหน้าเร็วที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การทำงานของอาเซียนมีความราบรื่นด้วย ซึ่งความคืบหน้าที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือ การประชุมเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(National Convention) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากฝ่ายพม่าว่า การร่างรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นไปแล้วร้อยละ 80 และการประชุมจะเริ่มอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญน่าจะแล้วเสร็จในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายไทยจึงหวังว่าหลังจากนั้นฝ่ายพม่าน่าจะปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ให้เป็นอิสระในที่สุด
3. ต่อคำถามของสื่อมวลชนว่า พม่าได้ยืนยันจะสละตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2549 หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า พม่ายังไม่ยืนยันว่าจะสละ อย่างไรก็ตามหวังว่าพม่าจะมีวิธีการที่สร้างสรรค์สำหรับอาเซียน เพราะอาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญ และมีความสำคัญสำหรับพม่าที่เป็นสมาชิกด้วย และหวังว่าพม่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของอาเซียนโดยรวม ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พยายามดำเนินการทางการทูตกับพม่า ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้เพราะมีความละเอียดอ่อน แต่สิ่งที่ไทยต้องการเห็นคือการตัดสินใจเกี่ยวกับการเป็นประธานอาเซียนหรือไม่นั้น ควรเป็นการตัดสินใจของพม่าเอง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-