ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมเสนอ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยต่อ ก.คลัง นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย
และคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเสนอ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ไปยัง ก.คลัง ต่อจาก พ.ร.บ.
สถาบันการเงิน โดยมีสาระสำคัญ 2 ประเด็นหลักคือ การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. และการตั้งประธานคณะกรรมการ ธปท.เพื่อ
แยกการเมืองออกจาก ธปท. และนำไปสู่การตัดสินใจออกกฎหมายของ ธปท.ที่ง่ายและมีความเป็นอิสระมากขึ้น รวมทั้งจะมีการแยกตัวผู้ดำรง
ตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. และประธานคณะกรรมการ ธปท.เป็นคนละคน ต่างจากปัจจุบันทั้ง 2 ตำแหน่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยประธาน
คณะกรรมการ ธปท.จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นเอกชน ส่วนกรรมการรวม 12 คน มาจากรัฐบาลและเอกชนฝ่ายละครึ่งเพื่อคานอำนาจและลงโทษ
ผู้ว่าการ ธปท.ในกรณีดำเนินนโยบายผิดพลาด นอกจากนี้ กฎหมายกำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ไม่เกิน 5 ปี และไม่เกิน 2
วาระติดต่อกัน รวมถึงอายุสูงสุดต้องไม่เกิน 65 ปี ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ ธปท.มีอำนาจถอดถอนผู้ว่าการ ธปท.ออกจากตำแหน่งได้ ซึ่ง
กำลังพิจารณาว่าจะต้องใช้คะแนนโหวต 2 ใน 3 หรือไม่ (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
2. ธปท.เชื่อมั่นระบบการทำบัญชีสากลไอเอเอส 39 จะไม่กระทบภาพรวมสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แหล่งข่าวจาก
สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการบังคับใช้มาตรการพิเศษเกี่ยวกับนิยามของเอ็นพีแอลและวิธีการรายงานเอ็นพีแอลของ ธพ.
ร่วมกับการประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่บังคับให้ ธพ.กันสำรองหนี้ในสัดส่วน 100% ของมูลหนี้ หลังหักราคาประเมินหลักประกัน
ที่คำนวณจากราคาปัจจุบันลบด้วยส่วนลด จากเดิมที่มีการตั้งสำรองตามชั้นหนี้โดยใช้ราคาประเมินมาหักลบกับมูลหนี้ทั้งหมดก่อน ซึ่งเมื่อมีการ
ประกาศใช้ควบคู่กันจะทำให้ยอดสุทธิในการรายงานเอ็นพีแอลต่ำกว่าปัจจุบันเป็นจำนวนมาก และทำให้ตัวเลขสุทธิเอ็นพีแอลทั้งระบบลดลงอย่าง
รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อต่อยอดเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นจริงในระบบให้ลดลง ด้านนายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า อาจเกิดผลกระทบให้ ธพ.บางแห่งลดการปล่อยสินเชื่อลง ในช่วงแรกที่ ธพ.ยังไม่เข้าใจ
การใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ เนื่องจาก ธพ.อาจมีการเผื่อเงินกันสำรองหนี้เพิ่มขึ้น และระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง
ภาระการกันสำรองจากสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ แต่ในระยะยาวเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวได้ดีเช่นเดิม
หรือมากกว่าเดิม เนื่องจากมาตรฐานบัญชีใหม่อาจทำให้การกันสำรองหนี้เพิ่มหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพหนี้ และธนาคารยังสามารถนำกระแส
เงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการคิดการกันสำรองได้ จากในปัจจุบันใช้เฉพาะหลักประกันมาเป็นตัวคำนวณ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. สถิติการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือน ต.ค.49 ลดลง 13.88% เทียบต่อปี นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรม
พัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนธุรกิจทั่วราชอาณาจักรในช่วงเดือน ต.ค.49 ว่า มีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจัดตั้งใหม่
จำนวน 3,536 ราย รวมเงินทุนจดทะเบียน 8,965.50 ล.บาท ลดลง 570 รายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 13.88%
โดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่วนยอดการขอจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจมีจำนวน 1,434 ราย รวม
เงินทุนจดทะเบียน 5,485.74 ล.บาท ลดลง 2.58% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกสูงสุดได้แก่ ธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างอาคาร สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนมี 1,281 ราย เงินทุนที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้น 22,324.14 ล.บาท โดยหมวดธุรกิจที่
จดทะเบียนเพิ่มทุนสูงสุดคือ ขายส่งขายปลีก (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้และปีหน้า รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 21 พ.ย.49 นสพ. Financial Times Deutschland ของเยอรมนี รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะ
ปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้เป็นร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.0 รวมถึงจะปรับเพิ่มพยากรณ์สำหรับปี 50 เป็น
ร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.3 ส่วนการขาดดุล งปม.ปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 — 2.2 ของจีดีพี และจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ
1.6 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 24.8 เทียบต่อปี ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 เมื่อเทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 22 พ.ย.49 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 614.7 พัน ล.เยน
(5.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 24.8 เทียบต่อปี (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเกินดุล
จำนวน 760.0 พัน ล.เยน และหากเทียบต่อเดือน เกินดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 648.6 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 48.1 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลลดลงเมื่อเทียบต่อปีเนื่องจากส่งออกจำนวน 6.5943 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11.6 ขณะที่นำ
เข้าจำนวน 5.9796 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.4 อนึ่ง ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ.จำนวน 1.522 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.5 ขณะที่ส่งออกไปจีนจำนวน 983.8 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
3. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของอังกฤษได้รับประโยชน์จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
21 พ.ย. 49 ผลการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตพบว่า อุปสงค์ในสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบมากกว่า
ทศวรรษ ทำให้ยอดคำสั่งซื้อฟื้นตัวจากที่ตกต่ำเมื่อเดือนที่แล้ว ภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงใดๆนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 48 ขณะที่นักเก็งกำไรต่างคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ทั้งนี้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือนนี้
ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ +3 เป็นครั้งแรกที่คำสั่งซื้อสินค้าเป็นบวกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 39 และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 38 ทั้งนี้การเพิ่มขึ้น
อย่างมากของอุปสงค์ในสินค้าจากต่างแดนส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าสุทธิฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ -6 เพิ่มขึ้นจากระดับ -20 ในเดือน ต.ค. ซึ่งนัก
วิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ -15 โดยเห็นได้จากสต็อกสินค้าสำเร็จรูปของผู้ประกอบการลดลงอย่างน่าประหลาดใจ และอยู่
ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 31 ทั้งนี้นาย Ian McCafferty หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ CBI กล่าวว่า ธุรกิจหลายแห่งต่างพึงพอใจที่คำสั่ง
ซื้อสินค้าจากต่างประเทศในเดือนนี้เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อสุทธิกลับคืนสู่ระดับที่ขายในช่วงฤดูร้อนอีกครั้ง (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือน ก.ย.49 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 21 พ.ย.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.2 ในเดือน
ต.ค.49 จากเดือน ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดในการคำนวณดัชนี
ราคาผู้บริโภคคือร้อยละ 23 มีราคาสูงขึ้นจากสภาพอากาศในภูมิภาคที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เช่นเดียวกับราคาค่าโดยสารรถบัส
และรถไฟที่สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ในขณะที่ราคารถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงมีส่วนช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นตามราคาอาหารและ
ค่าโดยสาร นอกจากนี้ดอลลาร์สิงคโปร์ที่มีค่าสูงขึ้นร้อยละ 7 ในปี 49 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ก็มีส่วนช่วยให้อัตราเงินเฟ้อไม่สูงขึ้นมาก
เช่นเดียวกัน โดย ธ.กลางสิงคโปร์ได้ปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
และบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทั้งนี้จากรายงานเมื่อวันที่ 20 พ.ย.49 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ
5.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงชะลอตัวต่อไปจากผลกระทบของการส่งออกที่ชะลอตัวลงตามภาวะ
เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ. ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของสิงคโปร์ สนง.สถิติมีกำหนดจะรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างเป็นทางการในวันที่
23 พ.ย.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 49 21 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.592 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4068/36.7041 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 724.64/17.79 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.87 55.82 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมเสนอ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยต่อ ก.คลัง นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกฎหมาย
และคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมเสนอ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ไปยัง ก.คลัง ต่อจาก พ.ร.บ.
