พัฒนาการรถไฟความเร็วสูงของจีน ... มาเร็ว มาแรง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 26, 2010 16:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ปู๊น ปู๊น ฉึกฉัก ฉึกฉัก ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง ... ในไม่กี่ปีข้างหน้า รถไฟหวานเย็นในจีนกำลังจะหมดไปและกลายเป็นของเก่ามีค่าที่ควรเก็บขึ้นหิ้งเท่านั้น!

การเดินทางโดยรถไฟระหว่างเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย (Hubei) ตอนกลางของจีนไปยังนครกวางโจว (Guangzhou) มณฑลกวางตุ้ง ศูนย์กลางบริเวณตอนใต้ของจีนที่มีระยะทางรวมกว่า 1,000 กิโลเมตร ซึ่งเคยใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมงในอดีต ลดลงเหลือเพียง 3 ชั่วโมงในปัจจุบัน หากคิดคานวณเวลาการเดินทางไปสนามบิน การตรวจเช็คอิน นั่งรอทั้งที่สนามบินและบนเครื่อง และเดินทางจากสนามบินเข้าเมืองด้วยแล้ว ก็ทาให้การเดินทางโดยเครื่องบินระหว่างเมืองดังกล่าวใช้เวลาพอ ๆ กับของรถไฟความเร็วสูง ยิ่งหากพิจารณารวมถึงค่าใช้จ่ายที่ประหยัดลง ก็เชื่อว่าการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงจะเป็นที่นิยมแพร่หลายในจีนในอนาคต ประการสาคัญ เหตุการณ์เช่นนี้จะมิได้จากัดมีอยู่แต่เฉพาะระหว่างเมืองดังกล่าวเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นในทุกเมืองใหญ่ทั่วจีน ขณะที่รัฐบาลจีนก็สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านลอจิสติกส์ในการเคลื่อนย้ายคนได้อีกมากตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจะช่วยกระจายความเจริญ ลดอัตราการใช้พลังงาน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนได้ในอีกหลายภาคส่วน

นับแต่รถไฟความเร็วสูงเส้นทางระหว่างเมืองอู่ฮั่น-กวางโจวซึ่งมีระยะทางยาวที่สุดของจีนในปัจจุบันเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2552 ผู้คนในจีนต่างให้ความสนใจใช้บริการกันอย่างล้นหลาม เฉพาะช่วงวันหยุดแรงงานเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็พบว่ามีผู้คนใช้บริการถึงกว่า 270,000 คน ทำลายสถิติจำนวนผู้โดยสารระหว่างเส้นทางดังกล่าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นอกจากนี้ เมืองเฉินโจว (Chenzhou) ที่เคยถูกมองข้ามและมีประสบการณ์ที่ขมขื่นเมื่อครั้งจีนประสบปัญหาพายุหิมะเมื่อไม่กี่ก่อน ก็ได้รับอานิสงค์มากมายจากการเป็นเมืองทางผ่านของเส้นทางรถไฟสายนี้ เพียงไม่กี่เดือนหลังจากรถไฟสายนี้เปิดให้บริการ นักท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว การค้าขายและการขนส่งสินค้าเข้าออกเมืองที่เคยหยุดนิ่งก็ขยายตัวขึ้นเป็นทวีคูณ

จากข้อมูลกระทรวงการรถไฟ (Ministry of Railways: MOR) ของจีน รถไฟความเร็วสูงดังกล่าวใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากกว่ารูปแบบการขนส่งอื่นมาก โดยปัจจุบัน ภาคการขนส่งทางรถไฟให้บริการถึงร้อยละ 50 ของจำนวนผู้โดยสารโดยรวมของจีน และมีการบริโภคไม่ถึงร้อยละ 20 ของปริมาณการใช้พลังงานของจีน การใช้รถไฟความเร็วสูงของจีนจึงเป็นวิธีการประหยัดพลังงานและลดภาวะมลพิษที่ดีในอีกทางหนึ่ง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนได้เปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง (China Railway High-speed: CRH) ในหลายเส้นทาง อาทิ ปักกิ่ง (Beijing)-เทียนจิน (Tianjin) ที่ใช้รถไฟรุ่น CRH3 ซึ่งถือเป็นต้นแบบระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนในปัจจุบัน ไล่ไปถึงเส้นทางปักกิ่ง-ไท่หยวน (Taiyuan) ของมณฑลซานสี (Shanxi) เจิ้งโจว (Zhengzhou) ในมณฑลเหอหนาน-ซีอาน (Xi’an) ในมณฑลซ่านซี (Shanxi) และเหอเฝย (Hefei) ของมณฑลอันฮุย (Anhui)-เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) รถไฟในบางเส้นทางวิ่งความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ในบางเส้นทางก็ให้บริการด้วยความเร็วถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนที่ให้บริการในปัจจุบัน

