สรุปข่าวเศรษฐกิจประจำวัน วันที่ 3 มิถุนายน 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 6, 2005 09:37 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยมีการโอนเงินนอกระบบประมาณ 19,500 ล้านบาท ผอ.ฝ่ายคดี ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงสถิติคดีว่า ขณะนี้มีคดีเกี่ยวกับธุรกิจการโอนเงินนอกระบบ ได้แก่ การค้ายาเสพติด ขน
น้ำมันเถื่อน ค้าเพชรเลี่ยงภาษี และหนี้พนันฟุตบอล ที่เป็นคดีใหญ่ทั้งหมด 17 คดี ทุนทรัพย์รวม 477.10 ล้าน
ดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 19,500 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ขาดอายุความไปแล้ว 1 คดี แต่มีทุนทรัพย์น้อย นอก
นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ 4 คดี ศาลอัยการ 7 คดี และชั้นตำรวจ 5 คดี นอกจากนี้ จากข้อมูล
เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ยังสรุปว่ามีคดีที่ ธปท.ร้องทุกข์กล่าวโทษอดีตผู้บริหารสถาบันการเงินอีก 56 คดี ทุน
ทรัพย์ 58,765.38 ล้านบาท ในจำนวนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ 39 คดี มีทุนทรัพย์ 53,346.69 ล้านบาท และคดี
ถึงที่สุดแล้ว 17 คดี ทุนทรัพย์ 5,418.7 ล้านบาท (เดลินิวส์, โลกวันนี้, บ้านเมือง, แนวหน้า)
2. ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดว่า ธปท.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมครั้งต่อ
ไป นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในระยะนี้ยังอ่อนค่า คาดว่า
จะมีแนวต้านอยู่ที่ 40.85 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเชื่อว่า สัปดาห์หน้า ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
ร้อยละ 0.25 และยังมีแรงทำกำไรระยะสั้นจากนักลงทุน แต่ภาวะเศรษฐกิจไทยเองที่ยังมีอัตราดอกเบี้ยติดลบ และ
ปัญหาการขาดดุลจะเป็นปัจจัยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ถึง 41 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ในระยะ
ยาวมีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าลงเนื่องจากตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าเงินบาทแข็งค่าในระดับที่สูงมากแล้ว ประกอบ
กับแนวโน้มฐานะทางการเงินที่เปลี่ยนจากเกินดุลมาเป็นเกินดุลน้อยลง และเริ่มขาดดุลมากขึ้นทั้งดุลการค้าและดุล
บัญชีเดินสะพัด ทำให้ค่าเงินเอเชียและค่าเงินบาทอ่อนค่าได้ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. หนี้ภาคครัวเรือนปี 45-47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า 3-4 ปีที่ผ่านมา คนไทยเป็นหนี้มากขึ้น เพราะมีความเชื่อมั่นในการเข้ามา
ของรัฐบาลว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง ประชาชนคาดหวังจะมีรายได้มากขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอย ที่สำคัญ
มีการกู้เงินหรือใช้เงินในอนาคตที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นหนี้ ทั้งนี้ จากผลสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เกี่ยวกับภาระหนี้ภาคครัวเรือนพบว่า หนี้ภาคครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากที่ พ.ต.ท.ทักษิณเข้า
มา โดยข้อมูลเมื่อปี 39 หนี้ภาคครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 52,001 บาทต่อครัวเรือน ในปี 45 หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่ม
ขึ้นเป็น 82,485 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 ต่อปี ก่อนที่จะทะยานขึ้นเป็น 103,940 บาทต่อครัว
เรือน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 47 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับปี 45 ขณะที่รายได้ในครึ่งปีแรกของปี
47 อยู่ที่ 14,617 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับปี 45 (ผู้จัดการรายวัน)
4. 3 โบรกเกอร์คาดมาตรการน้ำมันดีเซลลอยตัวจะมีผลกระทบต่อ บจ.ไม่รุนแรง จากการสำรวจบท
วิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ 3 แห่ง ประกอบด้วย บล.พัฒนสิน บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) และ บล.
