กรุงเทพ--24 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ปัจจุบัน ประเทศผู้นำเข้าบางประเทศได้กำหนดมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมให้เป็นหนึ่งในอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade — TBT) เพื่อเป็นข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หมายถึงไม่มีคุณภาพ หรือคุณสมบัติด้านความปลอดภัยตามที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ผู้ส่งออกจากต่างประเทศจะไม่สามารถนำสินค้าของตนเข้าไปจำหน่ายในประเทศผู้กำหนดมาตรฐานได้ แม้ว่าจะมีการเจรจาและสามารถทำความตกลงลดภาษีนำเข้าได้เหลือในระดับต่ำเพียงใดก็ตาม
มาตรฐานสินค้าเป็นหนึ่งในอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญในการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย สหรัฐฯใช้ข้อกำหนดและกฎระเบียบทางเทคนิคเดียวกันในการกำหนดมาตราฐานการผลิตทั้งของผู้ผลิตภายในประเทศและจากการนำเข้า ดังนั้น ผู้ผลิตต้องให้ความสนใจที่จะพัฒนาความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ตรงตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของ ตลาดผู้บริโภคในสหรัฐฯ ให้ได้
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะสำหรับสินค้าไทยในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมขีดความสามารถทางการค้าและความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade Capacity Building/ SMEs) โดยเมื่อปี 2549 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการประเมินความสอดคล้องของสหรัฐฯ สองครั้ง ในเดือนมีนาคมและเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานจากสหรัฐฯ มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมระบบมาตรฐานของสหรัฐฯ ตลอดจนลงรายละเอียดในบางสาขาอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก และในสาขาที่ผู้ประกอบการไทย ให้ความสนใจขอรับข้อมูลจากฝ่ายสหรัฐฯ เช่น สินค้าอาหารและเกษตรกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง รวมถึงรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น
การสัมมนาฯ ในปี 2549 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยเข้าใจมาตรฐานสินค้าสหรัฐฯ เพื่อจะได้สามารถผลิตสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมของผู้ประกอบการไทยด้วย
ต่อมากระทรวงการต่างประเทศได้ติดตามผลในเรื่องนี้ โดยได้ดำเนินโครงการย่อยเพื่อส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมอีกในปี 2550 เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ภายใต้โครงการ Trade Capacity Building/ SMEs โดยในปี 2550 นี้ จะเน้นการดำเนินโครงการที่ลงไปในรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้รับข้อมูลองค์ความรู้ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เช่น จะร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจัดการเดินทางให้คณะผู้แทนจากภาครัฐและสถาบันฯ ไปเข้ารับการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับหลักสูตรด้านสิ่งทอของสหรัฐฯ พร้อมทั้งไปศึกษาดูงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสมาคมทางการค้าด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะ SMEs ของไทยนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิตและการดำเนินธุรกิจของตนเอง
นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศยังจะร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันว่า NECTEC จัดสัมมนาเรื่องมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2550 นี้ด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมไปยังสหรัฐฯ ไม่ติดอุปสรรคด้าน TBT
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ปัจจุบัน ประเทศผู้นำเข้าบางประเทศได้กำหนดมาตรฐานสินค้าโดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมให้เป็นหนึ่งในอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade — TBT) เพื่อเป็นข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หมายถึงไม่มีคุณภาพ หรือคุณสมบัติด้านความปลอดภัยตามที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ผู้ส่งออกจากต่างประเทศจะไม่สามารถนำสินค้าของตนเข้าไปจำหน่ายในประเทศผู้กำหนดมาตรฐานได้ แม้ว่าจะมีการเจรจาและสามารถทำความตกลงลดภาษีนำเข้าได้เหลือในระดับต่ำเพียงใดก็ตาม
มาตรฐานสินค้าเป็นหนึ่งในอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญในการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย สหรัฐฯใช้ข้อกำหนดและกฎระเบียบทางเทคนิคเดียวกันในการกำหนดมาตราฐานการผลิตทั้งของผู้ผลิตภายในประเทศและจากการนำเข้า ดังนั้น ผู้ผลิตต้องให้ความสนใจที่จะพัฒนาความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ตรงตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของ ตลาดผู้บริโภคในสหรัฐฯ ให้ได้
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะสำหรับสินค้าไทยในการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ จึงได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมขีดความสามารถทางการค้าและความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Trade Capacity Building/ SMEs) โดยเมื่อปี 2549 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการประเมินความสอดคล้องของสหรัฐฯ สองครั้ง ในเดือนมีนาคมและเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานจากสหรัฐฯ มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพรวมระบบมาตรฐานของสหรัฐฯ ตลอดจนลงรายละเอียดในบางสาขาอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก และในสาขาที่ผู้ประกอบการไทย ให้ความสนใจขอรับข้อมูลจากฝ่ายสหรัฐฯ เช่น สินค้าอาหารและเกษตรกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องสำอาง รวมถึงรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น
การสัมมนาฯ ในปี 2549 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะช่วยให้ผู้ส่งออกไทยเข้าใจมาตรฐานสินค้าสหรัฐฯ เพื่อจะได้สามารถผลิตสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมของผู้ประกอบการไทยด้วย
ต่อมากระทรวงการต่างประเทศได้ติดตามผลในเรื่องนี้ โดยได้ดำเนินโครงการย่อยเพื่อส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมอีกในปี 2550 เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้ประกอบการไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ภายใต้โครงการ Trade Capacity Building/ SMEs โดยในปี 2550 นี้ จะเน้นการดำเนินโครงการที่ลงไปในรายสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้รับข้อมูลองค์ความรู้ในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น เช่น จะร่วมมือกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจัดการเดินทางให้คณะผู้แทนจากภาครัฐและสถาบันฯ ไปเข้ารับการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับหลักสูตรด้านสิ่งทอของสหรัฐฯ พร้อมทั้งไปศึกษาดูงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสมาคมทางการค้าด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะ SMEs ของไทยนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิตและการดำเนินธุรกิจของตนเอง
นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศยังจะร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันว่า NECTEC จัดสัมมนาเรื่องมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2550 นี้ด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมไปยังสหรัฐฯ ไม่ติดอุปสรรคด้าน TBT
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-