ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ระดับ 45.2 ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงินในเดือน ม.ค.49 ดัชนี
ความเชื่อมั่นในทุกอุตสาหกรรมยกเว้นภาคบริการและขนส่งปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่
ระดับ 45.9 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจในระยะ 3 เดือน
ข้างหน้าก็ปรับลดลงมาอยู่ที่ 53.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ 53.4 ทั้งนี้ ในขณะนี้ ธปท.ยังคงประมาณการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 4.75-5.75 ยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน เพราะปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยที่ใส่ไว้ในการ
ประมาณการอยู่แล้ว นอกจากนี้ ในด้านเสถียรภาพดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเดือน ม.ค.เกินดุล 504 ล้านดอลลาร์
สรอ. เป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยเป็นการเกินดุลของภาคบริการและบริจาคเกินดุล 892 ล้านดอลลาร์
สรอ. ในขณะที่ดุลการค้ายังคงขาดดุล 388 ล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าการขยายตัวของการส่งออกจะเพิ่มขึ้นในเดือนนี้
ที่ร้อยละ 14.5 และการนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่าการนำเข้ายังสูงกว่า
ส่งออกเล็กน้อย (มติชน, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
2. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 เทียบต่อปี ผอ.สำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 48 ซึ่งครอบคลุม
อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 152.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 จาก
ช่วงเดียวกันของปี 47 ที่อยู่ที่ระดับ 147.43 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
ยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์
และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาส 4 ปี 48 อยู่ที่ระดับ 68.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.03 จากช่วงเดียวกันของปี 47 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 68.89 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์ (สยามรัฐ)
3. ครม.เห็นชอบให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรออกพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 8,852 ล้านบาท รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร ร่วมกับ ก.คลัง และ
ก.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 8,852 ล้านบาท ในนามของกองทุนฟื้นฟูฯ ภายใน 90 วัน
โดยการค้ำประกันของ ก.คลัง เพื่อนำไปใช้ในการจัดการหนี้ และฟื้นฟูอาชีพสมาชิก เบื้องต้นหากมีความล่าช้าในการออก
พันธบัตรรัฐบาล และกองทุนมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการหนี้ของเกษตรกร รัฐบาลพร้อมจะจัดหางบประมาณดำเนิน
การดังกล่าวเป็นการเฉพาะต่อไป (เดลินิวส์)
4. ม.หอการค้าไทยประเมินความไม่แน่นอนทางการเมือง 3 สถานการณ์ ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลประกาศยุบสภาตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ประเมินเหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองไว้ 3 สถานการณ์ คือ 1) กรณีเหตุการณ์รุนแรงสุด ไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 เม.ย. และมีการชุมนุมยืดเยื้อ จะกระทบโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ยืดเยื้อออกไปไม่มีกำหนด จะทำให้อัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.5-4.0 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4.0-4.5 2) กรณีที่มีการ
เลือกตั้งภายใน 60 วัน และมีรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งสามารถสานต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ได้ โดยจะเริ่มต้นโครงการในต้นปี
50 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.3-4.5 เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทางศูนย์พยากรณ์
ประเมินว่าสถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด และ 3) การจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล โดยมี นรม.พระราชทาน
มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้ง จะส่งผลให้โครงการเมกะโปรเจกต์ยืดระยะเวลาออกไปเป็นกลางปี 50 กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมทั้งการลงทุนก็จะยืดเวลาออกไปเช่นกัน เพื่อรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากรัฐบาลรักษา
การไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาใด ๆ ได้ ซึ่งในกรณีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0 (บ้านเมือง, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนเพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.49 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และความเชื่อมั่นทางธุรกิจ รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 28 ก.พ.49 The European Commission เปิดเผยผลการ
สำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม (The overall economic sentiment indicator) ซึ่งชี้วัดความเชื่อมั่น
ของภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและภาคการค้าปลีก ของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ก.พ.49 ว่า
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 102.7 จากระดับ 101.5 ในเดือนก่อนหน้า เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ
102.5 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer sentiment) ในเดือนเดียวกัน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นที่ระดับ -10
จากระดับ -11 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business climate indicator) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น
เกือบสองเท่าที่ระดับ 0.61 จากระดับ 0.31 ในเดือนก่อนหน้า สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.44 นอกจากนี้
The European Union’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน
ม.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปี
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน
ที่มีความผันผวน ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
2.จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ก.พ.49 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากนูเรมเบอร์ก
เยอรมนี เมื่อ 28 ก.พ.49 สนง.แรงงานกลางของเยอรมนีรายงานจำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน
ก.พ. 49 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 4.695 ล้านคน ลดลงเพียง 5,000 คนจากเดือนก่อน ต่ำกว่า
ที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง 20,000 คน ในขณะที่จำนวนคนว่างงาน
ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น 36,000 คนมีจำนวน 5.048 ล้านคนหรือร้อยละ 12.2 ของจำนวนคนในวัย
ทำงานทั้งหมด ทำให้จำนวนคนว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 5 ล้านคนเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยเป็นผลจากสภาพ
อากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติในปีนี้ทำให้จำนวนคนว่างงานในภาคก่อสร้างและภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ จาก
ปรกติที่จำนวนพนักงานในทั้ง 2 ภาคเศรษฐกิจจะลดลงในช่วงฤดูหนาวจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงานอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดีจำนวนคนว่างงานของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลงในเดือนต่อ ๆ ไปจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว โดยดัชนี
ชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจากผลสำรวจโดย Ifo ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ความสนใจเฝ้าติดตามเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ
สูงสุดในรอบ 14 ปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ปริมาณการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.49 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.49 Confederation of British Industry (CBI) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นผู้ค้าปลีกว่า ร้อยละ 22 รายงานว่าปริมาณการขายสินค้าในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 40
รายงานว่าลดลง ทำให้น้ำหนักความสมดุลอยู่ที่ระดับ —18 เทียบกับ —11 ในเดือน ม.ค.49 และต่ำกว่าที่ผู้ค้าปลีก
คาดการณ์กันไว้เมื่อเดือนก่อนเป็นจำนวน +1 ทั้งนี้ ผู้ค้าปลีกคาดว่ายอดขายปลีกในเดือนหน้าจะยังคงลดลง แต่ดุลยภาพ
จะปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ —5 ด้าน CBI กล่าวว่าภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สาธารณูปโภค และภาษีที่เพิ่มขึ้นทำให้
ผู้บริโภคต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ในขณะที่มีผลสำรวจความคิดเห็นอื่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคใน
เดือน ก.พ.49 ปรับตัวลดลง แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองในแง่ดีว่าฐานะการเงินส่วนตัวปรับตัวดีขึ้น
โดยดัชนีดุลยภาพความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ —4 จาก —3 ในเดือน ม.ค.49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. จะชะลอลงจากเดือน ม.ค. ที่อยู่ในระดับสูงสุดใน
รอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนของรอยเตอร์
คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price Index - CPI) ของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.6
ชะลอ ลงจากร้อยละ 2.8 ในเดือน ม.ค. (ตัวเลขเทียบต่อปี) ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือน
พ.ค. 48 และเมื่อเทียบต่อเดือนคาดว่า CPI จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน
ม.ค และร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค. โดย CPI จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง
ขึ้นรวมทั้งการอ่อนค่าลงเล็กน้อยของเงินวอน ซึ่งมีแนวโน้มว่า ธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 9 มี.ค. หลังจากที่ปรับเพิ่มมาแล้ว 3 ครั้งในรอบ 5 เดือน เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ
ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลข CPI อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 7.30 น.
ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 มี.ค. 49 28 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.309 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1261/39.4076 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.34844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.05/ 19.02 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.24 56.94 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ระดับ 45.2 ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจ
ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจและการเงินในเดือน ม.ค.49 ดัชนี
ความเชื่อมั่นในทุกอุตสาหกรรมยกเว้นภาคบริการและขนส่งปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 45.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่
ระดับ 45.9 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจในระยะ 3 เดือน
ข้างหน้าก็ปรับลดลงมาอยู่ที่ 53.2 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ 53.4 ทั้งนี้ ในขณะนี้ ธปท.ยังคงประมาณการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 4.75-5.75 ยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน เพราะปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยที่ใส่ไว้ในการ
ประมาณการอยู่แล้ว นอกจากนี้ ในด้านเสถียรภาพดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเดือน ม.ค.เกินดุล 504 ล้านดอลลาร์
สรอ. เป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยเป็นการเกินดุลของภาคบริการและบริจาคเกินดุล 892 ล้านดอลลาร์
สรอ. ในขณะที่ดุลการค้ายังคงขาดดุล 388 ล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าการขยายตัวของการส่งออกจะเพิ่มขึ้นในเดือนนี้
ที่ร้อยละ 14.5 และการนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่มูลค่าการนำเข้ายังสูงกว่า
ส่งออกเล็กน้อย (มติชน, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, บ้านเมือง, สยามรัฐ)
2. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 เทียบต่อปี ผอ.สำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 48 ซึ่งครอบคลุม
อุตสาหกรรม 53 กลุ่ม 215 ผลิตภัณฑ์ พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 152.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 จาก
ช่วงเดียวกันของปี 47 ที่อยู่ที่ระดับ 147.43 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต
ยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์
และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาส 4 ปี 48 อยู่ที่ระดับ 68.92 เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.03 จากช่วงเดียวกันของปี 47 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 68.89 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิต
เพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบ
อิเล็กทรอนิกส์ (สยามรัฐ)
3. ครม.เห็นชอบให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรออกพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 8,852 ล้านบาท รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร ร่วมกับ ก.คลัง และ
ก.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลวงเงิน 8,852 ล้านบาท ในนามของกองทุนฟื้นฟูฯ ภายใน 90 วัน
โดยการค้ำประกันของ ก.คลัง เพื่อนำไปใช้ในการจัดการหนี้ และฟื้นฟูอาชีพสมาชิก เบื้องต้นหากมีความล่าช้าในการออก
พันธบัตรรัฐบาล และกองทุนมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการหนี้ของเกษตรกร รัฐบาลพร้อมจะจัดหางบประมาณดำเนิน
การดังกล่าวเป็นการเฉพาะต่อไป (เดลินิวส์)
4. ม.หอการค้าไทยประเมินความไม่แน่นอนทางการเมือง 3 สถานการณ์ ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลประกาศยุบสภาตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ประเมินเหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองไว้ 3 สถานการณ์ คือ 1) กรณีเหตุการณ์รุนแรงสุด ไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง
ในวันที่ 2 เม.ย. และมีการชุมนุมยืดเยื้อ จะกระทบโครงการเมกะโปรเจกต์ที่ยืดเยื้อออกไปไม่มีกำหนด จะทำให้อัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 3.5-4.0 จากเดิมที่คาดการณ์ว่าทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4.0-4.5 2) กรณีที่มีการ
เลือกตั้งภายใน 60 วัน และมีรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งสามารถสานต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ได้ โดยจะเริ่มต้นโครงการในต้นปี
50 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.3-4.5 เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนในโครงการต่าง ๆ ซึ่งทางศูนย์พยากรณ์
ประเมินว่าสถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุด และ 3) การจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล โดยมี นรม.พระราชทาน
มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการเลือกตั้ง จะส่งผลให้โครงการเมกะโปรเจกต์ยืดระยะเวลาออกไปเป็นกลางปี 50 กิจกรรม
ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมทั้งการลงทุนก็จะยืดเวลาออกไปเช่นกัน เพื่อรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ เนื่องจากรัฐบาลรักษา
การไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาใด ๆ ได้ ซึ่งในกรณีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0 (บ้านเมือง, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนเพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.49 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
และความเชื่อมั่นทางธุรกิจ รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 28 ก.พ.49 The European Commission เปิดเผยผลการ
สำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม (The overall economic sentiment indicator) ซึ่งชี้วัดความเชื่อมั่น
ของภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและภาคการค้าปลีก ของ 12 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ก.พ.49 ว่า
