บลจ.กสิกรไทย แนะซื้อ LTF/RMF ท่ามกลางความผันผวน ชวนมองผลตอบแทนในระยะยาว

ข่าวหุ้น-การเงิน Thursday August 8, 2019 14:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--บลจ.กสิกรไทย บลจ.กสิกรไทย เผยสถานการณ์ความผันผวนในช่วงนี้ส่อเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวในระยะสั้น มองเป็นโอกาสให้นักลงทุนทยอยซื้อกองทุน LTF/RMF เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว เนื่องจาก ไทยมีปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจในสายตานักลงทุนต่างชาติมากขึ้น นางสาวธิดาศิริ ศรีสมิต Chief Investment Officer (รองกรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการลงทุน) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยถึงภาวะตลาดหุ้นไทยที่ได้รับแรงกดดันจากประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่กลับมาร้อนระอุอีกครั้ง หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 10% เป็นมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลในวันที่ 1 ก.ย. 62 ทำให้ธนาคารกลางของจีนปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี มาอยู่ที่ 7 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์มองว่าจีนมีการแทรกแซงค่าเงิน (Currency Manipulation) เพื่อเป็นการตอบโต้มาตรการทางภาษีที่สหรัฐฯประกาศเก็บเพิ่มไปล่าสุด นางสาวธิดาศิริกล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เงินลงทุนไหลกลับเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากราคาทองคำปรับตัวสูงสุดในรอบ 6 ปี ในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง 3-5% ส่วนตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงตาม โดยที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดกว่า 50 จุด (จากราคาปิด ณ วันที่ 1 ส.ค. 62) ก่อนมีการฟื้นตัวกลับเล็กน้อย อีกทั้งอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี "บลจ.กสิกรไทย มองว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในประเด็นสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยังไม่คลี่คลาย แถมมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อ ซึ่งอาจทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ โดยล่าสุดกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้พิจารณาตัดสินให้จีนเป็นชาติที่ปั่นค่าเงิน นับเป็นคำกล่าวหาแบบเป็นทางการครั้งแรกตั้งแต่ปี 1994 ด้านจีนได้สั่งระงับการนำเข้าสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการโต้ตอบให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความปั่นป่วนต่อตลาดการเงิน ทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างมีนัยยะ สำหรับมุมมองในระยะยาวยังมีมุมมองเป็นบวก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำและสภาพคล่องในระบบมีอยู่สูง ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 1.50% ต่อปี ทำให้ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นยังมีความน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบถึงแม้ว่าจะมีความกังวลเพิ่มขึ้นในเรื่องที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงต่ำกว่าศักยภาพ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยมีความชัดเจนในการสานต่อนโยบายโครงสร้างภาครัฐขนาดใหญ่และ EEC พร้อมทั้งเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศ จึงมองเป็นโอกาสที่จะเริ่มทยอยเข้าลงทุนในกองทุน LTF/RMF โดยมองว่าดัชนีหุ้นไทยในระดับต่ำกว่า 1,650 จุด ถือเป็นระดับที่น่าสนใจเข้าลงทุนโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการตอบโต้ระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน" นางสาวธิดาศิริกล่าว นางสาวธิดาศิริกล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ถือเป็นปีสุดท้ายที่นักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านการลงทุนในกองทุน LTF ก่อนที่จะเริ่มมีกองทุนรูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทนในปี 2563 โดยกองทุน LTF/RMF ของกสิกรไทย ที่สามารถรับมือกับความผันผวนได้ดีและเข้าได้กับทุกภาวะตลาด ได้แก่ กองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล (KDLTF) ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี หลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีอัตราการจ่ายปันผลสูงสุดเมื่อเทียบกับ LTF อื่นๆ ของกสิกรไทย โดยนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบันกองทุนมีการจ่ายปันผลทุกปีมากถึง 18 ครั้ง และกองทุนเปิดเค หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KEQRMF) ที่เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ชั้นนำที่มีความมั่นคงสูงและเป็นผู้นำในแต่ละหมวดอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนที่สนใจกองทุน LTF/RMF กสิกรไทย สามารถดาวน์โหลดแอป K-My Funds หรือสมัครบริการ K-Cyber Invest เพื่อดูผลการดำเนินงานของกองทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น และเริ่มต้นลงทุนได้เพียง 500 บาท ผ่านแอป K PLUS, K-My Funds, บริการ K-Cyber Invest, ธนาคารกสิกรไทย และผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ตามช่องทางดังกล่าว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 0 2673 3888 ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