ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อว่าจะมีการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดการเงินระหว่างประเทศ” ที่ตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ในช่วงเดือน ธ.ค.48-เม.ย.49 ประเทศไทยมีเงินทุนไหลเข้ามากที่สุด ส่วนหนึ่งเกิดจากกรณีที่กองทุนเทมาเส็ก
เข้ามาซื้อหุ้น บ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเชื่อว่าจะมีการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปลายปี 50 ทั้งนี้ ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติลงทุนในหุ้นมูลค่าประเมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1.2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม
หากเงินทุนดังกล่าวไหลออก จะไม่ส่งผลกระทบกับไทย เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 60,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังมั่นใจ
ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 49 น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-4.6 จากการเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยมีปริมาณ
การส่งออกจำนวนมาก (ข่าวสด, สยามรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.เชื่อว่าเอสแอนด์พีจะไม่ปรับลดอันดับเครดิตไทยลงมาอีก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อ
2 ต.ค.49 สถาบันจัดอันดับความเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้เข้าพบเพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการ
ปกครอง ซึ่งได้ชี้แจงให้เข้าใจ และอธิบายถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นนโยบายการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ด้วย ภายหลัง
รับฟังข้อมูลก็เข้าใจอย่างดี และเชื่อว่าเอสแอนด์พีจะไม่ปรับลดอันดับเครดิตไทยลงมาอีก เพียงแต่ขณะนี้ต้องให้เวลากลับไปประเมินอีกครั้งหนึ่ง
(มติชน)
3. ตลาดหุ้นไทยวางแผนใช้ Dual Listing และ Foreign Listing เชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค กรรมการและ
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแผนเชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค
โดยให้มีการจดทะเบียน 2 ตลาด (Dual Listing) ซึ่งยังอยู่ระหว่างดูกฎเกณฑ์และการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าจดทะเบียน
(Foreign Listing) ตามแผน 3 ปี (2550-2552) เพื่อเพิ่มสินค้าและโอกาสการลงทุนของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นโดยการจดทะเบียน 2 ตลาด
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดูกฎเกณฑ์ระหว่าง 2 ตลาดอยู่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้ได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (แนวหน้า)
4. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้ามีมติเห็นชอบปรับค่าเอฟทีลดลง 7.02 สตางค์ต่อหน่วย ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ
ไฟฟ้า (เร็กกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ประจำเดือน
ต.ค.49-ม.ค.50 และมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ ที่ให้เรียกเก็บค่าเอฟทีงวดนี้ลดลง
7.02 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้การเรียกเก็บรอบที่ผ่านมา คือ มิ.ย.-ก.ย.49 อยู่ที่ 85.44 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงเหลือเพียง 78.42 สตางค์
ต่อหน่วย โดยเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานเฉลี่ยประมาณ 2.26 บาทต่อหน่วยแล้ว ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนจะอยู่ที่หน่วยละ 3.04 บาท
หรือลดลงจากเดิมที่ 3.10 บาทต่อหน่วยในงวดก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 2.06 สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลดค่าเอฟทีลงได้ คือ การเปลี่ยนแปลง
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และยังมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเข้ามาช่วยอีกด้วย ขณะเดียวกัน เลขานุการคณะกรรมการ
ขนส่งทางบกกลางกล่วว่า หลังจากที่ราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับลดราคาลงอีก 40 สตางค์วันนี้ (6 ต.ค.49) ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลมาอยู่ที่ระดับ
24.14 บาท ซึ่งถือว่าราคาน้ำมันดีเซลได้ลดลงต่ำกว่าเพดานที่คณะกรรมการฯ ได้มีข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการเดินรถเอกชนว่า หากราคา
น้ำมันดีเซลปรับขึ้นหรือลดลงครบ 3 บาท ก็จำเป็นจะต้องปรับลดราคาค่าโดยสาร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้รถโดยสาร ดังนั้น คณะกรรมการ
ขนส่งทางบกกลาง และกรมการขนส่งทางบก จะติดตามการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดีเซลต่อไปอีกใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากพบว่าระดับ
การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันค่อนข้างนิ่ง ก็จะมีการเจรจากับผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ เพื่อขอให้มีการปรับลดราคาลงมา
(สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด, มติชน, บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
5 ต.ค.49 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ.ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.49 ลดลง 17,000 คน
เหลือจำนวน 302,000 คน จากจำนวน 319,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นับเป็นการลดลงต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ค.49 และลดลงต่ำกว่า