เส้นทางรถไฟความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

          เส้นทาง            ระยะทาง (กิโลเมตร)            วันที่เปิดให้บริการ
          ปักกิ่ง-เทียนจิน           120                      1 สิงหาคม 2551
          อู่ฮั่น-กวางโจว           1,069                    26 ธันวาคม 2552
          เจิ้งโจว-ซีอาน           485                      27 มกราคม 2553

เส้นทางรถไฟความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

          เส้นทาง           ระยะทาง (กิโลเมตร)             วันที่เปิดให้บริการ
          เหอเฝย-อู่ฮั่น            350                      1 เมษายน 2552
          สือเจียจวง              212                      1 เมษายน 2552
          เหอเฝย-หนานจิ          166                      18 เมษายน 2552
          จี่หนาน-ชิงเต่า           394                      20 ธันวาคม 2551
          หนิงโปว-เวินโจว         268                      28 กันยายน 2552
          เวินโจว-ฟูโจว           302                      28 กันยายน 2552
          ฟูโจว-เซี่ยะเหมิน         276                      26 เมษายน 2553

จากสถิติของกระทรวงการรถไฟของจีน ระบุว่า ปัจจุบันจีนมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงรวมระยะทางทั้งสิ้นถึง 7,055 กิโลเมตร ซึ่งยาวกว่าประเทศใด ๆ ในโลก ขณะเดียวกันพัฒนาการของเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนก็รุดหน้าไปมาก แม้ว่าเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงจะถือกำเนิดจากญี่ปุ่น เยอรมนี และฝรั่งเศส แต่จีนสามารถต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวของตนเองขึ้นได้อย่างยอดเยี่ยมจนเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกในปัจจุบัน รถไฟความเร็วสูงของจีน “CRH” นับเป็นรถไฟที่ให้บริการด้วยความเร็วที่สูงที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับของชินคันเซ็น (Shinkanshen) ของญี่ปุ่น และรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสและเยอรมนี ที่แล่นด้วยความเร็ว 300, 320 และ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามลาดับ แม้กระทั่ง การประชุมระดับโลกด้านรถไฟความเร็วสูง (World Congress on High Speed Rail) ครั้งที่ 7 ก็จะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งในเดือนธันวาคม 2553

นอกจากนี้ ภายหลังความสำเร็จในการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางเซี่ยงไฮ้-หนานจิงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 ล่าสุด การรถไฟของจีนยังได้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงรุ่น CRH380A สายใหม่เชื่อมสถานีรถไฟหงเฉียว (เซี่ยงไฮ้)-หังโจว ระยะทาง 160 กิโลเมตร โดยทดลองวิ่งไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 416.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนับว่าเป็นการทดลองวิ่งที่เร็วที่สุดในโลก เร็วกว่าเมื่อครั้งรถไฟความเร็วสูงสายแรกปักกิ่ง-เทียนจินทดลองวิ่งเสียอีก เพราะครั้งนั้นทำสถิติไว้ที่ 394.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และด้วยความเร็วระดับดังกล่าวก็นับว่าเป็นน้อง ๆ ความเร็วของรถไฟแม่เหล็กไฟฟ้า (Maglev) ที่วิ่งเชื่อมสนามบินนานาชาติผู่ตง-สถานีหลงหยาง (ผู่ตง) ที่นครเซี่ยงไฮ้เลยทีเดียว โดยคาดว่ารถไฟสายนี้จะเปิดให้บริการได้ในราวสิ้นเดือนตุลาคม ศกนี้ด้วยความเร็วปกติประมาณ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะช่วยระยะเวลาเดินทางจากเดิมไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง และขนส่งผู้โดยสารระหว่างสองเมืองดังกล่าวประมาณ 80 ล้านคนต่อปี

