ภาพรวมอุตสาหกรรม
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับภาคอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 2,893 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง(อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย38.06บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน
เม.ย.—มิ.ย.49)
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในบางส่วนของภาคอุตสาหกรรมและทำให้ความได้
เปรียบด้านการแข่งขันของไทยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกันโดยเฉพาะจีน ผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุด
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 477.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
และ กลุ่มประเทศในอาเซียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
ของไทยสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว
กันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 136.3ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
129.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ10.26 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q2/2549 เทียบกับ Q2/2549 เทียบกับ
2547 2548 Q1/2548 Q2/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q1/2549 (ร้อยละ) Q2/2548(ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 521.9 111.7 117 128.9 129 0.08 10.26
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 466.1 539.3 123.9 129.9 130.4 136.3 4.52 4.93
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 25.8 22.7 5 6.4 4.8 4.2 -12.5 -34.38
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 30.9 7.5 8.3 6.5 7.2 10.77 -13.25
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 22.9 5.6 5.5 5.1 4.6 -9.8 -16.36
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 43.5 10.2 9.9 8.3 13.5 62.65 36.36
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 51.5 10.6 11.7 10.8 11.8 9.26 0.85
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 84.5 19.1 21.8 24.9 24.7 -0.8 13.3
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 554.1 128.8 140.9 147.3 146.6 -0.48 4.05
รวมทั้งสิ้น 1,547.80 1,871.30 422.4 451.4 467 477.9 2.33 5.87
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q2/2549 เทียบกับ Q2/2548เทียบกับ
2547 2548 Q1/2548 Q2/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q1/2549 (ร้อยละ) Q2/2548(ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 80.5 79.7 21.6 20.1 22.8 21.3 -6.58 5.97
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 668.9 742.5 176.8 187.3 195.4 197.3 0.97 5.34
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,174.00 1,224.00 300.6 297 329.8 335.3 1.67 12.9
รวมทั้งสิ้น 1,923.40 2,046.20 492.7 510.7 548 553.9 1.08 8.46
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 553.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.58 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 5.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตของไทยได้ทำการปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
โดยทำการแก้ปัญหาคอขวดในด้านการผลิตเพิ่มเติม ส่งผลให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิด
การแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูงต่อยอดการส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping หรือ การตัดสิทธ์จี
เอสพี
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อ
เปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง และค่าเงินบาทที่แข็งตัวยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง จึงควร
มีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น เช่น การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือ การพัฒนาช่องทางการขนส่ง
ใหม่ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลา และต้นทุนค่าขนส่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 พบว่าดุลการค้าของประเทศไทยมีการขาดดุลสำหรับภาคอุตสาหกรรมนี้อยู่ประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 2,893 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยมีการขาดดุลอย่างต่อเนื่อง(อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย38.06บาท/$ คำนวณจากอัตราเฉลี่ยประจำเดือน
เม.ย.—มิ.ย.49)
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในบางส่วนของภาคอุตสาหกรรมและทำให้ความได้
เปรียบด้านการแข่งขันของไทยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกันโดยเฉพาะจีน ผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับ
ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุด
การตลาด
การส่งออก
ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 477.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
และ กลุ่มประเทศในอาเซียน ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของกลุ่มประเทศหลักที่ไทยส่งออกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
ของไทยสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2549 ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อและการส่งออกของ บางกลุ่มผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียว
กันของปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ แผ่นฟิมล์ฟอยล์และแถบ มีมูลค่าการส่งออก 136.3ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รองลงมาได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก มีมูลค่าส่งออก
129.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.08 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ10.26 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออก (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q2/2549 เทียบกับ Q2/2549 เทียบกับ
2547 2548 Q1/2548 Q2/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q1/2549 (ร้อยละ) Q2/2548(ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 521.9 111.7 117 128.9 129 0.08 10.26
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ 466.1 539.3 123.9 129.9 130.4 136.3 4.52 4.93
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบฯ 25.8 22.7 5 6.4 4.8 4.2 -12.5 -34.38
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 30.9 7.5 8.3 6.5 7.2 10.77 -13.25
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 22.9 5.6 5.5 5.1 4.6 -9.8 -16.36
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 43.5 10.2 9.9 8.3 13.5 62.65 36.36
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 51.5 10.6 11.7 10.8 11.8 9.26 0.85
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 84.5 19.1 21.8 24.9 24.7 -0.8 13.3
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 554.1 128.8 140.9 147.3 146.6 -0.48 4.05
รวมทั้งสิ้น 1,547.80 1,871.30 422.4 451.4 467 477.9 2.33 5.87
ประเภทผลิตภัณฑ์ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) Q2/2549 เทียบกับ Q2/2548เทียบกับ
2547 2548 Q1/2548 Q2/2548 Q1/2549 Q2/2549 Q1/2549 (ร้อยละ) Q2/2548(ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 80.5 79.7 21.6 20.1 22.8 21.3 -6.58 5.97
แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก 668.9 742.5 176.8 187.3 195.4 197.3 0.97 5.34
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,174.00 1,224.00 300.6 297 329.8 335.3 1.67 12.9
รวมทั้งสิ้น 1,923.40 2,046.20 492.7 510.7 548 553.9 1.08 8.46
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
การนำเข้า
ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 553.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และ
กลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับแผ่นฟิมล์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและมีมูลค่าการนำ
เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.58 เมื่อเทียบกับไตร
มาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 5.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้
ประกอบการต้องพยายามลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตของไทยได้ทำการปรับปรุงกระบวนการจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
โดยทำการแก้ปัญหาคอขวดในด้านการผลิตเพิ่มเติม ส่งผลให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น นอกจากนี้การเปิดเขตเสรีทางการค้ายังส่งผลให้เกิด
การแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยในการส่งออกยังคงมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบสูงต่อยอดการส่งออก เช่น มาตรการ Anti-Dumping หรือ การตัดสิทธ์จี
เอสพี
ค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียความได้เปรียบด้านการแข่งขันเมื่อ
เปรียบเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน ค่าระวาง และค่าเงินบาทที่แข็งตัวยังคงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง จึงควร
มีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น เช่น การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ หรือ การพัฒนาช่องทางการขนส่ง
ใหม่ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลา และต้นทุนค่าขนส่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-