หลังสงกรานต์ ชีวิตคุณกำลังอยู่ในขั้นไหน?

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday April 24, 2019 11:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ ผ่านไปเรียบร้อยกับวันหยุดยาวอย่างเทศกาลสงกรานต์ หลายคนคงได้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ และกลับไปบ้านเกิดเยี่ยมพ่อแม่พี่น้องญาติผู้ใหญ่ กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา พอกลับมาสู่โลกความเป็นจริงของชีวิตทำงาน หลายคนคงรู้สึกหนักหัวตัวเบา แต่ถ้าคุณไม่รู้สึกแบบนั้น เพราะมีเงินเหลือพอถึงสิ้นเดือน นั่นแสดงว่าคุณวางแผนทางการเงินมาอย่างดี แต่สำหรับคนที่กำลังช็อตชักหน้าไม่ถึงหลัง แสดงว่าการเงินของคุณกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต หากเกิดปัญหาแบบนี้ นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างความสำเร็จด้วยมายด์เซ็ท มีคำแนะนำดีๆ มาช่วยให้คุณก้าวผ่านวิกฤตทางการเงินในครั้งนี้ เพราะทุกปัญหาล้วนมีทางออก แต่ก่อนที่จะไปแก้ไขปัญหา คุณต้องหันมาสำรวจตัวเองก่อนว่า ตอนนี้วิกฤตทางการเงินของคุณอยู่ในระดับไหน ด้วยการวัดระดับความสำเร็จเชิงเศรษฐกิจของชีวิตมนุษย์ 9 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นที่เราเอาชีวิตยังไม่รอด นั่นคือ มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ทุกเดือนยังคงติดลบ ต้องกู้หนี้ยืมสินมาหมุนเงิน จนคุณหัวหมุนไปด้วย ขั้นที่ 2 แค่เอาชีวิตรอด รายได้กับรายจ่ายพอๆกัน ไม่มีเงินเหลือเก็บ มีภาระจากเหตุฉุกเฉินหรือค่าใช้จ่ายที่เป็นก้อนๆเมื่อไหร่ต้องหาหยิบยืมกันให้วุ่น ดอกเท่าไหร่ก็สู้ อย่างนี้เรียกว่า แค่เอาชีวิตรอด ขั้นที่ 3 มีชีวิตระดับอยู่ดี มีรายได้มากกว่ารายจ่าย รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายเป็นก้อนได้และยังเหลือพอเก็บเข้าบัญชีออมทรัพย์บางส่วน ขั้นที่ 4 อยู่แบบดีเยี่ยม มีเงินฝากในบัญชีรองรับค่าใช้จ่ายของครอบครัวจนสามารถหยุดงานได้ 6 ถึง 12 เดือน ส่วนขั้นที่ 5-8 ไปจนถึงขั้นที่ 9 จะเป็นชีวิตระดับตำนาน ได้ช่วยเหลือสังคมแบบ บิล เกตส์ หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คนพวกนี้คือระดับตำนานที่ไม่ต้องห่วงเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายอะไรอีกแล้ว วันๆคิดแต่จะช่วยสังคมอย่างเดียว เมื่อวัดระดับชีวิตเรียบร้อย หากคุณกำลังมีชีวิตอยู่ในขั้นที่ 1 ไม่ต้องกังวลจนปวดหัว มีวิธีแก้ไขได้ง่ายๆ แบบนี้ 1.หารายได้พิเศษเพิ่ม จากเวลานอกเหนืองานประจำ เริ่มจากงานบริการ งานขายหรืองานที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัวของเรา 2.ลดรายจ่าย รายจ่ายรายการไหนที่ยังเกินความจำเป็น ตัดออกให้หมด 3.หาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยถูกกว่ามาจ่ายหนี้เดิม อาจมาจากการรีไฟแนนซ์บ้านหรือการขอยืมจากเจ้านาย ซึ่งขึ้นกับความมีคุณค่าของตัวเราในองค์กร 4. เร่งพัฒนาตนและแสดงผลงานในหน้าที่ เพื่อให้ได้โบนัสตอนสิ้นปีสูงขึ้น ได้รับการปรับเงินเดือนที่มากขึ้นหรือได้รับการโปรโมท หรือไม่ก็ย้ายที่ทำงานใหม่ที่ให้เงินเดือนสูงขึ้น จากข้อแนะนำดังกล่าว หากคุณสามารถเลือกปฏิบัติได้อย่างน้อย 2 ใน 4 ข้อนี้ คุณก็จะก้าวผ่านวิกฤตทางการเงินไปได้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ ความคิดและความเชื่อของคุณว่าต้องทำได้ เพียงเท่านี้ "คุณก็จะสามารถหลุดพ้นจากภาวะ "เงินช็อต" ได้อย่างแน่นอน เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