ระยะเวลาเดินทางทางรถไฟจากกรุงปักกิ่ง

          1 ชั่วโมง          2 ชั่วโมง           3 ชั่วโมง           4 ชั่วโมง
          เทียนจิน           เจิ้งโจว            หนานจิง            เซี่ยงไฮ้
          สือเจียจวง         จี่หนาน             เหอเฝย            หังโจว
                           เสิ่นหยาง           ฉางชุน             อู่ฮั่น
                           ไท่หยวน            ต้าเหลียน           ซีอาน

ฮาร์บิน

พัฒนาการของรถไฟความเร็วสูงของจีน

จากคำสัมภาษณ์ของนายเหอ หัวหวู่ (He Huawu) วิศวกรใหญ่วัย 55 ปีของกระทรวงการรถไฟจีน พบว่า จีนมีการกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงมาหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ แต่การพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2537

ในปี 2535 นายเหอได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานการพัฒนารถไฟของยุโรปร่วมกับคณะผู้แทนกระทรวงการรถไฟจีน ในครั้งนั้น เขาประทับใจที่ได้มีโอกาสนั่งรถไฟความเร็วสูง (273 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ผ่าน Eurotunnel ที่เชื่อมระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ขณะที่รถไฟในจีนส่วนใหญ่วิ่งด้วยความเร็วเพียง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น เขาได้นึกฝันว่าวันหนึ่งประเทศของตนจะมีรถไฟความเร็วสูงเช่นนั้นบ้าง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในจีน

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 รถไฟจีนมีขีดความสามารถในการรองรับไม่ถึงครึ่งหนึ่งของความต้องการขนส่งสินค้าในจีน ซึ่งฉุดรั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน การดำเนินการก่อสร้างก็เต็มไปด้วยขวากหนาม ทั้งข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยีและงบประมาณ จนกระทั่งปี 2547 รัฐบาลกลางจึงได้ประกาศเดินหน้าโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงและผลักดันนวัตกรรมทางเทคโนโลยีรถไฟ รวมทั้งอนุมัติให้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางปักกิ่ง-เทียนจินและให้สามารถเปิดบริการได้ภายใน 5 ปี โดยวิศวกรเหอได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการออกแบบและก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในครั้งนั้น

วันที่ 1 สิงหาคม 2551 นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งยุครถไฟความเร็วสูงของจีนเมื่อรถไฟเส้นทางปักกิ่ง-เทียนจินเปิดให้บริการเป็นครั้งแรก และนับว่าเปิดให้บริการ 1 ปีก่อนหน้ากาหนดการที่รัฐบาลวางไว้ ว่าง่าย ๆ เพียงราว 15 ปีนับแต่ที่นายเหอเดินทางไปดูงานที่ยุโรป ความฝันของเขาที่อยากเห็นรถไฟความเร็วสูงให้บริการในจีนก็เป็นจริง และนับแต่นั้นมา การก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางแล้วเส้นทางเล่าก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การเพิ่มบริการดังกล่าวส่งผลให้การเดินทางของชาวจีนได้รับความสะดวก ประหยัดเงินและเวลา และลดแรงกดดันอันเนื่องจากขีดความสามารถในการให้บริการที่ไม่เพียงพอ ตู้โดยสารรถไฟที่เคยอัดผู้โดยสารแน่นเป็นปลากระป๋องเมื่อหลายปีก่อนกำลังหมดไป

รัฐบาลจีนยังได้ออกนโยบายเชิงรุกเพื่อกระตุ้นการพัฒนารถไฟ ทั้งในรูปของขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติ การให้สินเชื่อ การประเมินราคาที่ดิน การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการวิจัยและพัฒนา ขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ให้ความร่วมมืออานวยความสะดวกสาหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลที่คาดว่าจะได้รับจากมาตรการดังกล่าว โดยในปี 2553 คาดว่ารัฐบาลจีนจะทุ่มเงินถึง 700,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 100,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเป็นระยะทางกว่า 4,600 กิโลเมตร ซึ่งจะทาให้จีนมีรางรถไฟความเร็วสูงเป็นระยะทางกว่า 11,000 กิโลเมตรภายในสิ้นปี 2553 เพิ่มจากประมาณ 6,500 กิโลเมตรในปัจจุบัน

