บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A+” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความเป็นผู้นำของบริษัท ในฐานะผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ระดับโลก ตลอดจนการมีสินค้าและฐานลูกค้าที่หลากหลาย และการมีเครื่องหมายการค้าที่ แข็งแกร่งในธุรกิจอาหารทะเลกระป๋อง นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงการลงทุนซื้อหุ้น 100% ใน MW Brands Holdings Group (MWB) ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งด้านฐานะทางการตลาดในยุโรป อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวมี ข้อจำกัดบางประการจากความอิ่มตัวของอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องในตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมถึงความเสี่ยงจาก ความแปรปรวนของราคาปลาทูน่าและความผันผวนของค่าเงินบาท ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังประกาศยกเลิก “เครดิตพินิจ” แนวโน้ม “Developing” หรือ “ยังไม่ชัดเจน” ที่ให้ไว้แก่อันดับเครดิตของบริษัทเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 หลังจากที่บริษัท ประกาศลงทุนใน MWB มูลค่า 680 ล้านยูโร (28,496 ล้านบาท) ด้วย
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงมุมมองของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะยังคงรักษาความได้ เปรียบในการแข่งขันเอาไว้ได้จากการประหยัดจากขนาดและความมีประสิทธิภาพในการผลิต ฐานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งขึ้นใน ยุโรปและฐานการตลาดที่กระจายตัวมากขึ้นจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการดำเนินงานท่ามกลางความผันผวนของราคาปลาทูน่าและ อัตราแลกเปลี่ยน
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง รายใหญ่ของประเทศไทยโดยมียอดขายในปี 2552 อยู่ที่ 68,994 ล้านบาท ด้วยปริมาณการผลิตปลาทูน่ากระป๋องกว่า 200,000 ตันส่งผลให้บริษัทเป็นหนึ่งในผู้แปรรูปปลาทูน่าชั้นนำระดับโลก ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของบริษัทมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จากการรวมงานด้านบรรจุภัณฑ์เข้ากับเครือข่ายกระจายสินค้า นอกจากนี้ บริษัทยังมีสินค้าที่หลากหลาย โดยในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2553 ปลาทูน่ากระป๋องสร้างรายได้ให้บริษัทมากที่สุดคิดเป็นประมาณ 39% ของยอดขายสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐ ตามด้วยกุ้ง แช่แข็ง 23% อาหารทะเลกระป๋อง 9% และอาหารสัตว์กระป๋อง 9% ตลาดส่งออกหลักของบริษัทประกอบด้วยประเทศสหรัฐ อเมริกา (49% ของรายได้รวม) สหภาพยุโรป (12%) และญี่ปุ่น (12%) ผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม อาหารทะเลมากกว่า 2 ทศวรรษ ในขณะที่บริษัทเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าปลาทูน่ากระป๋อง “Chicken of the Sea” ซึ่งจำหน่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า การมีสินค้าที่หลากหลายช่วยให้ผลประกอบการของบริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ ใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ยังคงทรงตัว แม้ว่ารายได้จากการขายปลาทูน่าจะลดลง 9% แต่ความต้องการที่มีมากในผลิตภัณฑ์ กุ้ง อาหารทะเล และอาหารสัตว์ช่วยให้ยอดขายในสกุลเงินดอลลาร์ยังคงเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่าง ไรก็ตาม ผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาททำให้รายได้รวมในสกุลเงินบาททรงตัวที่ระดับ 50,859 ล้านบาทในช่วง 9 เดือน แรกของปี 2553 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายปรับตัวลดลงเป็น 7.1% จาก 7.6% ใน ช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากต้นทุนกุ้งที่เพิ่มขึ้น ราคาปลาทูน่าที่ผันผวน และผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท กำไรสุทธิ ของบริษัทหลังรวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 679 ล้านบาทลดลง 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 2,521 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุน ณ เดือนกันยายน 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็ก น้อยเป็น 42.0% จาก 40.0% ณ สิ้นปี 2552 เนื่องจากความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น สถานะสภาพคล่องก่อนการลงทุน ใน MWB อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ 10.4 เท่า