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะมีจำนวน 315,000 คน ทั้งนี้ ก.แรงงานกล่าวว่า ไม่พบว่ามีปัจจัยใด
เป็นพิเศษที่ส่งผลต่อการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานดังกล่าว สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่ง
สะท้อนทิศทางของตลาดแรงงานได้ดีกว่า ลดลง 2,750 คน เหลือจำนวน 313,500 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคย
ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไปแล้ว ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย.49 เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 2.448 ล้านคน ต่ำกว่าเล็กน้อย
จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่จำนวน 2.450 ล้านคน นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์ พบว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ของผู้ประกอบการ สรอ. ในเดือน ก.ย.49 มีจำนวน 125,000 อัตรา ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งมีจำนวน
128,000 อัตรา และอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับเดิมร้อยละ 4.7 นับเป็นตัวเลขที่เสริมภาพว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.ได้ชะลอลงในระดับที่เป็น
ปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลาง สรอ. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 49 ธ.กลางยุโรปปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.25 และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 5 พร้อมส่ง
สัญญานว่าจะมีการปรับเพิ่มอีกในเดือนธ.ค. เพื่อต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามนาย Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางยุโรป
หลีกเลี่ยงที่จะให้ความชัดเจนเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในครั้งต่อไปว่าจะเป็นเมื่อไร ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวท่ามกลาง
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ทั้งๆที่ราคาน้ำมันได้ลดลงแล้ว ทั้งนี้ในเดือน ก.ย. ราคาน้ำมันสูงขึ้นไม่มาก แต่มีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีก
ทำให้ธ.กลางยุโรปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเพดานร้อยละ 2 ในปีหน้า ซึ่งธ.กลางต้องเฝ้าติดตามดูแลภาวะดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
เพื่อให้แน่ใจว่าระดับราคามีเสถียรภาพทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ทั้งนี้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวานนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์
ของตลาดการเงินและนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น และคาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ธ.ค. เป็นร้อยละ
3.50 ซึ่งนาย Jean-Claude Trichet ยืนยันว่ามีความเป็นไปได้ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.75 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 49 ในการประชุมนโยบาย
การเงินของธ.กลางอังกฤษเมื่อวานนี้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.75 เป็นเดือนที่ 2 แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนหน้าเป็นร้อยละ 5.0 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 ของธ.กลางอังกฤษ และ
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังจะสูงขึ้นอีก (รอยเตอร์)
4. Construction index ของเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 5 ต.ค.49
สถาบันวิจัย NTC เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการด้านการก่อสร้างของเยอรมนี ซึ่งพบว่า Construction index ในเดือน
ก.ย.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.2 จากระดับ 53.9 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 โดยดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับ
ที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคการก่อสร้าง นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า การซื้อขายในภาคการก่อสร้างในปี 49 มีการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่สิ้นสุด
Building boom ในช่วงกลางปี 33 ซึ่งหลังจากนั้นภาคการก่อสร้างของเยอรมนีก็ประสบภาวะซบเซาตลอดมา และดัชนีชี้วัดการจ้างงานในภาคการ
ก่อสร้างเพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.5 จากระดับ 53.7 ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 51.1 จากระดับ 51.3 ทั้งนี้ ข้อมูลจากผลการ
สำรวจเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตัวเลขคำสั่งซื้อภาคการก่อสร้างของ ธ.กลางเยอรมนี ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.49 ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.3 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 38 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 49 5 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.597 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3898/37.6849 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.72/15.95 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,100/10,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.19 55.66 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.99/24.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อว่าจะมีการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปี 50 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการ “การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อรับมือกับความผันผวนของตลาดการเงินระหว่างประเทศ” ที่ตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ในช่วงเดือน ธ.ค.48-เม.ย.49 ประเทศไทยมีเงินทุนไหลเข้ามากที่สุด ส่วนหนึ่งเกิดจากกรณีที่กองทุนเทมาเส็ก
