บทความน่ารู้จาก Exim: เกาะติดการเปลี่ยนแปลงตลาด ICT ของเวียดนาม

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday April 18, 2014 15:06 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า

ในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจเวียดนามเริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากการดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เริ่มประสบผล จนทำให้เศรษฐกิจเวียดนามสามารถขยายตัวได้สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ในปี 2557 นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่อง สะท้อนได้จากคาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2557 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.4 ในปี 2556 ซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่คึกคักขึ้นจะมีส่วนกระตุ้นให้ชาวเวียดนามมีความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะความต้องการสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Ifmati a Cmmuicati Techly : ICT) เนื่องจากเวียดนามเข้าสู่ยุคดิจิตอลและเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้สินค้าประเภทดังกล่าวโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ และแล็บท็อป เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวเวียดนามมากขึ้น สอดคล้องกับรายงาน Vietam ICT 2014 ของ Iteatial Data Cpati (IDC) บริษัทวิจัยตลาด ICT ชั้นนำของโลก ระบุว่าการใช้จ่ายด้าน ICT ในเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.4 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 15.5 ในปี 2557 และมูลค่าตลาด ICT ของเวียดนามจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2557 ซึ่งจะทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีการใช้จ่ายด้าน ICT สูง

ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนอุตสาหกรรม ICT ของเวียดนาม

เวียดนามถือเป็นประเทศที่ใช้ระยะเวลาไม่นานนักในการเริ่มต้นบุกเบิกอุตสาหกรรม ICT จนประสบความสำเร็จอย่างเช่นในปัจจุบัน ทำให้เวียดนามถูกจับตามองจากทั่วโลกถึงความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT แบบก้าวกระโดด โดยเวียดนามสามารถก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้า ICT ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูมิภาค สะท้อนได้จากการเข้ามาลงทุนของบริษัทผู้ผลิตสินค้า ICT ชั้นนำของโลกหลายราย อาทิ IBM, Micsft, Cmpaq และ Itel เป็นต้น

ปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้อุตสาหกรรม ICT ของเวียดนามขยายตัวอย่างโดดเด่น คือ นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ICT ของรัฐบาลเวียดนาม ที่สำคัญ อาทิ การเร่งผลิตบุคลากรในสาขา ICT การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคและนิคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ รวมทั้งการยกเว้นภาษีและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม ICT นโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลเวียดนามในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรม ICT นอกจากนี้ ในปี 2555 นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ลงนามอนุมัติแผนพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมแห่งชาติไปจนถึงปี 2563 ซึ่งมีส่วนกระตุ้นอุตสาหกรรม ICT ของเวียดนามอย่างมีนัยสำคัญ โดยแผนดังกล่าวตั้งเป้าให้ราวร้อยละ 40-45 ของครอบครัวทั้งหมดในเวียดนามสามารถเข้าถึงโทรศัพท์พื้นฐาน (Lalies) และอินเทอร์เน็ตภายในปี 2558 โดยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55-60 ภายในปี 2563 ขณะที่ร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดจะสามารถเข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์มือถือภายในปี 2558 และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95 ภายในปี 2563 รวมทั้งมีการกำหนดให้ Vietam Psts a Telecmmuicati Gup (VNPT) รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ดำเนินการปรับโครงสร้างและจัดระบบองค์กรใหม่ รวมถึงให้มีการแปรรูปหรือควบรวมกิจการของบริษัทย่อยที่เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบันมีระดับการแข่งขันที่สูงมาก ล่าสุดรัฐบาลเวียดนามอนุมัติแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยจะขายหุ้นบริษัท MbiFe รัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ VNPT ให้กับภาคเอกชน

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภาวะตลาด ICT ของเวียดนามในปี 2557

ภาวะตลาด ICT ของเวียดนามเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ปัจจุบันการแข่งขันในตลาด ICT มีความท้าทายมากกว่าในอดีต ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาคเศรษฐกิจของเวียดนามที่เผชิญความยากลำบากมากขึ้นทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคของชาวเวียดนามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งภาคธุรกิจที่ต้องปรับตัวหลังจากเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากการบุกตลาดของบริษัทชั้นนำระดับโลก ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เป็นที่คาดว่าภาวะตลาด ICT ของเวียดนามในปี 2557 จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สำคัญ มีดังนี้

