ข้อมูลประเทศไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 27, 2009 15:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง         :  Taipei (ไทเป)
สินค้า/บริการสำคัญ   :  เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
เมืองท่า           :  Kaohsiung (เกาสง) ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมน้ำมัน

อุตสาหกรรมต่อเรือ อุตสาหกรรมประมง

Keelung (จีหลง) ท่าเรือสำคัญทางภาคเหนือ เมืองเศรษฐกิจอื่นๆ สำคัญ : Taichung (ไทจง) สินค้าบริการ (สปา, ร้านอาหาร) สินค้าเครื่องจักรกล

ท่าเรือสำคัญทางภาคกลาง

Hsin Chu (ซินจู๋) อุตสาหกรรมไฮเทค ขนาดพื้นที่

มีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดพื้นที่เล็กกว่าไทยประมาณ 14 เท่า ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ รวม 172 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา รองลงมาได้แก่เกาะเผิงหู ( Penghu ) จินเหมิน ( Kinmen ) และมาจู่ ( Matsu )

ประชากร

จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ไต้หวันมีประชากรทั้งสิ้น 23,063,027 คน

ทรัพยากรธรรมชาติ

ไต้หวันจัดได้ว่ามีทรัพยากรธรรมชาติน้อยมาก ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินปูน หินอ่อนและใยหิน ในอดีตเคยมีแร่ทองคำ หยก ถ่านหิน แต่ปัจจุบันถูกขุดจนหมดแล้ว

เชื้อชาติ

ชาวไต้หวันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนและกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากในราว ศตวรรษที่ 18 และ 19 และมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอีกระลอกหนึ่งในช่วงหลังปี 1945 ซึ่งมาพร้อมกับการถอยร่นของ รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นำโดยนายพลเจียงไคเช็ค กล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมดเป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่น (Han) มีชาวเผ่าพื้นเมือง ประมาณ 4 แสนกว่าคนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมและภาษาเกือบหมด จนรัฐบาลต้องอนุรักษ์วัฒนธรรม ของชนพื้นเมืองเหล่านั้นไว้

ศาสนา

ประชากรที่มีความเชื่อทางศาสนามีประมาณ 18.72 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 81.8 ของประชากรทั้งหมด โดย มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดคือร้อยละ 43.2 รองลงมาได้แก่ลัทธิเต๋า ร้อยละ 40.6 อี้กวันเต้า (Yi Guan Dao) ร้อยละ 4.3 นิกายโปแตสแตนท์ ร้อยละ 3.2 นิกายโรมันคาทอลิคร้อยละ 1.6

ภาษา

ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาจีนกลาง (Mandarin Chinese) ภาษาจีนฮกเกี้ยนแบบไต้หวัน (Minnanese or Taiwanese) ส่วนภาษาที่ใช้ในธุรกิจคือ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนไต้หวัน และ ภาษาอังกฤษ

ระบอบการปกครอง

มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (Constitutional Democracy) และมีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรี (Premier) เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลบริหาร ประเทศ

ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนและเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีประธานาธิบดีอยู่ใน ตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอยู่ได้ไม่เกิน 2 เทอม เช่นเดียวกับประธานาธิบดีสหรัฐ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนาย หม่าอิงจิ่ว (Photo: GIO, Taiwan)ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศและสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 20 พฤษภาคม 2551

โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วย 5 สภาคือ สภาบริหาร (Executive Yuan)(ซึ่งแบ่งเป็น 8 กระทรวงและอีก 28 หน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ) สภานิติบัญญัติ (Legislative Yuan) สภาตุลาการ (Judical Yuan) สภาสอบคัดเลือก (Examination Yuan) และสภาควบคุม (Control Yuan)

ระบบคมนาคม ขนส่งภายในประเทศ

ท่าเรือสำคัญ ได้แก่ ท่าเรือเกาสง (Kaohsiung Harbor) ท่าเรือจีหลง (Keelung Harbour) ท่าเรือไถจง (Taichung Harbor) ท่าเรือฮวาเหลียน (Hualian Harbor) ท่าเรือซูอ้าว (Suao Harbor) และท่าเรืออันผิง (Anping Harbor)

ท่าอากาศยานสำคัญ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน (Taoyuan International Airport) ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองเกาสง (Kaohsiung International Airport) ท่าอากาศยานนานาชาติ เมืองไทจง (Taichung International Airport) ทางด่วน (Freeways) ไต้หวันมีทางด่วนเชื่อมระหว่างจังหวัด จากเหนือจรดใต้จำนวน 2 สายได้แก่ the Sun Yat-sen Freeway ซึ่งมีความยาว 373 กม. และ Formosa Freeway ซึ่งมีความยาว 432 กม.