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 102.7 จากระดับ 101.5 ในเดือนก่อนหน้า เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ
102.5 เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer sentiment) ในเดือนเดียวกัน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นที่ระดับ -10
จากระดับ -11 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (Business climate indicator) ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น
เกือบสองเท่าที่ระดับ 0.61 จากระดับ 0.31 ในเดือนก่อนหน้า สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.44 นอกจากนี้
The European Union’s statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน
ม.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี โดยสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปี
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน
ที่มีความผันผวน ลดลงร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
2.จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน ก.พ.49 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากนูเรมเบอร์ก
เยอรมนี เมื่อ 28 ก.พ.49 สนง.แรงงานกลางของเยอรมนีรายงานจำนวนคนว่างงานของเยอรมนีในเดือน
ก.พ. 49 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 4.695 ล้านคน ลดลงเพียง 5,000 คนจากเดือนก่อน ต่ำกว่า
ที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง 20,000 คน ในขณะที่จำนวนคนว่างงาน
ก่อนปรับตัวเลขตามฤดูกาลเพิ่มขึ้น 36,000 คนมีจำนวน 5.048 ล้านคนหรือร้อยละ 12.2 ของจำนวนคนในวัย
ทำงานทั้งหมด ทำให้จำนวนคนว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 5 ล้านคนเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยเป็นผลจากสภาพ
อากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติในปีนี้ทำให้จำนวนคนว่างงานในภาคก่อสร้างและภาคเกษตรเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ จาก
ปรกติที่จำนวนพนักงานในทั้ง 2 ภาคเศรษฐกิจจะลดลงในช่วงฤดูหนาวจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงานอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดีจำนวนคนว่างงานของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลงในเดือนต่อ ๆ ไปจากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว โดยดัชนี
ชี้วัดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจากผลสำรวจโดย Ifo ซึ่งนักวิเคราะห์ให้ความสนใจเฝ้าติดตามเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ
สูงสุดในรอบ 14 ปีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ปริมาณการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.49 ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 ก.พ.49 Confederation of British Industry (CBI) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นผู้ค้าปลีกว่า ร้อยละ 22 รายงานว่าปริมาณการขายสินค้าในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 40
รายงานว่าลดลง ทำให้น้ำหนักความสมดุลอยู่ที่ระดับ —18 เทียบกับ —11 ในเดือน ม.ค.49 และต่ำกว่าที่ผู้ค้าปลีก
คาดการณ์กันไว้เมื่อเดือนก่อนเป็นจำนวน +1 ทั้งนี้ ผู้ค้าปลีกคาดว่ายอดขายปลีกในเดือนหน้าจะยังคงลดลง แต่ดุลยภาพ
จะปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ —5 ด้าน CBI กล่าวว่าภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน สาธารณูปโภค และภาษีที่เพิ่มขึ้นทำให้
ผู้บริโภคต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ในขณะที่มีผลสำรวจความคิดเห็นอื่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคใน
เดือน ก.พ.49 ปรับตัวลดลง แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองในแง่ดีว่าฐานะการเงินส่วนตัวปรับตัวดีขึ้น
โดยดัชนีดุลยภาพความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ —4 จาก —3 ในเดือน ม.ค.49 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. จะชะลอลงจากเดือน ม.ค. ที่อยู่ในระดับสูงสุดใน
รอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนของรอยเตอร์
คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price Index - CPI) ของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. จะอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.6
ชะลอ ลงจากร้อยละ 2.8 ในเดือน ม.ค. (ตัวเลขเทียบต่อปี) ที่อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือน
พ.ค. 48 และเมื่อเทียบต่อเดือนคาดว่า CPI จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.5 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน
ม.ค และร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค. โดย CPI จะเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูง
ขึ้นรวมทั้งการอ่อนค่าลงเล็กน้อยของเงินวอน ซึ่งมีแนวโน้มว่า ธ.กลาง สรอ. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง
ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 9 มี.ค. หลังจากที่ปรับเพิ่มมาแล้ว 3 ครั้งในรอบ 5 เดือน เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ
ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลข CPI อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้เวลา 7.30 น.
ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 มี.ค. 49 28 ก.พ. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.309 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.1261/39.4076 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.34844 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.05/ 19.02 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,300/10,400 10,250/10,350 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.24 56.94 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 22 ก.พ. 49 26.44*/24.69* 26.44*/24.69* 19.69/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--