(เพิ่มเติม1) บอร์ด กนง.มติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบาย หลังปรับลดคาดการณ์ GDP-ส่งออกปีนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 26, 2019 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปีหลังมองเศรษฐกิจไทยปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ โดยปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือเติบโต 3.3% จากเดิมคาดไว้ในระดับ 3.8% ส่วนส่งออกคาดโต 0% จากก่อนหน้าคาดโต 3.0% ขณะที่นำเข้าคาด -0.3% จากเดิมคาดโต 3.1%

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ กนง. ระบุว่า การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 3.3% เป็นผลจากอุปสงค์ด้านต่างประเทศ ทั้งการชะลอตัวของส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึงผลจากค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ มองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีโอกาสที่จะปรับลดลงได้มากกว่าที่จะปรับเพิ่มขึ้น จากความเสี่ยงด้านต่างประเทศเป็นสำคัญ

ขณะเดียวกัน กนง.ได้ปรับลดประมาณการส่งออกไทยปีนี้ลงเหลือ 0% เป็นผลมาจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน พร้อมมองว่าสงครามการค้ายังมีแนวโน้มจะยืดเยื้อและมีโอกาสจะกระทบต่อการส่งออกของไทยให้ลดลงได้อีกจากประมาณการล่าสุด ซึ่งหากจะไม่ให้การส่งออกในปีนี้ลงไปอยู่ในระดับติดลบ จะต้องผลักดันให้การส่งออกช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวมากพอสมควร

"สงครามการค้ากระทบ sentiment การขยายตัวทั้งเศรษฐกิจโลกและการค้าโลก มีทั้งผลบวกผลลบ และต่อไปก็ยังไม่ชัดว่าจะออกมาอย่างไร จะยืดเยื้อต่อเนื่อง จะชะลอตัวลงหรือเร่งตัวขึ้น ซึ่งในทิศทางต่างๆ เหล่านี้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการส่งออกต่างๆ จะไม่เหมือนกัน" นายทิตนันทิ์ กล่าว

กนง.มองว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้รับผลกระทบของการส่งออกสินค้าและบริการที่สำคัญ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึวเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากการส่งออกสินค้าขยายตัวชะลอลงกว่าที่ประเมินไว้มาก ตามเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐและจีน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประเมินไว้จากจ่านวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก

ส่าหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ยังได้รับแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงรายได้และการจ้างงานที่มีสัญญาณชะลอลงในภาคการผลิตเพื่อส่งออก การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง อย่างไรก็ดี การย้ายฐานการผลิตมายังไทยและโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในระยะต่อไป

ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ากว่าที่ประเมินไว้จากการประกาศใช้พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจ่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่คาดว่าจะล่าช้าและการเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง

ทั้งนี้ กนง.จะติดตามความเสี่ยงด้านต่างประเทศจากสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศอุตสาหกรรมหลักที่จะส่งผลมาสู่อุปสงค์ในประเทศ และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งจะติดตามการด่าเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่และการใช้จ่ายภาครัฐ ตลอดจนความคืบหน้าของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ส่าคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยราคาอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้เดิม ทั้งนี้ กนง.เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ท่าให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

ภาวะการเงินช่วงที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่า ภาคเอกชนยังสามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วและแข็งค่าน่าเงินสกุลภูมิภาคเป็นผลจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางอ่อนค่าลง การไหลเข้าของเงินทุนในช่วงสั้น ๆ และปัจจัยในประเทศ คณะกรรมการฯ มีความกังวลต่อการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและการไหลเข้าของเงินทุนอย่างใกล้ชิด

ส่วนระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคต คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดำเนินการไปและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมาช่วยดูแลการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) ในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่า ซึ่งอาจน่าไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ากว่าที่ควร (underpricing of risks) ได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องติดตามการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ การปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ภายหลังการปรับปรุงเกณฑ์การก่ากับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) มีผลบังคับใช้รวมถึงการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่ากว่าที่ควร

ทั้งนี้ การลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงต่อไปยังจ่าเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลด้วยเครื่องมือที่หลากหลายทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม มาตรการก่ากับดูแลสถาบันการเงิน (microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) ที่จะต้องให้ความส่าคัญเพิ่มขึ้นกับความสามารถในการช่าระหนี้ของลูกหนี้

กนง.ระบุอีกว่า มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงตามแรงส่งจากอุปสงค์ต่างประเทศเป็นส่าคัญ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะผลกระทบของสภาวะการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการด่าเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป

นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า เรื่องเสถียรภาพระบบการเงินนั้นยังเป็นประเด็นที่ กนง.ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันแนวโน้มเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันถือว่ายังเป็นระดับที่เหมาะสม กนง.จึงคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมรอบนี้เท่าเดิม

ส่วนแนวโน้มนโยบายการเงินในระยะต่อไป กนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะปัจจัยภายนอกมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น โดยเฉพาะสงครามการค้า, ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ แต่อย่างไรก็ดี นโยบายการเงินในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน เพียงแต่ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ธปท.จะติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ รวมทั้งนโยบายการใช้จ่ายของภาครัฐในมิติต่างๆ รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 63 ซึ่งคาดว่าการเบิกจ่ายจะล่าช้าออกไปจากเดือนต.ค.62 เป็นช่วงต้นปี 63


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