ญี่ปุ่นผลิตผลงานวิจัยลดลงในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ผลงานยังคงถูกนำไปอ้างอิงเป็นจำนวนมาก

ข่าวต่างประเทศ Thursday March 23, 2017 14:17 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ฟิลาเดเฟีย--23 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ผลงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีวโมเลกุล และภูมิคุ้มกันวิทยา ปรับตัวลดลงมากที่สุด แต่ยังคงมีผลงานวิจัยระดับท็อปและนักวิจัยชั้นแนวหน้าของโลกในหลายสาขา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Clarivate Analytics Web of Science(TM) ซึ่งได้จากการสำรวจประสิทธิภาพงานวิจัยของญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พบว่า ญี่ปุ่นมีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และตามไม่ทันชาติอื่นๆ ผลการค้นพบดังกล่าวปรากฏอยู่ใน Nature Index ซึ่งศึกษาผลกระทบจากการที่ญี่ปุ่นมีผลงานวิจัยลดลง พร้อมอภิปรายถึงมาตรการต่างๆที่ผู้กำหนดนโยบายภาครัฐและกลุ่มนายทุนกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เพื่อสวนกระแสขาลงดังกล่าว https://mma.prnewswire.com/media/455613/clarivate_logo_for_press_release_Logo.jpg ในปี 2558 นักวิจัยญี่ปุ่นตีพิมพ์ผลงานวิจัยลดลงประมาณ 600 ฉบับเมื่อเทียบกับปี 2548 ในวารสารที่มีอิทธิพลระดับโลกซึ่งถูกผนวกเข้าดัชนีของ Web of Science ถึงแม้ว่าจะลดลงไม่ถึง 1% แต่สัดส่วนผลงานวิจัยของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับทั้งโลกปรับตัวลดลงจากเดิม 8.4% เหลือเพียง 5.2% ขณะที่ยอดการตีพิมพ์ผลงานวิจัยจากจีนและเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงกว่าหลายประเทศที่มีฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เติบโตเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ คาดว่าสัดส่วนผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และญี่ปุ่น จะปรับตัวลดลงอีก เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยผลงานจากประเทศอื่นๆ เดวิด เพนเดิลบิวรี นักวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิงระดับอาวุโสของ Clarivate Analytics กล่าวว่า "ประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีพิเศษ เพราะผลงานวิจัยไม่เพิ่มขึ้นในหลายสาขา โดยมี 11 สาขาที่มียอดตีพิมพ์ผลงานวิจัยลดลงในปี 2558 เมื่อเทียบกับปี 2548 อย่างสาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญมาตั้งแต่อดีต ก็มียอดตีพิมพ์ลดลงกว่า 10% ส่วนสาขาที่มีผลงานวิจัยลดลงมากที่สุดคือชีวเคมีและชีวโมเลกุล วิทยาการคอมพิวเตอร์ และภูมิคุ้มกันวิทยา ทั้งที่เป็นสาขาที่ญี่ปุ่นมีการวิจัยอย่างจริงจัง" ทั้งนี้ ดาราศาสตร์เป็นสาขาเดียวที่ญี่ปุ่นมียอดตีพิมพ์ผลงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ดี คุณเพนเดิลบิวรี เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอยู่มากมาย และยังเป็นผู้นำในหลายสาขา โดยกล่าวว่า "กิจกรรมการวิจัยยังคงมีอะไรให้ค้นพบอีกมากมายตลอดเวลา คล้ายกับการปอกหัวหอมที่จะพบกลีบหัวหอมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ไปเรื่อยๆ" ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลจาก InCites(TM) ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์และเป็นส่วนหนึ่งของ Web of Science ได้แสดงให้เห็นว่า ในส่วนของผลงานวิจัยที่มาจากญี่ปุ่นนั้น ผลงานที่ถูกอ้างอิงติดอันดับท็อป 10% ยังคงมีอย่างสม่ำเสมอในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ผลงานที่ถูกอ้างอิงติดอันดับท็อป 1% ก็เพิ่มขึ้นราว 25% แม้แต่ในสาขาภูมิคุ้มกันวิทยา ที่มีการตีพิมพ์ผลงานลดลงราว 1 ใน 3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็ยังมีจำนวนผลงานระดับท็อป 1% เพิ่มขึ้นจาก 19% เป็น 26% ซึ่งสูงกว่าความคาดหมาย