กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี – หนองคาย ติดตามความคืบหน้า Digital Startup

ข่าวเทคโนโลยี Friday December 14, 2018 14:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลฯ ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี – หนองคาย ติดตามความคืบหน้า Digital Startup เร่งผลักดันคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดให้กับประเทศ คาดดัน จ.อุดรธานี ขึ้น Smart City ปี 62 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ตรวจราชการช่วงครม.สัญจร ณ จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2561 ซึ่งได้มีโอกาสติดตามความคืบหน้ากิจกรรม "Lunch Talk with Digital Startup Udon" ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานของสตาร์ทอัพในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลยและจังหวัดนครพนมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA หรือ ดีป้า) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่ม Digital Startup ในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง ซึ่งรวมถึงจังหวัดอุดรธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า จากที่เคยร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลในพื้นที่ ซึ่งเป็นความร่วมมือและช่วยเหลือ ผลักดันให้เกิด Digital Startup, Smart Udon Maker รุ่นใหม่ขึ้นมา โครงการ Digital Startup นี้ ต้องการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดา นักเรียน นักศึกษา รวมถึงกลุ่มบุคคลที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทในพื้นที่ ได้มีโอกาสเสนอแผนงานระดับการแปลงความคิดสู่การเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (Conceptual Plan) เมื่อผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นเข้าร่วม pitching จะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคการศึกษา ผู้ประกอบการและสถาบันทางการเงินร่วมรับฟังการนำเสนอ จากนั้นจะสนับสนุนงบประมาณผ่านมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้มีกระบวนความคิด ทั้งในด้านการตลาดและการลงทุนเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการและสร้างความแข็งแกร่งให้สตาร์ทอัพ ซึ่งรูปแบบแผนจะเน้นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรภาคการศึกษา ภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์และส่งเสริมการดำเนินการระหว่างกัน ร่วมกันพัฒนาและสร้างขีดความสามารถของสตาร์ทอัพให้สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม รวมถึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดให้กับประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ต้องการเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพในภูมิภาคอีสานให้มากขึ้น จึงเร่งพัฒนาและส่งเสริมผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของสตาร์ทอัพให้สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม รวมถึงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดให้กับประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ เชื่อว่าผู้ประกอบการรายใหม่ๆ (Digital Startup) ที่เข้มแข็ง จะเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคมได้ อีกทั้งจะช่วยส่งเสริม SMEs ที่ต้องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล สะดวกมาใช้บริการ หากมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ (Digital Startup) ในพื้นที่ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการให้กับ SMEs รายเล็กๆ ในพื้นที่ได้ เนื่องจากสามารถให้บริการได้ยังทันถ่วงทีและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง โดยในปี 2562 จังหวัดอุดรธานี ได้ถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การขยายโครงการ Smart City ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดอุดรธานี ถือเป็นจังหวัดเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการเติบโตของกลุ่ม Digital Startup ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายของ Digital Startup กับจังหวัดใกล้เคียงต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ และคณะได้เดินทางตรวจเยี่ยมสำนักงานบริการลูกค้า ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท หนองคาย และเยี่ยมชมระบบเคเบิลบริเวณสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ณ สำนักงานบริการลูกค้า กสท หนองคาย ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ กิจกรรมที่ ๒ การเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาค (ASEAN Digital Hub) การดำเนินงานระบบเคเบิลบริเวณสะพานมิตรภาพไทย – ลาว โดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างประเทศสามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น มีเสถียรภาพ และมีความจุเพียงพอ สามารถรองรับความต้องการของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Digital Hub) ซึ่งจะส่งผลให้เป็นหนึ่งในประเทศที่สำคัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน โดยขยายความจุโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศของระบบที่มีอยู่ 1,770 Gbps ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ และการร่วมก่อสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบใหม่ที่เชื่อมต่อประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความจุเบื้องต้นจากประเทศไทยกับประเทศต่างๆ รวม 200 Gbps

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