ในเดือนตุลาคม 2553 บริษัทซื้อหุ้น 100% ใน MWB ด้วยมูลค่าเงินลงทุนรวมค่าใช้จ่าย 700 ล้านยูโร โดยแหล่ง เงินทุนประมาณ 87% ของมูลค่าเงินลงทุน หรือ 611 ล้านยูโรมาจากการกู้ยืม และส่วนที่เหลือ 13% มาจากการเพิ่มทุน บริษัทกู้ เงินจากสถาบันการเงินในประเทศรวม 211 ล้านยูโร และ MWB กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ 340 ล้านยูโร นอก จากนี้ บริษัทยังออกหุ้นกู้แปลงสภาพอายุ 4 ปีจำนวน 60 ล้านยูโรด้วย บริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 73 ล้านหุ้น ซึ่งเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและบุคคลอื่นในวงจำกัด โดยได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 89 ล้านยูโร อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างทุน หลังการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 60% จาก 42% ก่อนการลงทุน คาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 50% ในอีก 2-3 ปีข้าง หน้าหลังจากบริษัทรับรู้กำไรจาก MWB เต็มที่แล้ว
ทริสเรทติ้งกล่าวถึง MWB ว่าเป็นผู้ผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องแบบครบวงจรโดยมีทั้งกองเรือจับปลา โรงงานผลิต
และช่องทางจัดจำหน่ายในตลาดยุโรป บริษัทมียอดขายจากผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องคิดเป็น 73% ของยอดขายรวม MWB มีโรง
งานหลักอยู่ที่ประเทศซีเชลล์และกาน่า โดยมีตลาดหลักในประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี ไอร์แลนด์ และเน
เธอร์แลนด์ ในช่วงปี 2550-2553 (สิ้นสุดปีบัญชีเดือนมีนาคม) ยอดขายของ MWB ค่อนข้างทรงตัวที่ 448-490 ล้านยูโรต่อปี
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
(EBITDA) ของบริษัทดีขึ้นจาก 57 ล้านยูโรในปี 2550 เป็น 83 ล้านยูโรในปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 70% ของ EBITDA ของบริษัท
ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ในปี 2553 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2553 MWB มีสินทรัพย์รวม 559 ล้านยูโร มีหนี้สินรวม 462 ล้านยู
โร และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 97 ล้านยูโร
ภายหลังการลงทุนใน MWB กลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ได้กลายมาเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่อันดับ
หนึ่งของโลกด้วยปริมาณการผลิต 330,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของการผลิตปลาทูน่ากระป๋องทั่วโลก และเป็นเจ้าของ
เครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดในอันดับต้น ๆ ในยุโรป ไม่ว่าจะเป็น Petit Navire,
John West, Mareblu และ Hyacinthe Parmentier โดยผลิตภัณฑ์ของ John West มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ
1 ในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ของ Petit Navire มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ
1 ในประเทศฝรั่งเศส การเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทำให้รายได้ของบริษัทแข็งแกร่งขึ้นเนื่องจากรายได้จากการขายสินค้า
ภายใต้เครื่องหมายการค้าจะเพิ่มเป็น 60% ของรายได้รวมจากเดิมที่มีสัดส่วน 50% นอกจากนี้ ฐานลูกค้าของบริษัทก็มีการ
กระจายตัวดีขึ้น โดยยอดขายในตลาดยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 31% จากสัดส่วนเพียง 12% ของรายได้รวมก่อนการลงทุน แม้ว่าตลาด
สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดหลัก แต่สัดส่วนก็ลดลงเหลือ 38% เมื่อเทียบกับก่อนการลงทุนที่มีสัดส่วนถึง 48% ทั้งนี้ การผสานธุรกิจใน
อนาคตน่าจะเกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การจัดการผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ความรู้ในธุรกิจอาหารทะเลกับ MWB นอกจากนี้ การลงทุนใน MWB ยังเปิดโอกาสให้บริษัทขยายตลาดในยุโรปเพิ่มขึ้นโดยใช้
ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของ MWB และการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าที่ผลิตในประเทศซีเชลล์และกาน่า
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการ MWB ในอนาคตภายหลังการลงทุนยังเป็นสิ่งท้าทายโดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการลงทุนดังกล่าว
ประกอบด้วยภาวะอิ่มตัวของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องในประเทศชั้นนำในภูมิภาคยุโรปและภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในสห
ราชอาณาจักร ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