เมื่อวันที่ 22 - 23 สิงหาคม 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีการต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของเวทีความร่วมมือเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา(Forum of East Asia and Latin America Cooperation - FEALAC[1
]) ณ กรุงบราซิเลีย โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ 33 ประเทศ จากสองภูมิภาคเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
ในโอกาสนี้ นายสวนิตฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยเน้นย้ำความปรารถนาของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคลาตินอเมริกาให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการเชื่อมโยงศักยภาพและจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายผ่านกลไกและคณะทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ FEALAC, ASEAN-MERCOSUR[2
], ASEAN-ANDEAN[3
] และด้านการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งยังได้แสดงเจตนารมณ์ของไทยที่จะร่วมมือกับ FEACLA ในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาด้านพลังงาน เป็นต้น
นอกจากการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของ FEALAC แล้ว นายสวนิตฯ ยังได้ร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAN-MERCOSUR ซึ่งที่ประชุมได้เล็งเห็นศักยภาพของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างกำลังเติบโต สามารถมีบทบาทร่วมกันต่อการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มระหว่างภูมิภาคให้เป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของอุรุกวัย ได้กล่าวเชิญฝ่ายอาเซียนเข้าร่วมประชุมสุดยอด MERCOSUR-ASEAN โดยจะเชิญประธาน Troika ของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมด้วย
อนึ่ง นายสวนิตฯ ยังเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา รายละเอียด ดังนี้
1. การหารือทวิภาคีไทย — ปานามา ฝ่ายไทยได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับลาตินอเมริกา และเอเชีย ผ่านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยปานามาได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันในประเด็นดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้น นายสวนิตฯ ได้เชิญรองประธานาธิบดี และรัฐมนตรีการค้าของปานามาเยือนไทย หลังจากนำคณะนักธุรกิจปานามาเยือนสิงคโปร์ช่วงเดือนตุลาคม 2550
2. การหารือทวิภาคีไทย — คิวบา ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือไทย-คิวบาในทุกระดับ รวมถึงความร่วมมือระหว่างกันในกรอบอื่น ๆ ภายใต้ FEALAC บทบาทของคิวบาในการเป็นประธานกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) บทบาทในประเด็นสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ นายสวนิตฯ ได้เชิญคิวบาเข้าประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-คิวบา ครั้งที่ 3 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และคิวบาได้เชิญทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจไทยเข้าร่วมการประชุมภาคธุรกิจของ NAM ครั้งที่ 2 ที่คิวบาจะเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงฮาวานา ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-
]) ณ กรุงบราซิเลีย โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ 33 ประเทศ จากสองภูมิภาคเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
ในโอกาสนี้ นายสวนิตฯ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมฯ โดยเน้นย้ำความปรารถนาของไทยที่ต้องการจะส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคลาตินอเมริกาให้มีความลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการเชื่อมโยงศักยภาพและจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายผ่านกลไกและคณะทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ FEALAC, ASEAN-MERCOSUR[2
], ASEAN-ANDEAN[3
] และด้านการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งยังได้แสดงเจตนารมณ์ของไทยที่จะร่วมมือกับ FEACLA ในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อาทิ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาด้านพลังงาน เป็นต้น
นอกจากการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของ FEALAC แล้ว นายสวนิตฯ ยังได้ร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEAN-MERCOSUR ซึ่งที่ประชุมได้เล็งเห็นศักยภาพของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างกำลังเติบโต สามารถมีบทบาทร่วมกันต่อการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มระหว่างภูมิภาคให้เป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของอุรุกวัย ได้กล่าวเชิญฝ่ายอาเซียนเข้าร่วมประชุมสุดยอด MERCOSUR-ASEAN โดยจะเชิญประธาน Troika ของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมด้วย
อนึ่ง นายสวนิตฯ ยังเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา รายละเอียด ดังนี้
1. การหารือทวิภาคีไทย — ปานามา ฝ่ายไทยได้เสนอให้ทั้งสองฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับลาตินอเมริกา และเอเชีย ผ่านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยปานามาได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันในประเด็นดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้น นายสวนิตฯ ได้เชิญรองประธานาธิบดี และรัฐมนตรีการค้าของปานามาเยือนไทย หลังจากนำคณะนักธุรกิจปานามาเยือนสิงคโปร์ช่วงเดือนตุลาคม 2550
2. การหารือทวิภาคีไทย — คิวบา ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือไทย-คิวบาในทุกระดับ รวมถึงความร่วมมือระหว่างกันในกรอบอื่น ๆ ภายใต้ FEALAC บทบาทของคิวบาในการเป็นประธานกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) บทบาทในประเด็นสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งนี้ นายสวนิตฯ ได้เชิญคิวบาเข้าประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-คิวบา ครั้งที่ 3 ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และคิวบาได้เชิญทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจไทยเข้าร่วมการประชุมภาคธุรกิจของ NAM ครั้งที่ 2 ที่คิวบาจะเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงฮาวานา ในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-169 E-mail : [email protected]จบ--
-สส-