ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กนง. ธปท.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 1 วันอีกร้อยละ 0.25 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี)
ระยะ 1 วัน อีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 เหลือร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ให้เศรษฐกิจปรับตัว
และขยายตัวได้โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ โดยมองว่าแม้ที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อครึ่งปีแรกต่ำกว่าที่คาด
เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการใช้จ่ายภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมีอยู่ โดยไตรมาสแรก
เศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาด แม้เดือน เม.ย. และ พ.ค. การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะกระเตื้องบ้าง แต่ยังเปราะบางอยู่
เพราะความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำ ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะส่งผลทางอ้อมช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทด้วย เพราะจะทำให้เอกชน
กู้เงินในประเทศมากขึ้นแทนการไปกู้ต่างประเทศ เนื่องจากต้นทุนถูก ขณะที่ ธพ.จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเพราะได้ผลตอบแทนดีกว่าในตลาดอาร์พี
(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.ออกประกาศชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ รายงานข่าวจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ขณะนี้นักลงทุนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า ธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาด
ต่างประเทศที่สามารถเข้ามาขออนุญาตปิดในตลาดในประเทศได้นั้น มีเพียงธุรกรรมที่ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 16 ก.ค. — 17 ส.ค.เท่านั้น
ทำให้มีธุรกรรมที่เข้ามาขออนุญาตน้อย จึงไม่ส่งผลให้อัตราค่าเงินบาทระหว่างตลาดในประเทศกับต่างประเทศบีบเข้าหากันอย่างที่คาดการณ์ไว้
ธปท.จึงออกประกาศเพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.นั้น ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นธุรกรรมที่ครบกำหนด
ชำระคืนเงินบาทในช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.เท่านั้น แต่เป็นธุรกรรมทุกรายการที่ทำไว้ก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และมียอดคงค้างอยู่
ในปัจจุบัน โดยมีธุรกรรมการลงทุนในประเทศไทยรองรับตลอดระยะเวลา จะครบกำหนดคืนเมื่อไรก็ได้ สามารถนำเอกสารหลักฐานมา
ขออนุญาต ธปท.ไว้ก่อน และนำไปปิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดในประเทศเมื่อครบกำหนดชำระคืนได้ หากไม่มาขออนุญาตในช่วงที่กำหนด
และเลยกำหนดการขออนุญาต 1 เดือนนี้ไปจะขออนุญาตภายหลังไม่ได้ ทั้งนี้ ในส่วนธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศ
ที่มีวันครบกำหนดในอนาคต แต่ต้องการจะชำระคืนหรือต่อสัญญาก่อนกำหนด สามารถขออนุญาต ธปท.ได้เช่นกัน (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
3. ก.คลังเร่งรัฐวิสาหกิจแปลงหนี้เป็นเงินบาทเพื่อลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่า รมช.คลัง แถลงแผนการทำรีไฟแนนซ์เงินกู้
ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจและรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า ตามนโยบายของ รมว.คลัง โดยกล่าวว่า ทางสำนักบริหารหนี้
สาธารณะ (สบน.) ได้ศึกษาและเห็นสมควรที่รัฐวิสาหกิจที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศ จะต้องดำเนินการรีไฟแนนซ์เงินกู้ คิดเป็นวงเงินทั้งหมด
3,183 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยการรีไฟแนนซ์สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่า
จะทำได้สำเร็จอย่างน้อยร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 จะใช้เวลาอีกจนถึงสิ้นปี 50 และประเมินว่าจะช่วยประหยัดหนี้เงินกู้ได้ประมาณ
2-3 หมื่นล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. ก.คลังอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศออกบาทบอนด์วงเงิน
2.59 หมื่นล้านบาท รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ลงนามอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและสถาบันการเงินของรัฐบาล
ต่างประเทศจำนวน 6 ราย ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย ภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ วงเงินรวม 2.59 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของ ก.คลังภายใต้แผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยฉบับที่ 2 ที่มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้มีผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนต่างชาติ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดรวม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เป็นแหล่งระดมทุน
ในระดับภูมิภาค โดยการออกพันธบัตรให้มีความหลากหลาย และการขยายฐานผู้ส่งออกและผู้ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินบาทในประเทศไทย
นอกจากนี้ การให้สถาบันการเงินต่างประเทศมาออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในไทย ยังเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงด้วย
(โพสต์ทูเดย์, มติชน)
5. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินดัชนีหุ้นไทยสิ้นปี 50 เพิ่มขึ้นจาก 731 จุด เป็น 880 จุด เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์
เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ช่วงกลางเดือน ก.ค.- ธ.ค.50 จากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 19 แห่ง ที่มี บล.ต่างชาติ
1 แห่ง คือ บล. เจ.พี.มอร์แกน ร่วมด้วย พบว่า ส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีขึ้น และประเมินดัชนีหุ้นไทยสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 731 จุด เป็น 880 จุด
โดยมี บล.ที่ประเมินสูงสุด 950 จุด และต่ำสุดที่ 740 จุด โดยปรับประมาณการตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่จากการสำรวจครั้งก่อน
ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นร้อยละ 4.3 จากเดิมร้อยละ 4 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ 34 บาท จากเดิมเฉลี่ย 35.2 บาท
รวมถึงประเมินดัชนีหุ้นของปี 51 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,033 จุด โดยมีการประเมินสูงสุดไว้ที่ 1,200 จุด และต่ำสุดที่ 920 จุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่อง
จากปีนี้ (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 ก.ค.50 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ที่คาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารร้อยละ 0.5 ขณะที่ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.5 สำหรับ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกันคือร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี เป็นไปตามการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สูงกว่าเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
2. เดือน พ.ค.50 ยูโรโซนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.7 พัน ล.ยูโร รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 18 ก.ค.50
The European Union’s statistics office เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.50 ยูโรโซนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.7 พัน ล.ยูโร
(2.35 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 3.5-4.0 พัน ล.ยูโร
เป็นผลจากการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3 อย่างไรก็ตาม แม้ดุลการค้าจะเกินดุลลดลงในเดือน พ.ค.
แต่ตัวเลขดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 ที่ทบทวนใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2.3 พัน ล.ยูโร สะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน
แม้ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางสหภาพยุโรปจะส่งผลให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนญี่ปุ่น
ก็ตาม โดยเงินยูโรในเดือน พ.ค. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.5 จากช่วงต้นเดือน มี.ค.49 ถึงช่วงกลางเดือน พ.ค.49 และเป็นการแข็งค่า
สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 48 เป็นต้นมา ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมีความเห็นว่า ประเด็นการแข็งค่าของเงินยูโรมีความสำคัญต่อ
เศรษฐกิจของยูโรโซนน้อยกว่าภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองรองจากอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษจะสูงถึงระดับร้อยละ 6.0 ภายในสิ้นปีนี้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.50 ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ธ.กลางอังกฤษ มีมติ 6 ต่อ 3 เสียง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไปอยู่ที่ร้อยละ 5.75 ในการประชุมเมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมานั้น MPC เสียงข้างน้อยรวมถึง Rachel Lomax รองผู้ว่าการ
ธ.กลางอังกฤษ ที่รับผิดชอบนโยบายการเงินกล่าวว่าเหตุผลที่ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เพราะต้องการดูว่าเกิดผลอย่างไรบ้างกับเศรษฐกิจ
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดการเงินคาดว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งไปอยู่ที่ร้อยละ 6.0
ภายในสิ้นปีนี้ ส่วนนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเห็นได้ชัดเจนว่า MPC คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้อย่างน้อย
จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้น้อยลงได้ สำหรับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาชะลอตัวลงนับ
ตั้งแต่เพิ่มขึ้นสูงเป็นสถิติในรอบทศวรรษเมื่อเดือน มี.ค.50 แต่ยังคงอยู่สูงเหนือระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 2
และอาจจะไม่ลดลงเร็วเท่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ MPC ยังเฝ้ารอดูพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อของเดือนหน้าที่จะเปิดเผยในรายงานเงินเฟ้อ
รายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ด้านผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์
ของสำนักข่าวรอยเตอร์หลังจากที่ ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้คาดว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น
ร้อยละ 6.0 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนหากเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องรายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 19 ก.ค. 50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจกิจการขนาดใหญ่ 225 แห่งในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. — 13 ก.ค. ร้อยละ 44
คาดว่าทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนในตลาดการเงินโดยส่วนหนึ่งเห็นว่าทางการควรจะเข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้เงินเยนอ่อนค่า
ลงไปมากกว่า 125 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอัตราซื้อ-ขายปัจจุบันอยู่ที่ 122.00 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
จากที่เคยอยู่ในระดับอ่อนสุดในรอบ 4 ปีครึ่งที่ 124.14 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย. ขณะที่อีกร้อยละ 56 คาดว่า จะ
ไม่มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยน ทั้งนี้กิจการส่วนใหญ่เห็นว่าการที่เงินเยนอ่อนค่าลงมีแนวโน้มที่จะเป็นผลดีต่อกำไรของบริษัท และ
เห็นว่าเงินเยนอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องสาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินเยน
ส่งผลให้การนำเข้ามีต้นทุนสูงขึ้น และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคเนื่องจากราคาสินค้านำเข้า อาทิ น้ำมัน สูงขึ้น แต่ก็จะมีผลดี
ต่อผู้ส่งออกทำให้ประสิทธิภาพการแข่งขันเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.ค. 50 18 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.446 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.2114/33.5541 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 849.56/24.61 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.25 69.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.99/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กนง. ธปท.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 1 วันอีกร้อยละ 0.25 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี)
ระยะ 1 วัน อีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 เหลือร้อยละ 3.25 ต่อปี เพื่อผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ให้เศรษฐกิจปรับตัว
และขยายตัวได้โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ โดยมองว่าแม้ที่ผ่านมาราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อครึ่งปีแรกต่ำกว่าที่คาด
เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการใช้จ่ายภาคเอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ขณะที่ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจมีอยู่ โดยไตรมาสแรก
เศรษฐกิจชะลอตัวกว่าที่คาด แม้เดือน เม.ย. และ พ.ค. การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะกระเตื้องบ้าง แต่ยังเปราะบางอยู่
เพราะความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำ ทั้งนี้ การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะส่งผลทางอ้อมช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทด้วย เพราะจะทำให้เอกชน
กู้เงินในประเทศมากขึ้นแทนการไปกู้ต่างประเทศ เนื่องจากต้นทุนถูก ขณะที่ ธพ.จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้นเพราะได้ผลตอบแทนดีกว่าในตลาดอาร์พี
(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.ออกประกาศชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ รายงานข่าวจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ขณะนี้นักลงทุนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า ธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าในตลาด
ต่างประเทศที่สามารถเข้ามาขออนุญาตปิดในตลาดในประเทศได้นั้น มีเพียงธุรกรรมที่ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 16 ก.ค. — 17 ส.ค.เท่านั้น
ทำให้มีธุรกรรมที่เข้ามาขออนุญาตน้อย จึงไม่ส่งผลให้อัตราค่าเงินบาทระหว่างตลาดในประเทศกับต่างประเทศบีบเข้าหากันอย่างที่คาดการณ์ไว้
ธปท.จึงออกประกาศเพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.นั้น ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นธุรกรรมที่ครบกำหนด
ชำระคืนเงินบาทในช่วงวันที่ 16 ก.ค.-17 ส.ค.เท่านั้น แต่เป็นธุรกรรมทุกรายการที่ทำไว้ก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และมียอดคงค้างอยู่
ในปัจจุบัน โดยมีธุรกรรมการลงทุนในประเทศไทยรองรับตลอดระยะเวลา จะครบกำหนดคืนเมื่อไรก็ได้ สามารถนำเอกสารหลักฐานมา
ขออนุญาต ธปท.ไว้ก่อน และนำไปปิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดในประเทศเมื่อครบกำหนดชำระคืนได้ หากไม่มาขออนุญาตในช่วงที่กำหนด
