สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2548
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 149.92 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (153.63) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (148.36)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.51 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (69.54) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.83)
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
พ.ย. 48 = 153.63
ธ.ค. 48 = 149.92
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี ลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ย. 48 = 69.54
ธ.ค. 48 = 67.51
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัว เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแนวโน้มการส่งออกจะยังขยายตัว แต่อาจมีผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้การจำหน่ายสินค้าหลายชนิดในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 6.3 และ 11.8 เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้การผลิตขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 4.3 สับปะรดกระป๋องร้อยละ 31.4 และปลาทูนากระป๋อง ร้อยละ 20.0 สำหรับการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ กลุ่มสินค้าน้ำมันพืช (ถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมัน) มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.1 และ 4.4 ตามลำดับ ส่วนน้ำตาลทรายแม้ว่าเริ่มเปิดหีบฤดูกาลผลิต 48/49 แต่ยังผลิตได้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 72 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้อ้อยมีผลผลิตลดลง
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 5 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 พิจารณาจากปริมาณน้ำตาลทรายมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเดือนก่อน ทำให้สต็อกน้ำตาลทรายลดลง ส่วนราคาน้ำตาลทรายยังอยู่ในระดับสูง
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกโดยรวม มีปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 17.4 แต่ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่ส่งออกหลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 และ 26.0 สับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 30.1 และ 33.7 ไก่แปรรูป ร้อยละ 18.6 และ 24.7 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 8.3 และ 8.4 ในขณะที่ กุ้ง ส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 7.9 เนื่องจากปริมาณกุ้งที่จับจากฟาร์มลดลง ประกอบกับปริมาณและมูลค่าน้ำตาลทรายลดลง ร้อยละ 50.6 และ 6.3 เนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ฤดูหีบใหม่ที่ยังไม่สามารถกำหนดปริมาณโควตาต่างๆ ได้
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังขยายตัวได้เล็กน้อย เป็นผลจากลูกค้าต่างประเทศมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปอื่นๆ แต่มีปัจจัยลบในด้านค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น สำหรับสินค้าในประเทศคาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“...เดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะทรงตัวหรือปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูกาลการผลิตใหม่ …”
1. การผลิตและการจำหน่าย
ภาวะการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนธันวาคม 2548 ทรงตัว แต่ปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตและการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการผลิตล่วงหน้าพร้อมส่งมอบไปก่อนหน้านี้แล้วในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายลดลงซึ่งเป็นการลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.1 และร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดียวกันกับปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในตลาด สหรัฐอเมริกา (+11.6 %) ญี่ปุ่น (+1.0 %) และกลุ่มสหภาพยุโรป (+14.1 %)
มูลการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.9 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา(+10.7 %) สหราช อาณาจักร (+7.8 %) และญี่ปุ่น (+18.4 %) แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันกับปีก่อน
3. การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอโดยรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.6 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการลดการนำเข้า ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญหลักๆ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ ลดลงร้อยละ 5.2 ตลาดนำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ซิมบับเว และญี่ปุ่น ผ้าผืน นำเข้าลดลงร้อยละ 15.4 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ขณะที่การนำเข้าด้ายทอผ้าฯ ลดลงร้อยละ 21.7 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 12.4 ตลาดนำเข้าคือจีน ฮ่องกง และอิตาลี สัดส่วนร้อยละ 48.4, 14.3 และ 5.9 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ นำเข้าในเดือนธันวาคม 25.1 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.2 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน สัดส่วนร้อยละ 31.0, 16.6, 11.6 และ 9.7 ตามลำดับ
4. แนวโน้ม
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะทรงตัวหรือปรับเพิ่ม ขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูกาลใหม่ และมีปัจจัย ลบจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่มจะยังคงทรงตัว
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“ ผลจากสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง : ผู้ผลิตจึงประสบปัญหาต้นทุนราคาสต๊อกวัตถุดิบที่สูง ในขณะที่ราคานำเข้าสินค้าสำเร็จรูปกลับลดลง จึงทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ ”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ธ.ค. 48 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 126.99 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง ร้อยละ 2.03 ผลิตภัณฑ์ทีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 56.35 และ 28.45 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากผู้ผลิตรายหนึ่งได้กลับมาผลิตหลังจากหยุดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรในเดือน พ.ย. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมาที่สุดในช่วงนี้คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 32.63 ลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 29.77 สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตในช่วงนี้ทรงตัว โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.45 และ 0.62 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงมีสินค้าคงคลังอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตประสบปัญหาทางด้านราคา เนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนราคาสต๊อกวัตถุดิบเช่น เหล็กแท่งแบน ที่สูง ขณะที่ราคาสินค้าสำเร็จรูปในช่วงนี้มีกลับลดลง จึงทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตออกมาในประเทศสูงกว่าราคาสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามา ซึ่งมีผลให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้ามาได้ ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตมีการชะลอตัว ร้อยละ 15.94 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 47.33 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 44.99 และลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 42.85 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศซึ่งประสบปัญหาทางด้านต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งภาวะภัยแล้งและน้ำท่วม