รถไฟ (Railway) ไต้หวันมีทางรถไฟวิ่งรอบเกาะส่วนใหญ่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยถึงสิ้นปี 2548 มีความยาวรวม 1,094.4 กม. เป็นระบบรางคู่ 659 กม. ระบบรางเดี่ยว 435.4 กม.

รถไฟความเร็วสูง (High-speed Rail) มีความยาวตลอดสาย 345 กม. เชื่อมต่อระหว่างกรุงไทเป ทางตอนเหนือและเมืองเกาสงทางตอนใต้ โดยใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 90 นาที

ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศไต้หวัน
 ปี            GDP          อัตราเติบโต    GDP per    Private Consumption    จำนวนประชากร    อัตรา      อัตราการ    อัตรา        อัตราแลกเปลี่ยน
          (US$ Million)    ทางเศรษฐกิจ   Capita        Expenditure             (คน)        เงินเฟ้อ    ว่างงาน     ดอกเบี้ย*       ต่อ 1 US$
2007         384,768          5.70      16,855           1.80%             22,828,559     1.80%      3.91%      1.84%         32.443
2008 (r)     391,278          0.06      17,083           2.60%             22,904,787     3.53%      3.91%      1.54%         32.860
2009 (f)     364,026         -4.25      15,841           1.40%             22,979,663    -0.84%      5.96%      1.63%(Apr)    32.898 (Jun 22)

(Jan-May) * Past-due loan ratio of domestic banks

2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ไต้หวันมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งสิ้น 312,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นับเป็นประเทศที่มีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากญี่ปุ่น และ จีน

2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศ (Contribution to Economic Growth)
                              2007(%)      2008(%)      2009 Q1(%)
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ          5.70        0.06         -10.24
ภาคเกษตรกรรม                   -0.03       -0.02          -0.03
ภาคอุตสาหกรรม                    2.83       -0.38          -8.33
   - ภาคการผลิต                  2.71       -0.29          -7.70
ภาคบริการ                        2.90        0.46          -1.88
   - ภาคการค้า                   0.90        0.14          -1.09

2.4  โครงสร้างรายได้ภายในประเทศ (by Economic Activity)
                          2007 (%)    2008 (%)    2009 Q1 (%)
ภาคเกษตรกรรม                1.51        1.69           1.50
ภาคอุตสาหกรรม               27.77       25.04          22.92
   - ภาคผลิต                24.01       21.74          18.73
   - ภาคก่อสร้าง              2.25        2.32           2.52
ภาคบริการ                   70.71       73.27          75.58

2.5  ข้อมูลด้านการลงทุนในประเทศ (โดยสังเขป)

ไต้หวันมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมีบรรยากาศการลงทุนที่ดี ต่อทั้งสำหรับการลงทุนจากในและต่าง ประเทศ โดยในปี 2006 ไต้หวันได้รับการจัดอันดับจาก Business Environment Risk Intelligence (BERI) ให้อยู่ในระดับ 1A ซึ่งเป็นระดับที่มีความเสี่ยงด้านการลงทุนต่ำที่สุดเหมาะแก่การลงทุน โดยไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้ เป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับที่ 6 ของโลก ถือเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากสิงคโปร์และญี่ปุ่น

โดยหากนับรวมตั้งแต่ปี 2495 จนถึงสิ้น 4 เดือนแรกของปี 2552 ไต้หวันมีการลงทุนจากต่างชาติรวมทั้งสิ้น 24,676 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 103,828.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ลงทุนมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.35 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมาได้แก่หมู่เกาะแคริเบียน (สัดส่วนร้อยละ 16.33) และ ญี่ปุ่น (สัดส่วน ร้อยละ 15.32) และหากนับเฉพาะในปี 2551 มีการลงุทนจากต่างชาติทั้งสิ้น 1,845 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 8,237.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 46.38 จากปีก่อนหน้า 2.6 กฎระเบียบด้านการลงทุนในประเทศ (โดยสังเขป)

การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่ลงทุนโดยชาวต่างชาติจะต้องขออนุมัติต่อสำนักงานพิจารณาการลงทุน กระทรวง เศรษฐการ (Investment Commission, MOEA) เมื่อผ่านการอนุมัติจากสำนักงานพิจารณาการลงทุนแล้ว จึงไปดำเนิน การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับ Department of Business Management ซึ่งประจำอยู่ตามที่ทำการเขตในเมืองต่าง ๆ ในท้องที่ซึ่งบริษัทตั้งอยู่ โดยธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อธุรกิจต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติ (Negative List for Investment by Overseas Chinese and Foreign Nationals) นักลงทุนชาวต่างชาติคนเดียวหรือหลายคน สามารถถือหุ้นได้มากที่สุดร้อยละ 100

2.7 การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคและรายละเอียดแต่ละกลุ่ม (Market Segmentation)

การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคในไต้หวัน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ ระดับสูง กลาง และล่าง

2.7.1 ผู้บริโภคระดับสูงเป็นกลุ่มที่มีรายได้และการศึกษาสูง มีตำแหน่งเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูง ในบริษัท ซึ่งนิยมจับจ่ายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพประณีต ห้างสรรพสินค้าชันนำในไต้หวัน อาทิ เช่น TAIPEI 101 shopping mall, SOGO Department Store, Shinkong Mitsukoshi นิยมจัดช่วงเวลาเฉพาะเพื่อเชิญบุคคลระดับ VIP จับจ่าย ซื้อสินค้าโดยไม่เปิดให้ผู้บริโภคทั่วไปเข้าห้างในช่วงเวลาดังกล่าว

2.7.2 ผู้บริโภคระดับกลาง เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในไต้หวัน ถือเป็นกลุ่มผู้ที่มีกำลังซื้อสูง ผู้บริโภคในกลุ่มนี้ อาจแบ่งออกได้เป็นอีก 2 กลุ่มย่อยคือกลุ่มที่มีการศึกษาเกินกว่าปริญญาตรี และที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งจะมีรสนิยมใน การบริโภคและจับจ่ายที่แตกต่างกันบ้าง กล่าวคือในกลุ่มผู้จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีจะนิยม สินค้าและบริการที่ประณีตมากกว่า ชอบซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่เน้นความประณีตมากนัก แต่จะเน้นประโยชน์ใช้สอย

2.7.3 ผู้บริโภคระดับล่าง เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ทำงานในระดับล่าง ซึ่งมีกำลังซื้อต่ำ และนิยมจับจ่าย สินค้าในโดยซื้อสินค้าจากตลาดกลางคืน ซื้อสินค้าจากไฮเปอร์มาร์เก็ต

3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ

3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศ

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 การค้าต่างประเทศของไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 129,307.6 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 39.5 โดยไต้หวันส่งออกคิดเป็นมูลค่า 71,540.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.1 และนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 57,767.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.3 ไต้หวันได้เปรียบดุลการค้า มูลค่ารวม 13,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 110.8 โดยคู่ค้าอันดับหนึ่งของไต้หวันได้แก่จีนแผ่นดินใหญ่ด้วยมูลค่า การค้ารวม 25,889.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40.73 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.02 ของมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาได้แก่ญี่ปุ่น (มูลค่า 17,562.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.68 สัดส่วนร้อยละ 13.58) สหรัฐฯ (มูลค่า 15,117.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 38.39 สัดส่วนร้อยละ 11.69) ฮ่องกง (มูลค่า 10,591.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.44 สัดส่วนร้อยละ 8.19) และเกาหลีใต้ (มูลค่า 6,015.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 38.47 สัดส่วนร้อยละ 4.65) ตามลำดับ

3.2 มูลค่าการค้าโดยรวมของประเทศไต้หวัน
        รายการ                  มูลค่า  (Million USD)            อัตราการขยายตัว (%)       สัดส่วน (%)ต่อ
                          2007          2008       2009        2008     2009         การค้าโลก(ปี 2008)
                                                (มค.-พค.)             (มค.-พค.)
1. มูลค่าการค้ารวม       465,929.1     496,478.5   129,327.6      6.6      -39.5             1.53
2. การส่งออก           246,677.3     255,655.5    71,540.0      3.6      -35.1             1.57
3. การนำเข้า           219,251.8     240,823.0    57,767.6      9.8      -44.3             1.50