  • สมาร์ทโฟนแบรนด์ท้องถิ่นจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง ในช่วงที่ผ่านมาภาวะการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนกลุ่มราคาประหยัดในเวียดนามยังรุนแรงไม่มากนัก โดยคู่แข่งในตลาดส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ท้องถิ่นด้วยกัน อาทิ Viettel, Q-Smat และ MbiiSta อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดว่าในปี 2557 สมาร์ทโฟนแบรนด์ท้องถิ่นของเวียดนามจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นจากสมาร์ทโฟนแบรนด์ต่างชาติที่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มสมาร์ทโฟนราคาประหยัด
  • ความนิยมเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือเพิ่มสูงขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากโทรศัพท์มือถือในปจจุบันที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การเล่นเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2556 ผู้เล่นเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือในเวียดนามมีจำนวน 2.68 ล้านคน และเป็นที่คาดว่าในปี 2557 จำนวนผู้เล่นเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม ตลาดเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือในเวียดนามยังคงถูกกดดันจากอัตราค่าใช้บริการ 3G ที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นปจจัยฉุดรั้งการขยายตัวของตลาดเกมส์ออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ
  • ความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวียดนามยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2556 ความต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวียดนามขยายตัวราวร้อยละ 20 จากปีก่อน และเป็นที่คาดว่าความต้องการดังกล่าวจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2557 โดยความต้องการที่เพิ่มขื้นจะมาจากผู้บริโภคในเมืองเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนาม อาทิ นครโฮจิมินห์ จังหวัด Hai Ph และจังหวัด Ca Th รวมทั้งธุรกิจที่จัดตั้งใหม่
  • บริษัทโทรคมนาคมส่วนใหญ่เริ่มมองหาพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นเสริม (Ove-the-Tp Pvies : OTTPs) เนื่องจากปัจจุบันบริษัทโทรคมนาคมในเวียดนามต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ หลังจากผู้ใช้บริการชาวเวียดนามยกเลิกการใช้บริการส่งข้อมูลแบบดั้งเดิมทั้ง SMS (Sht Messae Sevice) และ MMS (Multimeia Messae Sevice) และหันไปใช้บริการส่งข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นเสริมแทน เนื่องจากผู้ใช้บริการสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก ทำให้ในปี 2557 จะมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัทโทรคมนาคมท้องถิ่นของเวียดนามกับ OTTPs มากขึ้น
  • การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาธุรกิจแบบเชื่อมโยง (Ecsystem) เริ่มเด่นชัดขึ้น โดยในปี 2557 ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในเวียดนามจะมีการลงนามในข้อตกลงกับพันธมิตรทางธุรกิจในการพัฒนาธุรกิจแบบเชื่อมโยงเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยความเชี่ยวชาญและจุดแข็งของแต่ละฝายในการพัฒนาให้เกิดบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมความต้องการใช้ของผู้บริโภค ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2556 MbiFe ได้ลงนามในข้อตกลงทางธุรกิจร่วมกับ FPT Sftwae และ Samsu เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์พกพาหรือแพลตฟอร์มเคลื่อนที่ (Mbile Platfm) ร่วมกัน นับเป็นการลงนามในข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Sevice Pvie) ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ครบวงจรทางด้านซอฟต์แวร์ (Sluti Pvie) และผู้จำหน่ายอุปกรณ์สื่อสาร (Device Ve) เป็นครั้งแรกของเวียดนาม
  • เวียดนามก้าวเข้าสู่ยุคระบบปฏิบัติการขั้นที่ 3 (Thi Platfm) นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่าในช่วงที่ผ่านมาทางการเวียดนามให้ความสำคัญกับการพัฒนา ICT อย่างจริงจัง จนทำให้ปัจจุบันเวียดนามได้ก้าวเข้าสู่ ICT ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่ายุคของระบบปฏิบัติการขั้นที่ 3 [ซึ่งประกอบด้วย Clu Cmputi (ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) Bi Data และ Mbility a Scial] ซึ่งการเข้าสู่ยุคดังกล่าวจะมีส่วนสนับสนุนให้เวียดนามสามารถพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมและประเทศที่ทันสมัยมากขึ้นโดยเฉพาะหลังจากการรวมตัวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Ecmic Cmmuity : AEC) ในปี 2558 เนื่องจากระบบปฏิบัติการขั้นที่ 3 จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

อุตสาหกรรม ICT ของเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย อาทิ กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่สายการผลิต โดยอาศัยจุดแข็งจากทั้งความชำนาญในการผลิตและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมานาน รวมถึงผู้ประกอบการในภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรืออินเทอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งนี้ แม้การเติบโตที่รวดเร็วมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง แต่ผู้ประกอบการไทยสามารถเตรียมตัวโดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดก่อนวางกลยุทธ์ในการเจาะตลาด ICT ในเวียดนาม เพื่อให้แต่ละก้าวในการเริ่มต้นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และการเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด

--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--


แท็ก เวียดนาม   ICT  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