สถาบันการเงิน โดยมีสาระสำคัญ 2 ประเด็นหลักคือ การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. และการตั้งประธานคณะกรรมการ ธปท.เพื่อ
แยกการเมืองออกจาก ธปท. และนำไปสู่การตัดสินใจออกกฎหมายของ ธปท.ที่ง่ายและมีความเป็นอิสระมากขึ้น รวมทั้งจะมีการแยกตัวผู้ดำรง
ตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. และประธานคณะกรรมการ ธปท.เป็นคนละคน ต่างจากปัจจุบันทั้ง 2 ตำแหน่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยประธาน
คณะกรรมการ ธปท.จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นเอกชน ส่วนกรรมการรวม 12 คน มาจากรัฐบาลและเอกชนฝ่ายละครึ่งเพื่อคานอำนาจและลงโทษ
ผู้ว่าการ ธปท.ในกรณีดำเนินนโยบายผิดพลาด นอกจากนี้ กฎหมายกำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.ไม่เกิน 5 ปี และไม่เกิน 2
วาระติดต่อกัน รวมถึงอายุสูงสุดต้องไม่เกิน 65 ปี ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ ธปท.มีอำนาจถอดถอนผู้ว่าการ ธปท.ออกจากตำแหน่งได้ ซึ่ง
กำลังพิจารณาว่าจะต้องใช้คะแนนโหวต 2 ใน 3 หรือไม่ (ไทยโพสต์, ข่าวสด)
2. ธปท.เชื่อมั่นระบบการทำบัญชีสากลไอเอเอส 39 จะไม่กระทบภาพรวมสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แหล่งข่าวจาก
สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธปท.จะมีการบังคับใช้มาตรการพิเศษเกี่ยวกับนิยามของเอ็นพีแอลและวิธีการรายงานเอ็นพีแอลของ ธพ.
ร่วมกับการประกาศใช้เกณฑ์มาตรฐานบัญชี IAS 39 ที่บังคับให้ ธพ.กันสำรองหนี้ในสัดส่วน 100% ของมูลหนี้ หลังหักราคาประเมินหลักประกัน
ที่คำนวณจากราคาปัจจุบันลบด้วยส่วนลด จากเดิมที่มีการตั้งสำรองตามชั้นหนี้โดยใช้ราคาประเมินมาหักลบกับมูลหนี้ทั้งหมดก่อน ซึ่งเมื่อมีการ
ประกาศใช้ควบคู่กันจะทำให้ยอดสุทธิในการรายงานเอ็นพีแอลต่ำกว่าปัจจุบันเป็นจำนวนมาก และทำให้ตัวเลขสุทธิเอ็นพีแอลทั้งระบบลดลงอย่าง
รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จะไม่ส่งผลต่อต่อยอดเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นจริงในระบบให้ลดลง ด้านนายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า อาจเกิดผลกระทบให้ ธพ.บางแห่งลดการปล่อยสินเชื่อลง ในช่วงแรกที่ ธพ.ยังไม่เข้าใจ
การใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ เนื่องจาก ธพ.อาจมีการเผื่อเงินกันสำรองหนี้เพิ่มขึ้น และระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง
ภาระการกันสำรองจากสินเชื่อที่ไม่มีคุณภาพ แต่ในระยะยาวเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อจะกลับมาขยายตัวได้ดีเช่นเดิม
หรือมากกว่าเดิม เนื่องจากมาตรฐานบัญชีใหม่อาจทำให้การกันสำรองหนี้เพิ่มหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพหนี้ และธนาคารยังสามารถนำกระแส
เงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการคิดการกันสำรองได้ จากในปัจจุบันใช้เฉพาะหลักประกันมาเป็นตัวคำนวณ (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. สถิติการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือน ต.ค.49 ลดลง 13.88% เทียบต่อปี นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรม
พัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนธุรกิจทั่วราชอาณาจักรในช่วงเดือน ต.ค.49 ว่า มีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจัดตั้งใหม่
จำนวน 3,536 ราย รวมเงินทุนจดทะเบียน 8,965.50 ล.บาท ลดลง 570 รายเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 13.88%
โดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่วนยอดการขอจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจมีจำนวน 1,434 ราย รวม
เงินทุนจดทะเบียน 5,485.74 ล.บาท ลดลง 2.58% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกสูงสุดได้แก่ ธุรกิจ
รับเหมาก่อสร้างอาคาร สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนมี 1,281 ราย เงินทุนที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้น 22,324.14 ล.บาท โดยหมวดธุรกิจที่
จดทะเบียนเพิ่มทุนสูงสุดคือ ขายส่งขายปลีก (โลกวันนี้, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้และปีหน้า รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 21 พ.ย.49 นสพ. Financial Times Deutschland ของเยอรมนี รายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จะ
ปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้เป็นร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.0 รวมถึงจะปรับเพิ่มพยากรณ์สำหรับปี 50 เป็น
ร้อยละ 1.5 จากร้อยละ 1.3 ส่วนการขาดดุล งปม.ปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.1 — 2.2 ของจีดีพี และจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ
1.6 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 24.8 เทียบต่อปี ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 เมื่อเทียบต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 22 พ.ย.49 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.49 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 614.7 พัน ล.เยน