และเลยกำหนดการขออนุญาต 1 เดือนนี้ไปจะขออนุญาตภายหลังไม่ได้ ทั้งนี้ ในส่วนธุรกรรมการทำประกันความเสี่ยงในตลาดต่างประเทศ
ที่มีวันครบกำหนดในอนาคต แต่ต้องการจะชำระคืนหรือต่อสัญญาก่อนกำหนด สามารถขออนุญาต ธปท.ได้เช่นกัน (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
3. ก.คลังเร่งรัฐวิสาหกิจแปลงหนี้เป็นเงินบาทเพื่อลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่า รมช.คลัง แถลงแผนการทำรีไฟแนนซ์เงินกู้
ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจและรัฐบาล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่า ตามนโยบายของ รมว.คลัง โดยกล่าวว่า ทางสำนักบริหารหนี้
สาธารณะ (สบน.) ได้ศึกษาและเห็นสมควรที่รัฐวิสาหกิจที่มีหนี้เงินกู้ต่างประเทศ จะต้องดำเนินการรีไฟแนนซ์เงินกู้ คิดเป็นวงเงินทั้งหมด
3,183 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยการรีไฟแนนซ์สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่า
จะทำได้สำเร็จอย่างน้อยร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 จะใช้เวลาอีกจนถึงสิ้นปี 50 และประเมินว่าจะช่วยประหยัดหนี้เงินกู้ได้ประมาณ
2-3 หมื่นล้านบาท (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
4. ก.คลังอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศออกบาทบอนด์วงเงิน
2.59 หมื่นล้านบาท รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ลงนามอนุญาตให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและสถาบันการเงินของรัฐบาล
ต่างประเทศจำนวน 6 ราย ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย ภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ วงเงินรวม 2.59 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งของ ก.คลังภายใต้แผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยฉบับที่ 2 ที่มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้มีผู้ระดมทุนและผู้ลงทุนต่างชาติ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดรวม รวมทั้งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้เป็นแหล่งระดมทุน
ในระดับภูมิภาค โดยการออกพันธบัตรให้มีความหลากหลาย และการขยายฐานผู้ส่งออกและผู้ลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินบาทในประเทศไทย
นอกจากนี้ การให้สถาบันการเงินต่างประเทศมาออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในไทย ยังเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงด้วย
(โพสต์ทูเดย์, มติชน)
5. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินดัชนีหุ้นไทยสิ้นปี 50 เพิ่มขึ้นจาก 731 จุด เป็น 880 จุด เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์
เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ช่วงกลางเดือน ก.ค.- ธ.ค.50 จากบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 19 แห่ง ที่มี บล.ต่างชาติ
1 แห่ง คือ บล. เจ.พี.มอร์แกน ร่วมด้วย พบว่า ส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีขึ้น และประเมินดัชนีหุ้นไทยสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 731 จุด เป็น 880 จุด
โดยมี บล.ที่ประเมินสูงสุด 950 จุด และต่ำสุดที่ 740 จุด โดยปรับประมาณการตัวเลขต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่จากการสำรวจครั้งก่อน
ทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นร้อยละ 4.3 จากเดิมร้อยละ 4 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทแข็งค่าอยู่ที่ 34 บาท จากเดิมเฉลี่ย 35.2 บาท
รวมถึงประเมินดัชนีหุ้นของปี 51 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,033 จุด โดยมีการประเมินสูงสุดไว้ที่ 1,200 จุด และต่ำสุดที่ 920 จุด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่อง
จากปีนี้ (โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 ก.ค.50 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ที่คาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารร้อยละ 0.5 ขณะที่ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.5 สำหรับ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกันคือร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี เป็นไปตามการ
คาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 สูงกว่าเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
2. เดือน พ.ค.50 ยูโรโซนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.7 พัน ล.ยูโร รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 18 ก.ค.50
The European Union’s statistics office เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.50 ยูโรโซนเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 1.7 พัน ล.ยูโร
(2.35 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลการค้าจำนวน 3.5-4.0 พัน ล.ยูโร
เป็นผลจากการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3 อย่างไรก็ตาม แม้ดุลการค้าจะเกินดุลลดลงในเดือน พ.ค.