เข้ามาซื้อหุ้น บ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเชื่อว่าจะมีการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปลายปี 50 ทั้งนี้ ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติลงทุนในหุ้นมูลค่าประเมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1.2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม
หากเงินทุนดังกล่าวไหลออก จะไม่ส่งผลกระทบกับไทย เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากถึง 60,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ยังมั่นใจ
ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 49 น่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.5-4.6 จากการเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยมีปริมาณ
การส่งออกจำนวนมาก (ข่าวสด, สยามรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธปท.เชื่อว่าเอสแอนด์พีจะไม่ปรับลดอันดับเครดิตไทยลงมาอีก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อ
2 ต.ค.49 สถาบันจัดอันดับความเชื่อถือ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้เข้าพบเพื่อสอบถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการ
ปกครอง ซึ่งได้ชี้แจงให้เข้าใจ และอธิบายถึงความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นนโยบายการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ด้วย ภายหลัง
รับฟังข้อมูลก็เข้าใจอย่างดี และเชื่อว่าเอสแอนด์พีจะไม่ปรับลดอันดับเครดิตไทยลงมาอีก เพียงแต่ขณะนี้ต้องให้เวลากลับไปประเมินอีกครั้งหนึ่ง
(มติชน)
3. ตลาดหุ้นไทยวางแผนใช้ Dual Listing และ Foreign Listing เชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค กรรมการและ
ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแผนเชื่อมโยงตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นภูมิภาค
โดยให้มีการจดทะเบียน 2 ตลาด (Dual Listing) ซึ่งยังอยู่ระหว่างดูกฎเกณฑ์และการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้าจดทะเบียน
(Foreign Listing) ตามแผน 3 ปี (2550-2552) เพื่อเพิ่มสินค้าและโอกาสการลงทุนของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้นโดยการจดทะเบียน 2 ตลาด
ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนดูกฎเกณฑ์ระหว่าง 2 ตลาดอยู่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องให้ได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย (แนวหน้า)
4. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้ามีมติเห็นชอบปรับค่าเอฟทีลดลง 7.02 สตางค์ต่อหน่วย ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ
ไฟฟ้า (เร็กกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) ประจำเดือน
ต.ค.49-ม.ค.50 และมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของอนุกรรมการกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าและค่าบริการ ที่ให้เรียกเก็บค่าเอฟทีงวดนี้ลดลง
7.02 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้การเรียกเก็บรอบที่ผ่านมา คือ มิ.ย.-ก.ย.49 อยู่ที่ 85.44 สตางค์ต่อหน่วย ลดลงเหลือเพียง 78.42 สตางค์
ต่อหน่วย โดยเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานเฉลี่ยประมาณ 2.26 บาทต่อหน่วยแล้ว ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนจะอยู่ที่หน่วยละ 3.04 บาท
หรือลดลงจากเดิมที่ 3.10 บาทต่อหน่วยในงวดก่อนหน้า คิดเป็นร้อยละ 2.06 สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลดค่าเอฟทีลงได้ คือ การเปลี่ยนแปลง
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และยังมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเข้ามาช่วยอีกด้วย ขณะเดียวกัน เลขานุการคณะกรรมการ
ขนส่งทางบกกลางกล่วว่า หลังจากที่ราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับลดราคาลงอีก 40 สตางค์วันนี้ (6 ต.ค.49) ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลมาอยู่ที่ระดับ
24.14 บาท ซึ่งถือว่าราคาน้ำมันดีเซลได้ลดลงต่ำกว่าเพดานที่คณะกรรมการฯ ได้มีข้อตกลงร่วมกับผู้ประกอบการเดินรถเอกชนว่า หากราคา
น้ำมันดีเซลปรับขึ้นหรือลดลงครบ 3 บาท ก็จำเป็นจะต้องปรับลดราคาค่าโดยสาร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ใช้รถโดยสาร ดังนั้น คณะกรรมการ
ขนส่งทางบกกลาง และกรมการขนส่งทางบก จะติดตามการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดีเซลต่อไปอีกใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากพบว่าระดับ
การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันค่อนข้างนิ่ง ก็จะมีการเจรจากับผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ เพื่อขอให้มีการปรับลดราคาลงมา
(สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด, มติชน, บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
5 ต.ค.49 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ.ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.49 ลดลง 17,000 คน
เหลือจำนวน 302,000 คน จากจำนวน 319,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นับเป็นการลดลงต่ำสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ก.ค.49 และลดลงต่ำกว่า