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ในช่วงเดือนมกราคม 2549 เทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว โดย เหล็กแท่งเล็ก ราคาอยู่ที่ 328 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กเส้น ราคา 363 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ เหล็กแท่งแบน ราคา 298 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลง จากการที่ประเทศจีนได้ชะลอการนำเข้าลงหลังจากที่โรงงานเหล็กในประเทศได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงานในประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง จาก 458 เป็น 413 เหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 9.84 และ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 370 เป็น 350 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 5.28
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ม.ค. 2549 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเหล็กทรงยาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในช่วงนี้ความต้องการใช้ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตยังคงทรงตัวเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตประสบปัญหาสต๊อกวัตถุดิบที่มีราคาแพง จึงทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้ามาได้ ซึ่งอาจทำให้มีการนำเข้าเหล็กประเภทนี้เข้ามาก ถึงแม้จะมีความต้องการใช้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็ตาม
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
เนื่องจากในเดือนธันวาคมของทุกปีเป็นช่วงฤดูการจำหน่าย ซึ่งในปีนี้มีการจัดงานมหกรรมยานยนต์มอเตอร์เอกซโป ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2548 ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2548 มีปริมาณการจำหน่ายขยายตัว ในขณะที่ปริมาณการผลิตโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถยนต์นั่งมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก มีการวางตลาดรถรุ่นใหม่ ทำให้การผลิตรถยนต์นั่งรุ่นใหม่นี้ไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตจึงเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 99,019 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 13.16 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 108,176 คัน ร้อยละ 8.46
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 77,876 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 6.31 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 63,422 คัน ร้อยละ 22.79
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 38,303 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 11.40 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการส่งออก 40,958 คัน ร้อยละ 6.48
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2549 จะค่อนข้างทรงตัวจากเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจากเป็นช่วงคาบเกี่ยวจากช่วงฤดูการจำหน่าย
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นผลต่อเนื่องมาจากฤดูฝนปีนี้มีระยะเวลาหลายเดือน ทำให้การเก็บเกี่ยวต้องเร่งรีบและพื้นที่บางส่วนในภาคเหนือและภาคใต้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นปัจจัยที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 192,093 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 225,594 คัน ร้อยละ 14.85
- การจำหน่าย จำนวน 179,958 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 4.53 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 197,728 คัน ร้อยละ 8.99
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 11,037 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการส่งออก 15,479 คัน ร้อยละ 28.70
- แนวโน้ม ประมาณการภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2549 จะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจาก มีการแนะนำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับ มีการแข่งขันสูงในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“การจำหน่ายในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มซบเซา”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 และ 6.28 ตามลำดับ ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.45 และ 10.78 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา จากปัจจัยกดดันทั้งกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 และ 88.57ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและแถบเอเชียใต้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ๆ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา
3.แนวโน้ม
เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะทรงตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง สำหรับแนวโน้มตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศ ขึ้นอยู่กับการผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์ ว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ในส่วนของการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญเป็นหลัก
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ธ.ค. 48 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากได้เร่งผลิตในเดือนก่อนหน้าไปแล้ว และ DELL ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกเล็งอินเดียเป็นฐานการผลิตคอมพิวเตอร์แห่งใหม่ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี 2548 แต่ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่าจับตา “
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 45,668 0.8 49.5
IC 23,588 9.3 15.4
เครื่องรับโทรทัศน์สี 4,306 -10.7 48.4
เครื่องปรับอากาศ 5,540 24.6 45.1
อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 4,414 0.3 3.3
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 3.49 เนื่องจากบริษัทต่างๆได้มีการเร่งผลิตสินค้าและป้อนตลาดในเทศกาล คริสต์มาสและปีใหม่ไปเรียบร้อยแล้วประกอบกับในเดือนธันวาคมมีวันหยุดหลายวัน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวลงร้อยละ 9.49 เนื่องจากการผลิตที่ลดลงค่อนข้างมากในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเช่น พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน เป็นต้น เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงของสินค้าประเภทนี้จากประเทศจีนเป็นสำคัญ โดยผู้ประกอบการบางรายมียอดคำสั่งซื้อหม้อหุงข้าวลดลงกว่าร้อยละ 80
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคมมีมูลค่า 129,584.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากได้ทยอยส่งสินค้าไปในเดือนก่อนหน้าแล้ว และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1
สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออกมีมูลค่า 43,113.0 ล้านบาท ทรงตัวเพื่อเทียบกับเดือนก่อน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0) แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5) โดยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆมีการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น ครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า
สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 86,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สอดคล้องกับมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของโลกที่รายงานโดย Semiconductor Association (SIA) ที่ลดลงร้อยละ 2.2 (มูลค่า 19.95 Billion$ จาก 20.41 Billion$ ในเดือน พ.ย.) แต่มูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการส่งออก 45,668 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีสินค้าหลักในกลุ่มคือ HDD รองลงมา คือ IC ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้า Consumer Electronic ต่างๆที่เพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนธันวาคม เนื่องจากบริษัทต่างๆเริ่มกลับมาผลิตใหม่อีกครั้งหลังจากหยุดยาวในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับฤดูร้อน ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ขยายตัวสูงมาก
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 มีค่า 149.92 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (153.63) ร้อยละ 2.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (148.36) ร้อยละ 1.1
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2548 มีค่า 67.51 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (69.54) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.83)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 36.6 โรงงานขนาดกลางมีค่า 57.2 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 71.6
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 419 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 413 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 1.5 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,486.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,494.96 ล้านบาทร้อยละ 35.2 แต่มีการจ้างงานรวม 9,390 คน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,484 คน ร้อยละ -10.4 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 433 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -3.2 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีจำนวนการจ้างงาน 11,830 คน ร้อยละ -20.6 แต่ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,958.66 ล้านบาทร้อยละ 28.2
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 40 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 32 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา 2,191 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 1,098 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 1,270 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา คนงาน 1,040 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 147 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย คิดเป็นร้อยละ -15.0 แต่ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,555.76 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,512 คน น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,282.27 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 5,017 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 15 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 8 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คืออุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 240 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากโลหะ เงินทุน 131 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548
คือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากโลหะ คนงาน 385 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 316 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 115 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวน 134 โครงการ ร้อยละ -14.18 และมีเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 52,000 ล้านบาทร้อยละ -36.73
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.เท่ากันกับเดือนธันวาคม 2547 ที่มีจำนวน 115 โครงการ และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 208,800 ล้านบาท ร้อยละ -84.24
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 431 228,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 414 139,200
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 409 203,600
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 145,500 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 127,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2548
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 149.92 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (153.63) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (148.36)
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง การผลิตเม็ดพลาสติก การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.51 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (69.54) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.83)
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
พ.ย. 48 = 153.63
ธ.ค. 48 = 149.92
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี ลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ย. 48 = 69.54
