กรุงเทพ--28 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันที่ 28 มิถุนายน 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation : FEALAC) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านพลังงานทดแทน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกัน
เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการณ์น้ำมัน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนำพลังงานทดแทนมาใช้ ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ก็ได้คาดการณ์ไว้ในการแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มในปี 2549 ว่าถ้าสามารถดำเนินการให้มีการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในปี 2549 จะช่วยประหยัดมูลค่าการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ถึง 34,430 ล้านบาทหรือ 895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันมีการนำเข้ามีมูลค่ารวม 774,282 ล้านบาท หรือเกือบ 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
ผลกระทบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแสวงหาผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องพลังงานทดแทนที่ไทยกำลังให้ความสนใจ อาทิ การใช้อ้อยผลิตเอธานอลเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ เช่นจากบราซิล หรืออาร์เจนตินา ซึ่งมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับรถยนต์มากที่สุดในโลก ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับไทยในการพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ในเรื่องพลังงานที่แต่ละประเทศเชี่ยวชาญ รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและนโยบายในการใช้พลังงานทดแทน
การประชุมปฏิบัติการครอบคลุมการบรรยายใน 3 หัวข้อหลัก คือ 1) ผลิตผลที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น การใช้ปาล์มน้ำมันในการผลิตไบโอดีเซล โดยผู้เชี่ยวชาญจากคอสตาริกา 2) เทคโนโลยีในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น เทคโนโลยีการผลิตเอธานอลจากมันสำปะหลังของไทย และ 3) เทคโนโลยียานพาหนะที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เช่น การพัฒนาการผลิตรถยนต์ hybrid car ของญี่ปุ่น
นอกจากนั้น ประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึง คือ นอกเหนือจาก อ้อย กากน้ำตาล มันสำปะหลัง ที่นำมาใช้ผลิตเอธานอลเพื่อใช้ในการผลิตแกสโซฮอล์ และปาล์มน้ำมันที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซลแล้ว ยังมีผลิตผลเกษตรอื่นๆ อีกหลายประเภท ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ เช่น สบู่ดำ ผลิตผลเส้นใย เช่น ฟางข้าว
FEALAC หรือกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียกับลาตินอเมริกาประกอบด้วย 32 ประเทศ จาก 10 ประเทศอาเซียน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน และอีก 2 ประเทศ จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ร่วมกับ 17 ประเทศในลาตินอเมริกาและอเมริกากลาง ทั้งนี้ FEALAC จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาในทุกด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ ฯลฯ โดยประเทศสมาชิกสามารถเสนอโครงการความร่วมมือในด้านที่ตนมีความพร้อม และให้ประเทศสมาชิกผู้สนใจสมัครเข้าร่วมได้
ไทยได้ดำเนินโครงการในกรอบ FEALAC ไปแล้ว 3 โครงการได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือด้านยาเสพติดสำหรับประเทศในกลุ่ม FEALAC (Workshop on Drugs Control Cooperation for FEALAC Countries) เมื่อวันที่ 17-28 มกราคม 2548 โครงการ Poverty Reduction เมื่อวันที่ 4-29 กรกฎาคม 2548 และโครงการบัวแก้วสัมพันธ์-ลาตินอเมริกา ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
วันที่ 28 มิถุนายน 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา (Forum for East Asia-Latin America Cooperation : FEALAC) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านพลังงานทดแทน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกัน
เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติการณ์น้ำมัน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนำพลังงานทดแทนมาใช้ ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ก็ได้คาดการณ์ไว้ในการแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มในปี 2549 ว่าถ้าสามารถดำเนินการให้มีการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในปี 2549 จะช่วยประหยัดมูลค่าการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ถึง 34,430 ล้านบาทหรือ 895 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันมีการนำเข้ามีมูลค่ารวม 774,282 ล้านบาท หรือเกือบ 20 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
ผลกระทบดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการแสวงหาผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศต่างๆ ที่มีประสบการณ์ในเรื่องพลังงานทดแทนที่ไทยกำลังให้ความสนใจ อาทิ การใช้อ้อยผลิตเอธานอลเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ เช่นจากบราซิล หรืออาร์เจนตินา ซึ่งมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับรถยนต์มากที่สุดในโลก ซึ่งล้วนเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับไทยในการพัฒนาพลังงานทดแทนในอนาคต
การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งสองภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ในเรื่องพลังงานที่แต่ละประเทศเชี่ยวชาญ รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและนโยบายในการใช้พลังงานทดแทน
การประชุมปฏิบัติการครอบคลุมการบรรยายใน 3 หัวข้อหลัก คือ 1) ผลิตผลที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น การใช้ปาล์มน้ำมันในการผลิตไบโอดีเซล โดยผู้เชี่ยวชาญจากคอสตาริกา 2) เทคโนโลยีในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น เทคโนโลยีการผลิตเอธานอลจากมันสำปะหลังของไทย และ 3) เทคโนโลยียานพาหนะที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ เช่น การพัฒนาการผลิตรถยนต์ hybrid car ของญี่ปุ่น
นอกจากนั้น ประเด็นที่ได้รับการกล่าวถึง คือ นอกเหนือจาก อ้อย กากน้ำตาล มันสำปะหลัง ที่นำมาใช้ผลิตเอธานอลเพื่อใช้ในการผลิตแกสโซฮอล์ และปาล์มน้ำมันที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซลแล้ว ยังมีผลิตผลเกษตรอื่นๆ อีกหลายประเภท ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ เช่น สบู่ดำ ผลิตผลเส้นใย เช่น ฟางข้าว
FEALAC หรือกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียกับลาตินอเมริกาประกอบด้วย 32 ประเทศ จาก 10 ประเทศอาเซียน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน และอีก 2 ประเทศ จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ร่วมกับ 17 ประเทศในลาตินอเมริกาและอเมริกากลาง ทั้งนี้ FEALAC จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกาในทุกด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ ฯลฯ โดยประเทศสมาชิกสามารถเสนอโครงการความร่วมมือในด้านที่ตนมีความพร้อม และให้ประเทศสมาชิกผู้สนใจสมัครเข้าร่วมได้
ไทยได้ดำเนินโครงการในกรอบ FEALAC ไปแล้ว 3 โครงการได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือด้านยาเสพติดสำหรับประเทศในกลุ่ม FEALAC (Workshop on Drugs Control Cooperation for FEALAC Countries) เมื่อวันที่ 17-28 มกราคม 2548 โครงการ Poverty Reduction เมื่อวันที่ 4-29 กรกฎาคม 2548 และโครงการบัวแก้วสัมพันธ์-ลาตินอเมริกา ระหว่างวันที่ 1-10 สิงหาคม 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-