แท็ก
ตลาดหลักทรัพย์
ภาคธุรกิจ
1 ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
ผลประกอบการและสภาพคล่องไตรมาสที่ 1 ปี 2548
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังมีความสามารถในการทำกำไรในเกณฑ์ดี โดยแม้ว่าอัตรากำไรเบื้องต้น (Gross Profit Margin) จะโน้มต่ำลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 22.3 ในไตรมาสแรกของปีนี้จากร้อยละ 26.0 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากต้นทุนขาย (cost of sales) ที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่เมื่อพิจารณาอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit margin) ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.3 สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 10.3 สะท้อนค่าใช้จ่ายด้านอื่นที่ลดลง
ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้มีการสะสมกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 ไตรมาสที่ผ่านมา เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนฯ ส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาเงินทุนจากภายใน รวมทั้งลดภาระหนี้ลง
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนสินทรัพย์ถาวรต่อสินทรัพย์รวมมีอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างช้าในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการขยายตัวของเงินสดขยายตัวดี ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากความไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ทั้งจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงขึ้นและผันผวนมาก รวมถึงราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนฯ มีการดำเนินการอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี หากพิจารณายอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเฉพาะในภาคการผลิต ยังสะท้อนระดับการลงทุนที่ยังทรงตัวในระดับเดียวกันกับไตรมาสก่อน
โครงสร้างทางการเงินและความสามารถชำระหนี้
โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนฯ แสดงความแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่อง โดยสัดส่วนหนี้สิน
ต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ลดลงจาก 1.5 เท่า ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนเป็น 1.2 เท่าในไตรมาสนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตที่ 1.7 เท่า สำหรับระดับความสามารถในการชำระหนี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีต่อดอกเบี้ยจ่าย (Time Interest Earned) เพิ่มขึ้นเป็น 9.1 เท่าของรายได้เทียบกับช่วงก่อนวิกฤตที่ 3.2 เท่า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1 ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
ผลประกอบการและสภาพคล่องไตรมาสที่ 1 ปี 2548
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินยังมีความสามารถในการทำกำไรในเกณฑ์ดี โดยแม้ว่าอัตรากำไรเบื้องต้น (Gross Profit Margin) จะโน้มต่ำลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 22.3 ในไตรมาสแรกของปีนี้จากร้อยละ 26.0 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน เนื่องจากต้นทุนขาย (cost of sales) ที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่เมื่อพิจารณาอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit margin) ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.3 สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 10.3 สะท้อนค่าใช้จ่ายด้านอื่นที่ลดลง
ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้มีการสะสมกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 ไตรมาสที่ผ่านมา เอื้อให้บริษัทจดทะเบียนฯ ส่วนใหญ่สามารถพึ่งพาเงินทุนจากภายใน รวมทั้งลดภาระหนี้ลง
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนสินทรัพย์ถาวรต่อสินทรัพย์รวมมีอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างช้าในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการขยายตัวของเงินสดขยายตัวดี ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากความไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจ ทั้งจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงขึ้นและผันผวนมาก รวมถึงราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนฯ มีการดำเนินการอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ดี หากพิจารณายอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเฉพาะในภาคการผลิต ยังสะท้อนระดับการลงทุนที่ยังทรงตัวในระดับเดียวกันกับไตรมาสก่อน
โครงสร้างทางการเงินและความสามารถชำระหนี้
โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนฯ แสดงความแข็งแกร่งขึ้นต่อเนื่อง โดยสัดส่วนหนี้สิน
ต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ลดลงจาก 1.5 เท่า ในไตรมาสเดียวกันปีก่อนเป็น 1.2 เท่าในไตรมาสนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตที่ 1.7 เท่า สำหรับระดับความสามารถในการชำระหนี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราส่วนกำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีต่อดอกเบี้ยจ่าย (Time Interest Earned) เพิ่มขึ้นเป็น 9.1 เท่าของรายได้เทียบกับช่วงก่อนวิกฤตที่ 3.2 เท่า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--