(5.22 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 24.8 เทียบต่อปี (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเกินดุล
จำนวน 760.0 พัน ล.เยน และหากเทียบต่อเดือน เกินดุลเพิ่มขึ้นจำนวน 648.6 พัน ล.เยน หรือคิดเป็นร้อยละ 48.1 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) ทั้งนี้ สาเหตุที่ญี่ปุ่นเกินดุลลดลงเมื่อเทียบต่อปีเนื่องจากส่งออกจำนวน 6.5943 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 11.6 ขณะที่นำ
เข้าจำนวน 5.9796 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.4 อนึ่ง ญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศ สรอ.จำนวน 1.522 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.5 ขณะที่ส่งออกไปจีนจำนวน 983.8 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์)
3. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของอังกฤษได้รับประโยชน์จากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
21 พ.ย. 49 ผลการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตพบว่า อุปสงค์ในสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบมากกว่า
ทศวรรษ ทำให้ยอดคำสั่งซื้อฟื้นตัวจากที่ตกต่ำเมื่อเดือนที่แล้ว ภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงใดๆนับ
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 48 ขณะที่นักเก็งกำไรต่างคาดการณ์ว่าจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ทั้งนี้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือนนี้
ฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ +3 เป็นครั้งแรกที่คำสั่งซื้อสินค้าเป็นบวกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 39 และอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 38 ทั้งนี้การเพิ่มขึ้น
อย่างมากของอุปสงค์ในสินค้าจากต่างแดนส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อสินค้าสุทธิฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ -6 เพิ่มขึ้นจากระดับ -20 ในเดือน ต.ค. ซึ่งนัก
วิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะฟื้นตัวอยู่ที่ระดับ -15 โดยเห็นได้จากสต็อกสินค้าสำเร็จรูปของผู้ประกอบการลดลงอย่างน่าประหลาดใจ และอยู่
ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 31 ทั้งนี้นาย Ian McCafferty หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ CBI กล่าวว่า ธุรกิจหลายแห่งต่างพึงพอใจที่คำสั่ง
ซื้อสินค้าจากต่างประเทศในเดือนนี้เพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อสุทธิกลับคืนสู่ระดับที่ขายในช่วงฤดูร้อนอีกครั้ง (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ต.ค.49 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือน ก.ย.49 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 21 พ.ย.49 ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.2 ในเดือน
ต.ค.49 จากเดือน ก.ย.49 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาอาหารซึ่งมีสัดส่วนสูงสุดในการคำนวณดัชนี
ราคาผู้บริโภคคือร้อยละ 23 มีราคาสูงขึ้นจากสภาพอากาศในภูมิภาคที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง เช่นเดียวกับราคาค่าโดยสารรถบัส
และรถไฟที่สูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ในขณะที่ราคารถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงมีส่วนช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นตามราคาอาหารและ
ค่าโดยสาร นอกจากนี้ดอลลาร์สิงคโปร์ที่มีค่าสูงขึ้นร้อยละ 7 ในปี 49 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ก็มีส่วนช่วยให้อัตราเงินเฟ้อไม่สูงขึ้นมาก
เช่นเดียวกัน โดย ธ.กลางสิงคโปร์ได้ปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
และบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทั้งนี้จากรายงานเมื่อวันที่ 20 พ.ย.49 ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ
5.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ และคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงชะลอตัวต่อไปจากผลกระทบของการส่งออกที่ชะลอตัวลงตามภาวะ
เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สรอ. ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของสิงคโปร์ สนง.สถิติมีกำหนดจะรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างเป็นทางการในวันที่
23 พ.ย.49 เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22 พ.ย. 49 21 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.592 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.4068/36.7041 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 724.64/17.79 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.87 55.82 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--