ผลจากการที่แต่ละโครงการพัฒนารถไฟดำเนินไปอย่างรวดเร็วและหลายโครงการเสร็จก่อนกำหนด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดล่าสุด ก็คือ การประกาศของกระทรวงการรถไฟเมื่อต้นปี 2553 ว่า เส้นทางรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 1,318 กิโลเมตรที่เชื่อมระหว่างกรุงปักกิ่ง-นครเซี่ยงไฮ้จะเปิดให้บริการในปลายปี 2554 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเวลาเดิมถึง 1 ปี เส้นทางนี้จะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างสองมหานครที่สำคัญที่สุดของจีนจาก 10 ชั่วโมงลงเหลือเพียง 4 ชั่วโมงเศษเท่านั้น

ดังนั้น หากใครได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถไฟความเร็วสูง 4 รายสำคัญของจีนในช่วงนี้ จะพบว่า พื้นที่โรงงานที่เคยว่างเปล่าในอดีตกลับคราคร่าไปด้วยเครื่องจักรเครื่องมือ คนงาน และแม้กระทั่งคนเยี่ยมชมโรงงานที่เร่งประกอบหัวรถจักรและห้องโดยสารของรถไฟเพื่อนำส่งเมืองต่าง ๆ ของจีนและประเทศผู้ซื้อจากทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐฯ ออสเตรีย รัสเซีย และอีกหลายประเทศในยุโรป เอเซีย (เช่น ไทยเวียตนาม อินโดนีเซีย ปากีสถาน) และตะวันออกกลาง (เช่น อิหร่าน และซาอุดิอารเบีย)

ทิศทางในอนาคต

ภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ กระทรวงการรถไฟจีนยังกาลังเร่งก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงเมืองหลักในอีกหลายเส้นทาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยประกาศเมื่อปีที่ผ่านมาว่าจะดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มอีก 13,000 กิโลเมตรให้ครบ 42 สายภายในปี 2555 ซึ่งจะทาให้จีนมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงรวมเกือบ 20,000 กิโลเมตรเชื่อมโยงเมืองหลักส่วนใหญ่ของจีนได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ ตามแผนแม่บทการพัฒนาเส้นทางรถไฟของจีนระบุว่า ภายในปี 2563 หรือประมาณ 10 ปีจากนี้ไป โครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในจีนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 กิโลเมตร เชื่อมโยงเมืองเอกของแต่ละมณฑลและเมืองที่มีจานวนประชากรมากกว่า 500,000 คนไว้ทั้งหมด ซึ่งเท่ากับว่าประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของจีนจะสามารถใช้บริการรถไฟดังกล่าวได้อย่างสะดวกสบาย

กระทรวงการรถไฟจีนยังให้ข้อมูลอีกว่า จีนจะเร่งสร้างโครงข่ายรถไฟอย่างแพร่หลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ผู้โดยสารและสินค้าจะสามารถขนส่งได้อย่างเสรีและสะดวกโดยปราศจากอุปสรรค ตามแผนแม่บทการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลจีนที่กำหนดไว้เมื่อปี 2547 ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงของจีนจะมี 4 เส้นทาง “เหนือ-ใต้” และอีก 4 เส้นทาง “ตะวันออก-ตะวันตก”

เส้นทาง “เหนือ-ใต้” ทั้ง 4 ประกอบด้วย

1. เส้นทาง ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เป็นระยะทางยาว 1,318 กิโลเมตร

2. เส้นทาง ปักกิ่ง-อู่ฮั่น-กวางโจว-เสิ่นเจิ้น (ฮ่องกง) ระยะทางยาว 2,350 กิโลเมตร

3. เส้นทาง ปักกิ่ง-เสิ่นหยาง-ฮาร์บิน เป็นระยะทางยาว 1,612 กิโลเมตร

4. เส้นทาง เซี่ยงไฮ้-หังโจว-หนิงโปว-ฝูโจว-เสิ่นเจิ้น เป็นระยะทางยาว 1,650 กิโลเมตร