ธ.ค. 48 = 67.51
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารปรับตัว เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแนวโน้มการส่งออกจะยังขยายตัว แต่อาจมีผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้การจำหน่ายสินค้าหลายชนิดในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 6.3 และ 11.8 เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้การผลิตขยายตัวโดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นในสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 4.3 สับปะรดกระป๋องร้อยละ 31.4 และปลาทูนากระป๋อง ร้อยละ 20.0 สำหรับการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ กลุ่มสินค้าน้ำมันพืช (ถั่วเหลืองและปาล์มน้ำมัน) มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.1 และ 4.4 ตามลำดับ ส่วนน้ำตาลทรายแม้ว่าเริ่มเปิดหีบฤดูกาลผลิต 48/49 แต่ยังผลิตได้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 72 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้อ้อยมีผลผลิตลดลง
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 5 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 พิจารณาจากปริมาณน้ำตาลทรายมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในเดือนก่อน ทำให้สต็อกน้ำตาลทรายลดลง ส่วนราคาน้ำตาลทรายยังอยู่ในระดับสูง
2) ตลาดต่างประเทศ
ภาวะการส่งออกโดยรวม มีปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 17.4 แต่ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสินค้าที่ส่งออกหลัก ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 และ 26.0 สับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 30.1 และ 33.7 ไก่แปรรูป ร้อยละ 18.6 และ 24.7 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป ร้อยละ 8.3 และ 8.4 ในขณะที่ กุ้ง ส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 7.9 เนื่องจากปริมาณกุ้งที่จับจากฟาร์มลดลง ประกอบกับปริมาณและมูลค่าน้ำตาลทรายลดลง ร้อยละ 50.6 และ 6.3 เนื่องจากกำลังย่างเข้าสู่ฤดูหีบใหม่ที่ยังไม่สามารถกำหนดปริมาณโควตาต่างๆ ได้
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะยังขยายตัวได้เล็กน้อย เป็นผลจากลูกค้าต่างประเทศมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปอื่นๆ แต่มีปัจจัยลบในด้านค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น สำหรับสินค้าในประเทศคาดว่าจะมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
“...เดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะทรงตัวหรือปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูกาลการผลิตใหม่ …”
1. การผลิตและการจำหน่าย
ภาวะการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ เดือนธันวาคม 2548 ทรงตัว แต่ปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อน ขณะที่การผลิตและการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ เนื่องจากมีการผลิตล่วงหน้าพร้อมส่งมอบไปก่อนหน้านี้แล้วในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายลดลงซึ่งเป็นการลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ
2. การส่งออกและตลาดส่งออก
มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.1 และร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดียวกันกับปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในตลาด สหรัฐอเมริกา (+11.6 %) ญี่ปุ่น (+1.0 %) และกลุ่มสหภาพยุโรป (+14.1 %)
มูลการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.9 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา(+10.7 %) สหราช อาณาจักร (+7.8 %) และญี่ปุ่น (+18.4 %) แต่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันกับปีก่อน
3. การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอโดยรวม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.6 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการลดการนำเข้า ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญหลักๆ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ ลดลงร้อยละ 5.2 ตลาดนำเข้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ซิมบับเว และญี่ปุ่น ผ้าผืน นำเข้าลดลงร้อยละ 15.4 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง ขณะที่การนำเข้าด้ายทอผ้าฯ ลดลงร้อยละ 21.7 ตลาดนำเข้าหลักคือจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย เสื้อผ้าสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 12.4 ตลาดนำเข้าคือจีน ฮ่องกง และอิตาลี สัดส่วนร้อยละ 48.4, 14.3 และ 5.9 ตามลำดับ
เครื่องจักรสิ่งทอ นำเข้าในเดือนธันวาคม 25.1 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.2 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน สัดส่วนร้อยละ 31.0, 16.6, 11.6 และ 9.7 ตามลำดับ
4. แนวโน้ม
ภาวะการผลิตและการจำหน่ายของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะทรงตัวหรือปรับเพิ่ม ขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูกาลใหม่ และมีปัจจัย ลบจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ซึ่งสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่มจะยังคงทรงตัว
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
“ ผลจากสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง : ผู้ผลิตจึงประสบปัญหาต้นทุนราคาสต๊อกวัตถุดิบที่สูง ในขณะที่ราคานำเข้าสินค้าสำเร็จรูปกลับลดลง จึงทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ ”
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ธ.ค. 48 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 126.99 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง ร้อยละ 2.03 ผลิตภัณฑ์ทีมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 56.35 และ 28.45 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากผู้ผลิตรายหนึ่งได้กลับมาผลิตหลังจากหยุดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรในเดือน พ.ย. สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมาที่สุดในช่วงนี้คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 32.63 ลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 29.77 สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตในช่วงนี้ทรงตัว โดยเหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 1.45 และ 0.62 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงมีสินค้าคงคลังอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตประสบปัญหาทางด้านราคา เนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนราคาสต๊อกวัตถุดิบเช่น เหล็กแท่งแบน ที่สูง ขณะที่ราคาสินค้าสำเร็จรูปในช่วงนี้มีกลับลดลง จึงทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตออกมาในประเทศสูงกว่าราคาสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามา ซึ่งมีผลให้สินค้าที่ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้ามาได้ ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตมีการชะลอตัว ร้อยละ 15.94 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 47.33 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 44.99 และลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 42.85 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศซึ่งประสบปัญหาทางด้านต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น รวมทั้งภาวะภัยแล้งและน้ำท่วม
