65 ชาติรวมตัวกันเนื่องในวันหลอดเลือดอุดตันโลก 13 ตุลาคม เรียกร้องให้โรงพยาบาลทั่วโลกประเมินความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วย

ข่าวต่างประเทศ Tuesday October 13, 2015 08:22 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

คาร์โบโร, นอร์ทแคโรไลนา--13 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ทั่วโลกจำเป็นต้องเพิ่มความเอาใจใส่และความจริงจังในการรักษาชีวิตของผู้คนหลายแสนคน จึงขอเรียกร้องให้โรงพยาบาลทั่วโลกช่วยกันลดสาเหตุของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ สมาคมการแพทย์ หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ และองค์กรการแพทย์กว่า 300 แห่งใน 65 ประเทศทั่วโลก ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้มีการใช้ระบบสุขภาพที่กำหนดให้โรงพยาบาลต้องทำการประเมินความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (VTE) ซึ่งเกิดขึ้นในหลอดเลือดดำที่ขาและปอด โดยโครงการความปลอดภัยผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำคือสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ในโรงพยาบาลทั่วโลก แซงหน้าการติดเชื้อและโรคปอดบวม[i] โลโก้ - http://photos.prnewswire.com/prnh/20151009/275835 วันหลอดเลือดอุดตันโลก (World Thrombosis Day: WTD) จัดขึ้นโดย International Society on Thrombosis and Haemostasis (ISTH) ในวันที่ 13 ตุลาคม เพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะหลอดเลือดอุดตันอันเกิดจากลิ่มเลือด ซึ่งคร่าชีวิตผู้ป่วย 1 ใน 4 ทั่วโลก[ii] - ทั่วโลกพบผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำประมาณ 10 ล้านรายในแต่ละปี[iii] - ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ประชากรมากกว่า 600,000 คนเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำทุกปี ซึ่งมากกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม เอดส์ และอุบัติเหตุบนท้องถนนรวมกันทั้งหมด[iv],[v] ปัจจุบัน ระบบสุขภาพส่วนใหญ่ยังไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลต้องทำการประเมินผู้ป่วยว่ามีความเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำหรือไม่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำมากถึง 60% เกิดขึ้นในโรงพยาบาล[vi] หากมีการบังคับใช้แนวปฏิบัตินี้ในโรงพยาบาล จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำในหมู่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้[vii] "ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ไม่ว่าจะเข้ารับการผ่าตัดหรือรักษาอาการเจ็บป่วยใดๆก็ตาม" ดร.แกรี ราสคอป คณบดีวิทยาลัยสาธารณสุขแห่ง University of Oklahoma Health Sciences Center และประธานคณะกรรมการอำนวยการวันหลอดเลือดอุดตันโลก กล่าว "ทุกคนควรรู้ว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคือปัจจัยเสี่ยงหลักในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ และโรงพยาบาลมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำในผู้ป่วยทุกคน และควรนำผลการประเมินมาใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้มาตรการป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ" มีประชากรวัยผู้ใหญ่เพียงแค่ 25% ทั่วโลกที่คิดว่าการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคือปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ดังที่ระบุในผลการสำรวจ 9 ประเทศที่บริษัทสำรวจความคิดเห็นระดับโลกอย่าง Ipsos จัดทำให้ ISTH และเผยแพร่ไปเมื่อช่วงต้นปีใน Journal of Thrombosis and Haemostasis [viii] โดยเป็นการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,233 คน ซึ่งถือเป็นการสำรวจระดับนานาชาติครั้งใหญ่ที่สุดในบรรดาการสำรวจในลักษณะเดียวกัน สำหรับกิจกรรมวันหลอดเลือดอุดตันโลกนั้น นอกเหนือจากการเรียกร้องให้โรงพยาบาลและระบบสุขภาพทำการประเมินดังกล่าวแล้ว ยังมีการให้ความรู้กับประชาชน และรณรงค์ให้ผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอรับการประเมินความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำหมายรวมถึง - ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน (DVT) คือการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึก (ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ขา) และ - ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (PE) คือการที่ลิ่มเลือดหลุดเข้าไปอุดกั้นในปอด ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตรายถึงชีวิตและต้องได้รับการรักษาในทันที ประชาชนจำเป็นต้องทราบถึงสัญญาณและอาการต่างๆที่อาจบ่งชี้ถึงภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ - ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขาอุดตัน: ตัวบ่งชี้ภาวะดังกล่าวประกอบด้วย อาการเจ็บ/อาการกดเจ็บ หรืออาการบวมซึ่งมักเริ่มที่น่อง รอยแดงหรือสีผิวที่ขาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และ/หรืออาการร้อนที่ขา - ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด: ตัวบ่งชี้ภาวะดังกล่าวประกอบด้วย อาการหายใจไม่ทั่วปอดหรือหายใจเร็วโดยหาสาเหตุไม่ได้ อาการเจ็บหน้าอก (บางครั้งเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ) หัวใจเต้นเร็ว และ/หรือมีอาการวิงเวียนคล้ายจะเป็นลมหรือหมดสติ แม้อาการดังกล่าวอาจไม่ได้บ่งชี้ถึงภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำเสมอไป แต่บุคลากรทางการแพทย์ก็ควรประเมินผู้ป่วยในทันที สามารถเข้าชมเว็บไซต์ WorldThrombosisDay.org เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ รวมถึงสัญญาณและอาการต่างๆ ปัจจัยเสี่ยงหลัก ตลอดจนแนวทางการป้องกัน และสามารถรับชมวิดีโอเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำได้ที่ https://youtu.be/GfPfqMF03w8 อ้างอิง: [i] Jha AK, Larizgoitia I, Audera-Lopez C, Prasopa-Plaizier N, Waters H, Bates DW. The global burden of unsafe medical care: analytic modelling of observational studies. BMJ Qual Saf 2013; 22: 809-15. [ii] Lozano R, Naghavi M, Foreman K, Lim S, Shibuya K, Aboyans V, Abraham J, Adair T, Aggarwal R, Ahn SY, Alvarado M, Anderson HR, Anderson LM, Andrews KG, Atkinson C, Baddour LM, Barker-Collo S, Bartels DH, Bell ML, Benjamin EJ, et al. Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010. Lancet 2012; 380: 2095-128. [iii] Jha AK, Larizgoitia I, Audera-Lopez C, Prasopa-Plaizier N, Waters H, Bates DW. The global burden of unsafe medical care: analytic modelling of observational studies. BMJ Qual Saf 2013; 22: 809-15. [iv] Beckman MG, Hooper WC, Critchley SE, Ortel TL. Venous thromboembolism: a public health concern. Am J Prev Med 2010; 38:495-501. [v] Heit JA. Poster 68 presented at American Society of Hematology, 47th Annual Meeting, Atlanta, GA, December 10-13, 2005. [vi] Heit JA. The epidemiology of venous thromboembolism in the community. Arterioscler Thromb Vasc Biol 2008; 28: 370-2. [vii] Catterick D and Hunt BJ. Impact of the national venous thromboembolism risk assessment tool in secondary care in England: retrospective population-based database study. Blood Coagulation and Fibrinolysis 2014; 25: 00-00. [viii] Wendelboe AM, McCumber M, Hylek EM, Buller H, Weitz JI, Raskob G, for the ISTH Steering Committee for World Thrombosis Day. Global public awareness of venous thromboembolism. J Thromb Haemost 2015; 13: 1365–71.
แท็ก สาธารณสุข  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