คุณเพนเดิลบิวรียังได้กล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ ซึซึมุ คิตางาวะ แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ผู้วางแนวคิดโลหอินทรีย์, โยชิโนริ โทคุระ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้นำด้านการวิจัยมัลติเฟร์โรอิกและ Correlated Electron Systems และ มาซาทาเกะ ฮารุตะ จากมหาวิทยาลัยนครโตเกียว ผู้บุกเบิกการเร่งปฏิกิริยาด้วยทองคำ โดยคุณเพนเดิลบิวรี กล่าวว่า "Clarivate Analytics ได้แต่งตั้งบุคคลทั้งสาม รวมถึงนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นอีกหลายท่าน ให้เป็น "Citation Laureates" หรือนักวิจัยที่ผลงานถูกนำไปอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จนเราเชื่อว่าอาจมีสิทธิได้รับรางวัลโนเบลในอนาคต" "การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์และข้อมูลอ้างอิงอย่างถี่ถ้วน เป็นวิธีที่เหมาะสมในการกำหนดนโยบายทางวิทยาศาสตร์และระดมทุน ทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การแก้ไขจุดอ่อนและสร้างความแข็งแกร่งด้วย" คุณเพนเดิลบิวรี กล่าว เจสสิกา เทอร์เนอร์ หัวหน้าฝ่ายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิชาการทั่วโลกของ Clarivate Analytics กล่าวว่า "เราตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลและแหล่งอ้างอิงที่แม่นยำและเป็นกลาง ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงประสิทธิภาพของผลงานวิจัย วิวัฒนาการของความคิดหรือการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนอิทธิพลของความคิดใหม่ๆ ในอีกหลายปีจากนี้ ทั้งนี้ เราได้รับใช้ชุมชนวิทยาศาสตร์และวิชาการมานานกว่า 50 ปี ด้วยการมอบข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ การวิเคราะห์การอ้างอิงที่ครอบคลุม รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านบรรณมิติที่สั่งสมมานานกว่า 30 ปี เรายินดีที่ Nature Index ใช้ข้อมูลการอ้างอิงและการวิเคราะห์จาก Web of Science ในการจัดทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับญี่ปุ่นในครั้งนี้" เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Web of Science ได้ที่ http://clarivate.com/scientific-and-academic-research/research-discovery/web-of-science/?utm_source=false&utm_medium=false&utm_campaign=false Clarivate Analytics Clarivate(TM) Analytics ช่วยเร่งกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ให้แก่ลูกค้าทั่วโลก ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถคิดค้น คุ้มครอง และทำการตลาดแนวคิดใหม่ๆได้อย่างรวดเร็วขึ้น Clarivate Analytics ซึ่งในอดีตคือธุรกิจ Intellectual Property & Science ในเครือ Thomson Reuters เป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจต่างๆในรูปแบบให้บริการแก่สมาชิก โดยมุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ การวิเคราะห์สิทธิบัตรและมาตรฐานด้านกฎเกณฑ์ การพัฒนานวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า การคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในตราสินค้า และการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบัน Clarivate(TM) Analytics เป็นบริษัทที่ดำเนินงานอย่างอิสระ มีพนักงานมากกว่า 4,000 คน และมีการดำเนินงานในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งยังเป็นเจ้าของแบรนด์ดังมากมาย เช่น Web of Science(TM), Cortellis(TM), Thomson Innovation(TM), Derwent World Patents Index(TM), CompuMark(TM), MarkMonitor(R) และ Techstreet(TM) เป็นต้น สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Clarivate.com โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/455613/clarivate_logo_for_press_release_Logo.jpg

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