2.ราคาเหล็ก
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ในช่วงเดือนมกราคม 2549 เทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว โดย เหล็กแท่งเล็ก ราคาอยู่ที่ 328 เหรียญสหรัฐต่อตัน เหล็กเส้น ราคา 363 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ เหล็กแท่งแบน ราคา 298 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องจากความต้องการใช้ในตลาดโลกลดลง จากการที่ประเทศจีนได้ชะลอการนำเข้าลงหลังจากที่โรงงานเหล็กในประเทศได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงานในประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง จาก 458 เป็น 413 เหรียญสหรัฐ ลดลง ร้อยละ 9.84 และ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง จาก 370 เป็น 350 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 5.28
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน ม.ค. 2549 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเหล็กทรงยาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในช่วงนี้ความต้องการใช้ยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตยังคงทรงตัวเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังที่สูงอยู่ ประกอบกับผู้ผลิตประสบปัญหาสต๊อกวัตถุดิบที่มีราคาแพง จึงทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้ามาได้ ซึ่งอาจทำให้มีการนำเข้าเหล็กประเภทนี้เข้ามาก ถึงแม้จะมีความต้องการใช้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็ตาม
4. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
เนื่องจากในเดือนธันวาคมของทุกปีเป็นช่วงฤดูการจำหน่าย ซึ่งในปีนี้มีการจัดงานมหกรรมยานยนต์มอเตอร์เอกซโป ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2548 ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2548 มีปริมาณการจำหน่ายขยายตัว ในขณะที่ปริมาณการผลิตโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถยนต์นั่งมีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก มีการวางตลาดรถรุ่นใหม่ ทำให้การผลิตรถยนต์นั่งรุ่นใหม่นี้ไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค ผู้ผลิตจึงเพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 99,019 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 13.16 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 108,176 คัน ร้อยละ 8.46
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 77,876 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 6.31 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 63,422 คัน ร้อยละ 22.79
- การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 38,303 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 11.40 แต่ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการส่งออก 40,958 คัน ร้อยละ 6.48
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2549 จะค่อนข้างทรงตัวจากเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจากเป็นช่วงคาบเกี่ยวจากช่วงฤดูการจำหน่าย
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2548 ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นผลต่อเนื่องมาจากฤดูฝนปีนี้มีระยะเวลาหลายเดือน ทำให้การเก็บเกี่ยวต้องเร่งรีบและพื้นที่บางส่วนในภาคเหนือและภาคใต้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นปัจจัยที่กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 192,093 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการผลิต 225,594 คัน ร้อยละ 14.85
- การจำหน่าย จำนวน 179,958 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ร้อยละ 4.53 และลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการจำหน่าย 197,728 คัน ร้อยละ 8.99
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 11,037 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการส่งออก 15,479 คัน ร้อยละ 28.70
- แนวโน้ม ประมาณการภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2549 จะขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนธันวาคม 2548 เนื่องจาก มีการแนะนำรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับ มีการแข่งขันสูงในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“การจำหน่ายในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ชะลอตัวลง ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มซบเซา”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 และ 6.28 ตามลำดับ ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.45 และ 10.78 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา จากปัจจัยกดดันทั้งกำลังซื้อในประเทศที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนธันวาคม 2548 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 และ 88.57ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและแถบเอเชียใต้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รวมทั้งมีการขยายตลาดใหม่ๆ เช่น ในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา
3.แนวโน้ม
เดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2549 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะทรงตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง สำหรับแนวโน้มตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศ ขึ้นอยู่กับการผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์ ว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ในส่วนของการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญเป็นหลัก
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
“ภาวะการผลิตและการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือน ธ.ค. 48 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากได้เร่งผลิตในเดือนก่อนหน้าไปแล้ว และ DELL ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกเล็งอินเดียเป็นฐานการผลิตคอมพิวเตอร์แห่งใหม่ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปี 2548 แต่ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่าจับตา “
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 45,668 0.8 49.5
