กรุงเทพ--31 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นาย Ahmed Aboul Gheit รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ ได้ร่วมกันเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่สอง ที่ประชุมได้หารือกันในหัวข้อต่างๆ หลายเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือสองฝ่าย รวมทั้งพัฒนาการในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศที่สำคัญ
ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไทยและอียิปต์ยังมีศักยภาพสูงที่จะขยายโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างกันในปี ที่แล้ว ปริมาณการค้าสองฝ่ายได้เพิ่มจากปีก่อนถึงร้อยละ 35 และมีมูลค่า 303.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ทั้งสองฝ่ายจะเน้นการขยายธุรกิจในแปดสาขาหลักที่มีศักยภาพ กล่าวคือ สินค้าอาหารกระป๋อง อัญมณี ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องหนัง สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และยังได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งสภาธุรกิจร่วมไทย-อียิปต์ ให้เป็นผลภายใน ปีนี้ เพื่อส่งเสริมการติดต่อระหว่างภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่าย
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองเชื่อมั่นว่า ไทยและอียิปต์ต่างสามารถเกื้อกูลซึ่งกันและกันในฐานะ ที่ต่างก็เป็นประตูสู่ภูมิภาคของตนและภูมิภาคใกล้เคียงได้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับประชาชน ในการนี้ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่ฝ่ายอียิปต์ได้ให้ทุนการศึกษาให้นักเรียนไทยได้มาศึกษาในอียิปต์มาโดยตลอด และหวังว่าฝ่ายอียิปต์จะพิจารณาขยายโอกาสให้นักเรียนไทยได้ศึกษาในสาขาวิชาอื่นๆ ที่กว้างขวางออกไปเพิ่มจากการศึกษาวิชาศาสนาด้วย
ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือในสาขาพลังงาน รวมทั้งการสนับสนุนให้องค์การภาครัฐและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเป็นไปได้ในการมาร่วมลงทุนกับฝ่ายอียิปต์ในการสำรวจและค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ฝ่ายอียิปต์ได้ตอบรับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกด้วยความยินดี โดยเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการต่อต้านโรคระบาดชนิดนี้ นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันที่จะขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะ ในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และที่ประชุมยังเห็นด้วยว่า ไทยและอียิปต์ควรจะทำงานร่วมกัน เพื่อต่อต้านลัทธินิยมความรุนแรงสุดโต่ง และเพื่อส่งเสริมแนวทางสายกลาง
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสำคัญของการขยายเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ ทั้งสอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการติดต่อสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนและวงการธุรกิจ สองฝ่าย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์รับจะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอียิปต์พิจารณาเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และไคโรให้มากขึ้นอีก โดยใช้ประโยชน์จากนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรีของไทย
ดร. กันตธีร์ฯ และรัฐมนตรี Gheit ยังได้หารือกันกันเกี่ยวกับประเด็นอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน เช่น สถานการณ์ล่าสุดในตะวันออกกลาง การปฏิรูปสหประชาชาติ และความร่วมมือภายใต้กรอบ Asia-Middle East Dialogue (AMED) เป็นต้น สำหรับเรื่องผู้สมัครในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของไทยนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์เห็นว่า ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครของไทย เป็นผู้สมัครที่มีฐานเข้มแข็ง ผู้หนึ่ง
หลังจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองได้ลงนามในความตกลงยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการขยายการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่ายต่อไป
ก่อนการประชุมดังกล่าวในช่วงเช้าวันเดียวกัน ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดี Hosni Mubarak แห่งอียิปต์ และได้หารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-อียิปต์ และประเด็นต่างๆ ระดับภูมิภาคและระดับพหุภาคีที่เป็นที่สนใจร่วมกัน กับได้เข้าเยี่ยมคารวะ Sheikh Mohamed Sayed Tantawi, Grand Sheikh of Al-Azhar ผู้นำทางศาสนาอิสลามสูงสุดของอียิปต์ และหารือกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ท่าทีไทยที่สนับสนุนแนวทางมุสลิมสายกลาง และความร่วมมือสองฝ่ายด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เชคตันตาวีได้แจ้งรัฐมนตรีต่างประเทศไทยว่า มหาวิทยาลัยอัลอะซาร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด มีนักศึกษาไทยเข้ามาเรียนประมาณ 2500 คน และยินดีสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ในช่วงค่ำ ดร. กันตธีร์และนางโสภาวรรณ ศุภมงคล กับ ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ ได้ไปเยี่ยมสมาคมนักเรียนไทยในไคโร และพบปะพูดคุยกับนักศึกษาไทยที่มาศึกษาอยู่ในอียิปต์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นาย Ahmed Aboul Gheit รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ ได้ร่วมกันเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อียิปต์ ครั้งที่สอง ที่ประชุมได้หารือกันในหัวข้อต่างๆ หลายเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือสองฝ่าย รวมทั้งพัฒนาการในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศที่สำคัญ
ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไทยและอียิปต์ยังมีศักยภาพสูงที่จะขยายโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างกันในปี ที่แล้ว ปริมาณการค้าสองฝ่ายได้เพิ่มจากปีก่อนถึงร้อยละ 35 และมีมูลค่า 303.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ทั้งสองฝ่ายจะเน้นการขยายธุรกิจในแปดสาขาหลักที่มีศักยภาพ กล่าวคือ สินค้าอาหารกระป๋อง อัญมณี ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องหนัง สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และยังได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งสภาธุรกิจร่วมไทย-อียิปต์ ให้เป็นผลภายใน ปีนี้ เพื่อส่งเสริมการติดต่อระหว่างภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่าย
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองเชื่อมั่นว่า ไทยและอียิปต์ต่างสามารถเกื้อกูลซึ่งกันและกันในฐานะ ที่ต่างก็เป็นประตูสู่ภูมิภาคของตนและภูมิภาคใกล้เคียงได้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับประชาชน ในการนี้ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่ฝ่ายอียิปต์ได้ให้ทุนการศึกษาให้นักเรียนไทยได้มาศึกษาในอียิปต์มาโดยตลอด และหวังว่าฝ่ายอียิปต์จะพิจารณาขยายโอกาสให้นักเรียนไทยได้ศึกษาในสาขาวิชาอื่นๆ ที่กว้างขวางออกไปเพิ่มจากการศึกษาวิชาศาสนาด้วย
ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือในสาขาพลังงาน รวมทั้งการสนับสนุนให้องค์การภาครัฐและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเป็นไปได้ในการมาร่วมลงทุนกับฝ่ายอียิปต์ในการสำรวจและค้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ฝ่ายอียิปต์ได้ตอบรับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกด้วยความยินดี โดยเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการต่อต้านโรคระบาดชนิดนี้ นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันที่จะขยายความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยเฉพาะ ในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และที่ประชุมยังเห็นด้วยว่า ไทยและอียิปต์ควรจะทำงานร่วมกัน เพื่อต่อต้านลัทธินิยมความรุนแรงสุดโต่ง และเพื่อส่งเสริมแนวทางสายกลาง
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสำคัญของการขยายเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ ทั้งสอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการติดต่อสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนและวงการธุรกิจ สองฝ่าย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์รับจะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอียิปต์พิจารณาเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และไคโรให้มากขึ้นอีก โดยใช้ประโยชน์จากนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรีของไทย
ดร. กันตธีร์ฯ และรัฐมนตรี Gheit ยังได้หารือกันกันเกี่ยวกับประเด็นอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน เช่น สถานการณ์ล่าสุดในตะวันออกกลาง การปฏิรูปสหประชาชาติ และความร่วมมือภายใต้กรอบ Asia-Middle East Dialogue (AMED) เป็นต้น สำหรับเรื่องผู้สมัครในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติของไทยนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์เห็นว่า ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครของไทย เป็นผู้สมัครที่มีฐานเข้มแข็ง ผู้หนึ่ง
หลังจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองได้ลงนามในความตกลงยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในการขยายการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจของทั้งสองฝ่ายต่อไป
ก่อนการประชุมดังกล่าวในช่วงเช้าวันเดียวกัน ดร. กันตธีร์ฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดี Hosni Mubarak แห่งอียิปต์ และได้หารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-อียิปต์ และประเด็นต่างๆ ระดับภูมิภาคและระดับพหุภาคีที่เป็นที่สนใจร่วมกัน กับได้เข้าเยี่ยมคารวะ Sheikh Mohamed Sayed Tantawi, Grand Sheikh of Al-Azhar ผู้นำทางศาสนาอิสลามสูงสุดของอียิปต์ และหารือกันเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาเพื่อสันติภาพ ท่าทีไทยที่สนับสนุนแนวทางมุสลิมสายกลาง และความร่วมมือสองฝ่ายด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เชคตันตาวีได้แจ้งรัฐมนตรีต่างประเทศไทยว่า มหาวิทยาลัยอัลอะซาร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด มีนักศึกษาไทยเข้ามาเรียนประมาณ 2500 คน และยินดีสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
ในช่วงค่ำ ดร. กันตธีร์และนางโสภาวรรณ ศุภมงคล กับ ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ ได้ไปเยี่ยมสมาคมนักเรียนไทยในไคโร และพบปะพูดคุยกับนักศึกษาไทยที่มาศึกษาอยู่ในอียิปต์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-