บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดปัจจุบันของ บริษัท การบิน ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นระดับ “A+” จากเดิมที่ “A” ในขณะเดียวกันยังจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่ เกิน 8,000 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ “A+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวสะท้อนถึง สถานะการเงินของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นจากความสำเร็จในการเพิ่มทุนในเดือนกันยายน 2553 ประกอบกับผลประกอบการที่ปรับตัวดี ขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรฐกิจโลกและผลจากโครงการลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสะท้อนถึงสถานะความเป็นผู้นำในธุรกิจการบิน ระหว่างประเทศในเส้นทางที่บินเข้าและออกจากประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจาก การมีภาระหนี้ที่ค่อนข้างสูงและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวน รวมถึงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กระทบต่อธุรกิจสายการบิน เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย และความไม่สงบทางการเมือง รวมถึงการแข่ง ขันที่รุนแรงทั้งจากสายการบินทั่วไปและสายการบินต้นทุนต่ำที่จะกดดันอัตรารายได้ต่อผู้โดยสาร-กิโลเมตรอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะ สั้นและระยะปานกลาง อันดับเครดิตดังกล่าวได้รับการปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทซึ่งสะท้อนถึงการสนับสนุนจาก ภาครัฐในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจและสายการบินแห่งชาติ ดังนั้น อันดับเครดิตจะถูกปรับลดลงหากรัฐบาลลดสัดส่วนการถือหุ้นลง เหลือต่ำกว่า 50%
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะยังคงสามารถรักษาสถานะผู้นำ ในธุรกิจการบินระหว่างประเทศที่มีประเทศไทยเป็นจุดเริ่มต้นเอาไว้ได้ โดยที่ผลประกอบการและโครงสร้างทางการเงินจะไม่ อ่อนแอลงไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การพิจารณาแนวโน้มอันดับเครดิตยังคำนึงถึงแผนลงทุนมูลค่าประมาณ 140,000 ล้านบาทของ บริษัทในช่วงปี 2553-2557 ด้วย ทั้งนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตยังอยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ต่อไปโดยเฉพาะในช่วงที่บริษัทเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัทการบินไทยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและการ ดำเนินงานจากกระทรวงการคลังซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วน 51.0% นอกจากนี้ ยังมีธนาคารออมสินเป็นผู้ถือหุ้นในสัด ส่วน 2.4% และกองทุนวายุภักษ์ซึ่งจัดตั้งโดยกระทรวงการคลังเพื่อลงทุนในรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถือหุ้น 16.3% ด้วย ปัจจุบันบริษัทการบินไทยเป็นหนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย โดย ณ เดือนมีนาคม 2553 บริษัทให้บริการ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ณ สนามบินปลายทาง 59 แห่งทั่วโลก ด้วยเที่ยวบินจำนวน 535 เที่ยวต่อสัปดาห์ บริษัทมีปริมาณ ที่นั่งในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับการฟื้นตัวของความ ต้องการเดินทางเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น บริษัทได้รับประโยชน์จากการมีสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในเส้น ทางการบินระหว่างประเทศด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 36.6% ของจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ใช้บริการ ณ ท่า อากาศยานนานาชาติของไทย
ทริสเรทติ้งกล่าวถึงธุรกิจการบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทยว่า ปริมาณการจราจรทางอากาศเพิ่มขึ้นอย่าง มากหลังจากที่สายการบินต้นทุนต่ำเริ่มให้บริการในปี 2546 ทำให้จำนวนผู้โดยสารทั้งระบบเพิ่มขึ้นจาก 7.2 ล้านคนในปี 2546 มาอยู่ที่ประมาณ 15-16 ล้านคนในปี 2551-2552 กระนั้นส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทก็ลดลงเหลือ 48% ในปี 2551 จาก 84% ในปี 2546 ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 52% ในปี 2552 ธุรกิจการบินภายในประเทศสร้างรายได้ให้แก่บริษัทเพียง 9% ของรายได้รวม การมีต้นทุนดำเนินงานที่ค่อนข้างสูงกว่าสายการบินต้นทุนต่ำทำให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์ที่จะเพิ่มกำไรโดยการลด จำนวนเที่ยวบินภายในประเทศที่มีผลประกอบการขาดทุนและเปิดโอกาสให้สายการบินราคาประหยัดที่เป็นพันธมิตรของบริษัท คือ “นกแอร์” เป็นผู้ให้บริการแทน นอกจากนี้ บริษัทยังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะร่วมลงทุนกับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวยส์ เพื่อเปิดสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่คือ “ไทย ไทเกอร์ แอร์เวยส์” ด้วย โดยสายการบินต้นทุนต่ำรายใหม่นี้จะใช้ในการแข่งขัน เพื่อเพิ่มสัดส่วนทางการตลาดจากสายการบินต้นทุนต่ำอื่น ๆ ทั้งในเส้นทางภายในประเทศและภูมิภาคเอเซีย (ต่อหน้า 2)
สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 บริษัทมีผลกำไร 12,453 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุน 1,569 ล้านบาทของช่วง
เดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อยรายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก
5.5% ในปี 2551 เป็น 19.0% ในปี 2552 และ 17.9% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เนื่องจากราคาน้ำมันเครื่องบินที่
ปรับลดลงอย่างมาก รวมทั้งความสำเร็จในการดำเนินนโยบายลดค่าใช้จ่าย และภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น บริษัทมีอัตราส่วน
กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายปรับตัวดีขึ้นจาก 2.1 เท่าในปี
2551 เป็น 5.5 เท่าในปี 2552 และ 6.3 เท่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อ
เงินกู้รวมก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 4.4% ในปี 2551 เป็น 17.6% ในปี 2552 และ 11.4% (ยังไม่ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็ม
ปี) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทปรับลดลงจาก 77.0% ในปี 2551 สู่
ระดับ 69.9% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 เนื่องจากการเพิ่มทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 และผลประกอบการที่ปรับตัวดี
ขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทมีภาระลงทุนค่อนข้างสูงเพื่อดำรงความสามารถในการแข่งขันจึงคาดว่าภาระหนี้ของบริษัทจะยัง
คงอยู่ในระดับสูงต่อไปในระยะปานกลาง ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