IC 23,588 9.3 15.4
เครื่องรับโทรทัศน์สี 4,306 -10.7 48.4
เครื่องปรับอากาศ 5,540 24.6 45.1
อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม 4,414 0.3 3.3
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 3.49 เนื่องจากบริษัทต่างๆได้มีการเร่งผลิตสินค้าและป้อนตลาดในเทศกาล คริสต์มาสและปีใหม่ไปเรียบร้อยแล้วประกอบกับในเดือนธันวาคมมีวันหยุดหลายวัน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนดัชนีปรับตัวลงร้อยละ 9.49 เนื่องจากการผลิตที่ลดลงค่อนข้างมากในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กเช่น พัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน เป็นต้น เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงของสินค้าประเภทนี้จากประเทศจีนเป็นสำคัญ โดยผู้ประกอบการบางรายมียอดคำสั่งซื้อหม้อหุงข้าวลดลงกว่าร้อยละ 80
2. การส่งออก
การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนธันวาคมมีมูลค่า 129,584.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากได้ทยอยส่งสินค้าไปในเดือนก่อนหน้าแล้ว และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1
สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออกมีมูลค่า 43,113.0 ล้านบาท ทรงตัวเพื่อเทียบกับเดือนก่อน(เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0) แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5) โดยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆมีการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็น ครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า
สินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าการส่งออก 86,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สอดคล้องกับมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของโลกที่รายงานโดย Semiconductor Association (SIA) ที่ลดลงร้อยละ 2.2 (มูลค่า 19.95 Billion$ จาก 20.41 Billion$ ในเดือน พ.ย.) แต่มูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีมูลค่าการส่งออก 45,668 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีสินค้าหลักในกลุ่มคือ HDD รองลงมา คือ IC ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้า Consumer Electronic ต่างๆที่เพิ่มขึ้น
3. แนวโน้ม
ภาวะการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมกราคม 2549 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนธันวาคม เนื่องจากบริษัทต่างๆเริ่มกลับมาผลิตใหม่อีกครั้งหลังจากหยุดยาวในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับฤดูร้อน ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความต้องการสินค้า Consumer Electronic ของโลกที่ขยายตัวสูงมาก
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 มีค่า 149.92 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (153.63) ร้อยละ 2.4 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (148.36) ร้อยละ 1.1
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2548 มีค่า 67.51 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 (69.54) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (68.83)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง อุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนธันวาคม 2548 ของโรงงานขนาดเล็กมีค่า 36.6 โรงงานขนาดกลางมีค่า 57.2 และโรงงานขนาดใหญ่มีค่า 71.6
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2548
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 419 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 413 รายหรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 1.5 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 11,486.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,494.96 ล้านบาทร้อยละ 35.2 แต่มีการจ้างงานรวม 9,390 คน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,484 คน ร้อยละ -10.4 ตามลำดับ
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 433 รายหรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -3.2 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีจำนวนการจ้างงาน 11,830 คน ร้อยละ -20.6 แต่ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2547 ซึ่งมีการลงทุนเพิ่ม 8,958.66 ล้านบาทร้อยละ 28.2
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 40 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 32 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา 2,191 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ มีเงินทุน 1,098 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 1,270 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา คนงาน 1,040 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 147 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 173 ราย คิดเป็นร้อยละ -15.0 แต่ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,555.76 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,512 คน น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,282.27 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 5,017 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 15 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 8 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548 คืออุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 240 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากโลหะ เงินทุน 131 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2548
คือ อุตสาหกรรมทำภาชนะบรรจุจากโลหะ คนงาน 385 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 316 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 115 โครงการ น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีจำนวน 134 โครงการ ร้อยละ -14.18 และมีเงินลงทุน 32,900 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่มีเงินลงทุน 52,000 ล้านบาทร้อยละ -36.73
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนธันวาคม 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.เท่ากันกับเดือนธันวาคม 2547 ที่มีจำนวน 115 โครงการ และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2547 ที่มีเงินลงทุน 208,800 ล้านบาท ร้อยละ -84.24
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 431 228,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 414 139,200
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 409 203,600
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 145,500 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 127,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-