บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย)
จำกัด ที่ระดับ “A-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” จาก “Negative” หรือ “ลบ” โดยบริษัทเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น
100% โดย DBS Vickers Securities Holdings Pte., Ltd. (DBSVSH) ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มธนาคารดีบีเอสใน
ประเทศสิงคโปร์ อันดับเครดิตของบริษัทมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นจากสถานะอันดับเครดิตโดยเฉพาะของบริษัทในฐานะเป็นบริษัท
ย่อยที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มธนาคารดีบีเอสซึ่งให้การสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและอื่น ๆ แก่บริษัท ทั้งนี้ อันดับเครดิต
เฉพาะของบริษัทขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัทในการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายและทรัพยากรของกลุ่มธนาคารดีบีเอส อย่างไร
ก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และความผันผวนของตลาด
หลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณารวมถึงความไม่แน่นอนของธุรกิจหลังการเปิดเสรีค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
อย่างเต็มรูปแบบในปี 2555 ด้วย
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่กลับมาเพิ่มขึ้นและการมีผล ประกอบการทางการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่าน โดยทริสเรทติ้งจะติดตามสถานะทางการตลาดและผลประกอบการของ บริษัทอย่างใกล้ชิดหลังการเปิดเสรีค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เต็มรูปแบบในปี 2555 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดหมายว่าบริษัทจะยังคง ฐานะการเป็นบริษัทที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มธนาคารดีบีเอส อีกทั้งจะยังมีบทบาทในธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทยใน ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับสากลของกลุ่มธนาคารดีบีเอส และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มธนาคารดีบีเอสต่อไป
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหลักโดย มีธุรกิจอื่น ๆ สนับสนุน ได้แก่ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ธุรกิจจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และธุรกิจที่ ปรึกษาทางการเงินสำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่งทางการเงิน ในช่วงปี 2544-2553 บริษัทมีรายได้หลักจากธุรกิจนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ 86% ของรายได้รวม ในขณะที่รายได้จากบริการอื่นมีสัดส่วนประมาณ 10% ในปี 2553 ซึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 6.5% รายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจลดลง อย่างมาก โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการลดลงเหลือเพียง 6 ล้านบาทในปี 2553 จากที่เคยได้รับประมาณ 29 ล้าน บาทในปี 2551 และ 9 ล้านบาทในปี 2552 ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ทริสเรทติ้งประเมินว่าบริษัทจะยังมีรายได้จากธุรกรรมใน ส่วนนี้ไม่มาก สำหรับกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นคาดว่าจะมีสัดส่วนที่น้อยมากเนื่องจากบริษัทได้หยุดธุรกรรมการ ค้าหลักทรัพย์มาระยะหนึ่งแล้ว
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในปี 2553 ที่ผ่านมา ส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของ บล. ดีบี เอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% และปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 เป็น 2.61% จาก 2% ในปี 2552 สถานะทางการตลาดของบริษัทจัดอยู่ในอันดับที่ 17 จากจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด 35 ราย เพิ่ม จากอันดับที่ 21 เมื่อปี 2552 หากบรรยากาศการลงทุนเอื้ออำนวยต่อกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ บริษัทก็น่าจะสามารถรักษาสถานะ ทางการตลาดเอาไว้ได้เนื่องจากได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากกลุ่มธนาคารดีบีเอส ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขาย จากลูกค้าของกลุ่มธนาคารดีบีเอสคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 36%-50% ของมูลค่าการซื้อขายต่อปีของบริษัท ในปีที่ผ่านมา บริษัทไม่ได้ รับผลกระทบจากการคิดค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันไดเช่นเดียวกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นเนื่องจากอัตราค่านายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ที่ลดลงนั้นได้รับการชดเชยในสัดส่วนที่มากกว่าจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 60% ในปี 2553 โดยมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยรายวันของทั้งตลาดหลักทรัพย์รวมกับตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เพิ่มขึ้น อย่างมากเป็นวันละ 29.07 พันล้านบาทในปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 32.17 พันล้านบาทในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554 จากเดิมวันละ 16.12 พันล้านบาทในปี 2551 และ 18.23 พันล้านบาทในปี 2552 อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าหลังการ เปิดเสรีค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบในปี 2555 จะเกิดการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นอันอาจทำให้รายได้จากการซื้อ ขายหลักทรัพย์ลดลง
กำไรสุทธิของบริษัทค่อย ๆ ลดลงจาก 209 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 172 ล้านบาทในปี 2549 และ 132 ล้าน บาทในปี 2550 สืบเนื่องจากภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวยและการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในปี 2551 บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 22 ล้านบาทเนื่องจากประสบผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นผลกระทบจากภาวะ ตลาดหลักทรัพย์ที่ตกต่ำในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 บริษัทกลับมามีกำไรสุทธิในปี 2552 จำนวน 34.13 ล้านบาท และ 79.02 ล้านบาทในปี 2553 ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การลงทุนที่ดีขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2552 อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจจำ เป็นต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมหากมูลค่าตามราคาตลาดของหลักประกันยังคงลดลง โดยในปี 2552 และ 2553 มีการ ตั้งสำรองไว้แล้วคิดเป็นมูลค่า 519 ล้านบาท และ 563 ล้านบาท ตามลำดับ บริษัทมีสินทรัพย์รวมอยู่ระหว่าง 1.6-1.9 พันล้าน บาทในช่วงปี 2548-2552 ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 เนื่องจากมีปริมาณการซื้อขายหลัก ทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ปริมาณสินเชื่อเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์คงค้างในปี 2553 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 875 ล้านบาท จากเดิมที่ระดับ 554 ล้านบาทในปี 2551 จากการมีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสินเชื่อเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์คงค้างคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 36.4% ของสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2553 อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายจะขยายสินเชื่อดังกล่าวในระยะกลางเมื่อมีโอกาส การ ขยายสินเชื่อควบคู่กับมาตรการในการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นน่าจะทำให้บริษัทสามารถทำกำไรจากธุรกรรมนี้ได้
บริษัทมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำจากการลงทุน โดยมีเพียงการลงทุนสมทบในหุ้นสามัญจำนวน 9 ล้านบาทเพื่อการจัด ตั้ง บริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนภาคบังคับสำหรับสถาบันการเงิน โดยในขณะนั้นบริษัทยังคงมี สภาพคล่องและความยืดหยุ่นทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 บริษัทใช้วงเงินกู้ไปประมาณ 0.04% จากวงเงินทั้งสิ้น 2.5 พันล้านบาทจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ในประเทศ ในขณะที่เงินกู้ส่วนใหญ่ของบริษัทมาจากการกู้ยืมบริษัท แม่ซึ่งประกอบด้วยเงินกู้ด้อยสิทธิมูลค่าประมาณ 8 ล้านเหรียญสิงค์โปร์และเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 5 ล้านเหรียญสิงค์โปร์ บริษัท กำลังอยู่ในขั้นตอนการลงนามในสัญญาเงินกู้ด้อยสิทธิวงเงิน 17 ล้านเหรียญสิงค์โปร์เพิ่มเติมจากบริษัทแม่เพื่อใช้ในการดำเนิน ธุรกิจที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล โดยบริษัทยังคงมีทุนที่เพียงพอสำหรับการประกอบธุรกิจแม้ว่าส่วน ของผู้ถือหุ้นจะลดลงจาก 1.007 พันล้านบาทในปี 2552 เหลือ 879 ล้านบาทในปี 2553 ก็ตาม บริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุน สภาพคล่องสุทธิ (Net Capital Rule) ณ เดือนธันวาคม 2553 อยู่ที่ 59.23% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 7% ที่กำหนดโดยสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างมาก ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