ขณะที่เส้นทาง “ตะวันออก-ตะวันตก” ประกอบด้วย

1. เส้นทาง ชิงเต่า-สือเจียจวง-ไท่หยวน เป็นระยะทางยาว 906 กิโลเมตร

2. เส้นทาง สูโจว-เจิ่นโจว-หลานโจว เป็นระยะทางยาว 1,346 กิโลเมตร

3. เส้นทาง เซี่ยงไฮ้-หนานจิง-อู่ฮั่น-ฉงชิ่ง-เฉิงตู เป็นระยะทางยาว 1,922 กิโลเมตร

4. เส้นทางเซี่ยงไฮ้-หังโจว-หนานชาง-ฉางซา-คุนหมิง เป็นระยะทางยาว 2,264 กิโลเมตร

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองรองในแต่ละมณฑลและมหานคร อาทิ ย่านริมฝั่งทะเลโป๋วไฮ่ ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ฉงชิ่ง และเฉิงตู แถมล่าสุดเมื่อปลายปี 2552 รัฐบาลจีนยังได้ประกาศที่จะทุ่มเงินก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านอุโมงค์ใต้ทะเลระยะทางยาวกว่า 55 กิโลเมตรเชื่อมระหว่างมณฑลฝูเจี้ยน-เมืองทางตอนเหนือของเกาะไต้หวันอีกด้วย ซึ่งจะทำลายสถิติเป็นอุโมงค์ใต้ทะเลที่ยาวที่สุดในโลกอีกครั้ง เส้นทางย่อยที่วางแผนไว้เหล่านี้จะเชื่อมโยงไปยังเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 8 เส้นทางหลักดังกล่าว

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

  • ฮาร์บิน-ต้าเหลียน เพื่อเชื่อมฮาร์บิน-เสิ่นหยาง และต้าเหลียนในอีสานจีน ระยะทาง 950 กิโลเมตร ความเร็วระหว่าง 300-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2556
  • ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เพื่อเชื่อมมหานครทั้งสอง ผ่านจี่หนาน ซูโจว และหนานจิง ระยะทาง 1,318 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2554
  • ปักกิ่ง-กวางโจว เพื่อเชื่อมกรุงปักกิ่งและกวางโจว ศูนย์กลางทางตอนใต้ของจีน ผ่านสือเจียจวง อู่ฮั่น และฉางซา ระยะทาง 2,200 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟท่อนกวางโจว-อู่ฮั่นได้เปิดให้บริการแล้ว และส่วนที่เหลือคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2555
  • เซี่ยงไฮ้-เซินเจิ้น เพื่อเชื่อมเมืองสาคัญริมชายฝั่งทะเลด้านซีกตะวันออกของจีน จากศูนย์กลางทางธุรกิจในด้านซีกตะวันออก ผ่านหังโจว หนิงโปว ฝูโจว อู่ฮั่น ก่อนเข้าเซินเจิ้น ระยะทาง 1,650 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2554
  • ชิงเต่า-ไท่หยวน เพื่อเชื่อมพื้นที่ด้านซีกตะวันออกและภาคเหนือ โดยผ่านสือเจียจวง ระยะทาง 770 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟท่อนสือเจียจวง-ไท่หยวนและชิงเต่า-จี่หนานได้เปิดให้บริการแล้ว และส่วนที่เหลือคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2563
  • สูโจว-หลานโจว เพื่อเชื่อมสูโจว เจิ้งโจว ซีอาน และหลานโจว ระยะทาง 1,400 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟช่วงเจิ้งโจว-ซีอานได้เปิดให้บริการแล้ว และส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการดาเนินการ ทั้งนี้มิได้กาหนดช่วงเวลาที่โครงการจะแล้วเสร็จ
  • เซี่ยงไฮ้-เฉิงตู เป็นเส้นทางรถไฟควมเร็วสูงตามแนวแม่น้าแยงซีเกียง เชื่อมตะวันออกและตะวันตกจากเซี่ยงไฮ้ หนานจิง เหอเฝย อู่ฮั่น ฉงชิ่ง และเฉิงตู ระยะทางรวม 1,900 กิโลเมตร ความเร็วระหว่าง 200-350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2554
  • เซี่ยงไฮ้-คุณหมิง โดยเชื่อมผ่านหังโจว หนานชาง และฉางซา ระระทางยาวถึง 2,264 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2558

ภายหลังจากที่การพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ ผู้โดยสารรถไฟในจีนจะใช้เวลาเดินทางจากกรุงปักกิ่งไปยังเมืองสำคัญในแต่ละมณฑลของจีนได้ภายในเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง!

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

สคร. ณ นครเซี่ยงไฮ้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