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานจะมีจำนวน 315,000 คน ทั้งนี้ ก.แรงงานกล่าวว่า ไม่พบว่ามีปัจจัยใด
เป็นพิเศษที่ส่งผลต่อการลดลงของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานดังกล่าว สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่ง
สะท้อนทิศทางของตลาดแรงงานได้ดีกว่า ลดลง 2,750 คน เหลือจำนวน 313,500 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคย
ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไปแล้ว ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย.49 เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 2.448 ล้านคน ต่ำกว่าเล็กน้อย
จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่จำนวน 2.450 ล้านคน นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์โดย
รอยเตอร์ พบว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ของผู้ประกอบการ สรอ. ในเดือน ก.ย.49 มีจำนวน 125,000 อัตรา ต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งมีจำนวน
128,000 อัตรา และอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับเดิมร้อยละ 4.7 นับเป็นตัวเลขที่เสริมภาพว่าภาวะเศรษฐกิจ สรอ.ได้ชะลอลงในระดับที่เป็น
ปัจจัยสนับสนุนให้ ธ.กลาง สรอ. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไป (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 รายงานจากปารีส เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 49 ธ.กลางยุโรปปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ร้อยละ 3.25 และอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 5 พร้อมส่ง
สัญญานว่าจะมีการปรับเพิ่มอีกในเดือนธ.ค. เพื่อต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามนาย Jean-Claude Trichet ประธาน ธ.กลางยุโรป
หลีกเลี่ยงที่จะให้ความชัดเจนเรื่องการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในครั้งต่อไปว่าจะเป็นเมื่อไร ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัวท่ามกลาง
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ทั้งๆที่ราคาน้ำมันได้ลดลงแล้ว ทั้งนี้ในเดือน ก.ย. ราคาน้ำมันสูงขึ้นไม่มาก แต่มีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีก
ทำให้ธ.กลางยุโรปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าเพดานร้อยละ 2 ในปีหน้า ซึ่งธ.กลางต้องเฝ้าติดตามดูแลภาวะดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
เพื่อให้แน่ใจว่าระดับราคามีเสถียรภาพทั้งในระยะกลาง และระยะยาว ทั้งนี้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวานนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์
ของตลาดการเงินและนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น และคาดว่าธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ธ.ค. เป็นร้อยละ
3.50 ซึ่งนาย Jean-Claude Trichet ยืนยันว่ามีความเป็นไปได้ (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.75 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 49 ในการประชุมนโยบาย
การเงินของธ.กลางอังกฤษเมื่อวานนี้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.75 เป็นเดือนที่ 2 แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีการปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนหน้าเป็นร้อยละ 5.0 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 ของธ.กลางอังกฤษ และ
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังจะสูงขึ้นอีก (รอยเตอร์)
4. Construction index ของเยอรมนีในเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 5 ต.ค.49
สถาบันวิจัย NTC เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการด้านการก่อสร้างของเยอรมนี ซึ่งพบว่า Construction index ในเดือน
ก.ย.49 เพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.2 จากระดับ 53.9 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 โดยดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับ
ที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคการก่อสร้าง นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า การซื้อขายในภาคการก่อสร้างในปี 49 มีการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่สิ้นสุด
Building boom ในช่วงกลางปี 33 ซึ่งหลังจากนั้นภาคการก่อสร้างของเยอรมนีก็ประสบภาวะซบเซาตลอดมา และดัชนีชี้วัดการจ้างงานในภาคการ
ก่อสร้างเพิ่มขึ้นที่ระดับ 54.5 จากระดับ 53.7 ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 51.1 จากระดับ 51.3 ทั้งนี้ ข้อมูลจากผลการ
สำรวจเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับตัวเลขคำสั่งซื้อภาคการก่อสร้างของ ธ.กลางเยอรมนี ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ค.49 ที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.3 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 38 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ต.ค. 49 5 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.597 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3898/37.6849 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 695.72/15.95 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,150/10,250 10,100/10,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.19 55.66 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.99/24.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--