แต่ตัวเลขดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 ที่ทบทวนใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2.3 พัน ล.ยูโร สะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซน
แม้ว่าการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางสหภาพยุโรปจะส่งผลให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินเยนญี่ปุ่น
ก็ตาม โดยเงินยูโรในเดือน พ.ค. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.5 จากช่วงต้นเดือน มี.ค.49 ถึงช่วงกลางเดือน พ.ค.49 และเป็นการแข็งค่า
สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 48 เป็นต้นมา ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างมีความเห็นว่า ประเด็นการแข็งค่าของเงินยูโรมีความสำคัญต่อ
เศรษฐกิจของยูโรโซนน้อยกว่าภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับสองรองจากอังกฤษ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษจะสูงถึงระดับร้อยละ 6.0 ภายในสิ้นปีนี้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.50 ภายหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ธ.กลางอังกฤษ มีมติ 6 ต่อ 3 เสียง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไปอยู่ที่ร้อยละ 5.75 ในการประชุมเมื่อต้นเดือน ก.ค.ที่ผ่านมานั้น MPC เสียงข้างน้อยรวมถึง Rachel Lomax รองผู้ว่าการ
ธ.กลางอังกฤษ ที่รับผิดชอบนโยบายการเงินกล่าวว่าเหตุผลที่ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้เพราะต้องการดูว่าเกิดผลอย่างไรบ้างกับเศรษฐกิจ
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดการเงินคาดว่าอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งไปอยู่ที่ร้อยละ 6.0
ภายในสิ้นปีนี้ ส่วนนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเห็นได้ชัดเจนว่า MPC คาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้อย่างน้อย
จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้น้อยลงได้ สำหรับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่เปิดเผยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาชะลอตัวลงนับ
ตั้งแต่เพิ่มขึ้นสูงเป็นสถิติในรอบทศวรรษเมื่อเดือน มี.ค.50 แต่ยังคงอยู่สูงเหนือระดับเป้าหมายที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 2
และอาจจะไม่ลดลงเร็วเท่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ MPC ยังเฝ้ารอดูพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อของเดือนหน้าที่จะเปิดเผยในรายงานเงินเฟ้อ
รายไตรมาสของ ธ.กลางอังกฤษก่อนที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ด้านผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์
ของสำนักข่าวรอยเตอร์หลังจากที่ ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้คาดว่า จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น
ร้อยละ 6.0 ภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนหากเงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องรายงานจากโตเกียว เมื่อ
วันที่ 19 ก.ค. 50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจกิจการขนาดใหญ่ 225 แห่งในญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. — 13 ก.ค. ร้อยละ 44
คาดว่าทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนในตลาดการเงินโดยส่วนหนึ่งเห็นว่าทางการควรจะเข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้เงินเยนอ่อนค่า
ลงไปมากกว่า 125 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอัตราซื้อ-ขายปัจจุบันอยู่ที่ 122.00 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
จากที่เคยอยู่ในระดับอ่อนสุดในรอบ 4 ปีครึ่งที่ 124.14 เยนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย. ขณะที่อีกร้อยละ 56 คาดว่า จะ
ไม่มีการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยน ทั้งนี้กิจการส่วนใหญ่เห็นว่าการที่เงินเยนอ่อนค่าลงมีแนวโน้มที่จะเป็นผลดีต่อกำไรของบริษัท และ
เห็นว่าเงินเยนอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องสาเหตุหลักมาจากอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินเยน
ส่งผลให้การนำเข้ามีต้นทุนสูงขึ้น และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคเนื่องจากราคาสินค้านำเข้า อาทิ น้ำมัน สูงขึ้น แต่ก็จะมีผลดี
ต่อผู้ส่งออกทำให้ประสิทธิภาพการแข่งขันเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.ค. 50 18 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.446 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.2114/33.5541 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.63063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 849.56/24.61 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.25 69.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.99/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--