สินเอเซีย ได้ทำการประเมินผลกระทบมาตรการน้ำมันดีเซลลอยตัวแบบมีการจัดการ โดยบทวิเคราะห์ทั้ง 3 บริษัท
ระบุว่า ผลกระทบจะไม่รุนแรงมากนักในระยะสั้น และจะมีผลกระทบที่ชัดเจนอีก 10 เดือนข้างหน้า หรือภายหลัง
จากการปรับลดภาษีหมดลง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับแนวโน้มราคาน้ำมันดีเซลที่แท้จริง ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่
กระทบต่อราคาสินค้าในระยะสั้น แต่ผลกระทบจะเกิดขึ้นหลังการปรับลดภาษีหมดลง เนื่องจากคาดว่าระดับราคา
น้ำมันดีเซลหากจะมีการปรับขึ้นก็จะเป็นเพียงครั้งละไม่มาก ขณะเดียวกันก็มีโอกาสปรับลง นอกจากนี้ มาตรการจะ
ทำให้การกักตุนสินค้าของผู้ผลิตลดลงและเริ่มระบายสินค้าออกสู่ตลาด เนื่องจากโอกาสของการเก็งกำไรจากการ
ปรับขึ้นราคาทำได้ยากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันภาวะเงินเฟ้อของ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน
ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.48 ก.แรงงานของ สรอ. เปิดเผยว่า ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของ สรอ. ที่เพิ่ม
ขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมาอาจส่งผลให้ต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อ
ลดแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ ด้านผลผลิตทางธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในไตรมาสแรก สูงกว่าระดับร้อยละ
2.6 ที่รายงานไว้ในเดือนก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ยังมีการลดการจ้างงานชั่วคราวในอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำให้มีคน
ว่างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน เม.ย.48 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตลาดให้ความสนใจคือ ต้นทุนการจ้างงานต่อหน่วย ซึ่ง
เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตราร้อยละ 3.3 ต่อปี โดยในไตรมาสแรกต้น
ทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากที่มีการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.7 ในไตรมาส 4 ปี 47 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 43 และสูงกว่าระดับร้อยละ 1.7 ที่รายงานไว้ครั้งก่อน ในขณะที่นักเศรษฐ
ศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดว่าต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วยในไตรมาสแรกปีนี้จะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2 ต่ำกว่าที่
รายงานไว้เบื้องต้นที่ร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในช่วง 12 เดือน นับ
ถึงไตรมาสแรกปีนี้ ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่สิ้นสุดไตรมาส 3 ปี 43 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ในเดือน เม.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
เมื่อเทียบกับปีก่อน รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 2 มิ.ย.48 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติของสหภาพยุโรป
รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตในเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 12 ประเทศที่ใช้
เงินสกุลยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย.48 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยประเทศลักเซมเบิร์กเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดคือร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อเดือน ตามมา
ด้วยประเทศกรีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อเดือน มีที่ลดลงประเทศเดียวคือเบลเยี่ยมซึ่งลดลงร้อยละ 0.2 ต่อเดือน
ในขณะที่เยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ต่อเดือน ทั้งนี้เป็นผลมา
จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น โดยหากไม่รวมราคาพลังงานแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน
แสดงให้เห็นว่าผู้ผลิตยังไม่กล้าผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภคในขณะที่ความต้องการในประเทศยังอยู่ในภาวะ
ซบเซา โดยราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน เม.ย.48 จากเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อ
เทียบกับปีก่อน สินค้าคงทนมีราคาเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ในขณะที่สินค้าไม่คงทนและสินค้าทุนมีราคาคงที่
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน พ.ค.48 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 9 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 2
มิ.ย.48 The Nationwide Building Society เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน พ.ค.48 ขยายตัว
ต่ำสุดในรอบเกือบ 9 ปี นับเป็นอีกสัญญาณที่แสดงว่าสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยอังกฤษซึ่งขยายตัวในอัตราสูงมาเป็น
ระยะเวลานานได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยราคาบ้านหลังปรับฤดูกาลในเดือน พ.ค.48 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่
อัตราการขยายตัวต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 7 ในเดือนก่อนหน้า และขยายตัวอยู่ในระดับ
เลข 2 หลักเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.39 ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 48
ราคาบ้านขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 1.7 สำหรับราคา
บ้านเฉลี่ยในเดือน พ.ค.48 อยู่ที่หลังละ 157,272 ปอนด์ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ ธ.กลางอังกฤษ มีสัญญาณ
ที่แสดงว่าตลาดที่อยู่อาศัยอังกฤษอาจจะฟื้นตัวขึ้น เนื่องจากข้อมูลการอนุมัติเงินกู้จำนอง ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดอัตราการ
เติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในอนาคต ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเกาหลีใต้จะชะลอลงในปีนี้ รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 2 มิ.ย 48 รมว.การค้า อุตสาหกรรมและพลังงานของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในปีนี้เงินลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) ของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ระดับ 12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ชะลอลงจากปีก่อนที่เคยทำสถิติสูงสุดถึง 12.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.แต่ยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่
เป็นการลงทุนในภาคเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามทางการเกาหลีใต้เห็นว่าการลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ถือเป็นการชะลอ
ตัวของ FDI หากเกาหลีใต้สามารถที่จะรักษาระดับของ FDI ให้อยู่ในระดับนี้ต่อไป สำหรับในไตรมาสแรกปีนี้มี
แผนที่จะลงทุนใน FDI แล้วทั้งสิ้น 3.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.4 และที่
ผ่านมาเมื่อ 6 ปีที่แล้วถึงปี 47 FDI ของเกาหลีใต้สูงถึง 79 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. มากกว่าในช่วง 35 ปีก่อน
ถึง 3 เท่าซึ่งเคยมี FDI เพียงแค่ 25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก IBM
เห็นว่าเกาหลีใต้เผชิญกับการแข่งขันอย่างมาก แต่การจำกัดเงินลงทุนในรูปเงินดอลลาร์สรอ.จากประเทศเกิดใหม่
อาทิ จีน บราซิล อินเดียและรัสเซีย อาจเป็นความเสี่ยงต่อเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามรมว.การค้าและอุตสาหกรรม
ของเกาหลีใต้เห็นว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนจึง
ไม่เป็นที่วิตกมากนักรวมทั้งการที่เกาหลีใต้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงจึงคาดว่าจะสามารถคงระดับ
ของ FDI ให้อยู่ในระดับนี้ต่อไปได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 มิ.ย. 48 2 มิ.ย .48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.681 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.4866/40.7666 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.34375 — 2.35 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 672.81/14.15 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,050/8,150 8,000/8,100 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 47.42 48.39 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.14*/18.19** 22.14*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 17 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