3.2  สินค้าส่งออก/ สินค้านำเข้าหลัก ของประเทศไต้หวัน (ม.ค.-เม.ย. 2009)
       สินค้าส่งออกหลัก                        ส่งออกไปยังประเทศ                        สินค้านำเข้าหลัก                        นำเข้าจากประเทศ
1. แผงวงจรรวม (8542)                ฮ่องกง, จีน, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เกาหลีใต้               1. แผงวงจรรวม (8542)          ญี่ปุ่น, เกาหลี, สหรัฐฯ, จีน, สิงคโปร์
2. น้ำมันปิโตรเลียม (2710)              สิงคโปร์, เวียตนาม, เนเธอร์แลนด์, ฟิลิปปินส์, จีน       2. น้ำมันดิบ (2709)              ซาอุฯ, คูเวต, อิหร่าน, อิรัก, โอมาน
3. จอ TFT/LCD (9013)                จีน, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เยอรมนี                 3. ถ่านหิน (2701)               ออสเตรเลีย, อินโดฯ, จีน, รัสเซีย, แคนาดา
4. ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ (8473)            สหรัฐฯ, จีน, ฮ่องกง, เนเธอร์แลนด์, ญี่ปุ่น             4. น้ำมันปิโตรเลียม (2710)        UAE, ซาอุฯ, คูเวต, รัสเซีย, สิงคโปร์
5. อุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ (8541)         จีน, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, เยอรมนี             5. ก๊าซปิโตรเลียม (2711)         มาเลเซีย, อินโดฯ, กินี, ไนจีเรีย, กาตาร์

3.3  มูลค่าการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญ
       ประเทศ                 2550         2551       2552 (มค.-พค.)    Growth (%)
1. จีนแผ่นดินใหญ่            90,431.70    98,302.20         25,889.70        -30.25
2. ญี่ปุ่น                   61,870.50    64,087.40         17,562.30        -74.26
3. สหรัฐฯ                 58,585.20    57,127.10         15,117.10        -48.74
4. ฮ่องกง                 39,804.60    34,186.50         10,591.80         -4.67
5. เกาหลีใต้               22,952.40    21,889.40          6,015.60        -60.49

3.4  นโยบาย / มาตรการทางการค้า ทั้งภาษีและไม่ใช่ภาษี
นโยบายการค้าที่สำคัญ
  • มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของ WTO และองค์กรทางการค้านานาชาติอื่นๆ อย่างกระตือรือร้น และปรับปรุงบทบาท

ทางการค้าของไต้หวันในเวทีโลก

  • ผลักดันการลงนามความตกลงการค้าเสรี(FTA) กับคู่ค้ารายสำคัญ
  • พัฒนาความสัมพันธ์เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกับประเทศอื่นๆ ผ่านทางกลไกต่างๆ ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี
  • ก่อสร้างและพัฒนาศูนย์แสดงสินค้า Nan Kang ให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการต่างๆ
  • เสริมสร้างภาพลักษณ์สินค้าไต้หวัน ให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกในการประชาสัมพันธ์ตราสินค้า และช่องทางการ

ตลาดในต่างประเทศ

มาตรการภาษีทางการค้า
  • สินค้าเกษตรภาษีสูง
  • Tariff-Quota
มาตรการการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB)
  • Anti-dumping
  • Special Safe-guard
  • กีดกันสินค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่
  • ลดการพึ่งพาตลาดจีน
  • ขยายการส่งออกไปตลาดใหม่เช่น อินเดีย รัสเซีย บราซิล และยุโรปตะวันออก
3.5 สิทธิพิเศษทางการค้า
      สิทธิพิเศษ ที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า                     สินค้า
- ปานามา (ภาษี 0%)                      - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 4,181 รายการ
- นิการากัว (ภาษี 0%)                     - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 3,374 รายการ
- กัวเตมาลา (ภาษี 0%)                    - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 3,964 รายการ
      สิทธิพิเศษที่ให้กับประเทศคู่ค้า                          สินค้า
- ปานามา (ภาษี 0%)                      - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 6,187 รายการ
- นิการากัว (ภาษี 0%)                     - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 5,797 รายการ
- กัวเตมาลา (ภาษี 0%)                    - สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 5,649 รายการ

3.6  ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ เช่น FTA เป็นต้น

1. Free Trade Agreement with Panama in 2004

2. Free Trade Agreement with Guatemala in 2006

3. Free Trade Agreement with Nicaragua in 2006

4. Double Taxation Agreement with 17 Countries

5. ATA Carnet Agreement with 15 Countries

6. Investment of Promotion and Protection Agreement with 27 Countries

4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์ / ความสัมพันธ์ ทางการค้ากับไทย

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 13 ของไต้หวันด้วยมูลค่าการค้ารวม 2,248.3 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.74 ของมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมดของไต้หวัน ลดลงร้อยละ 40.51 จากช่วงเดียว กันของปี 2551 โดยไต้หวันส่งออกไปไทยคิดเป็นมูลค่า 1,295.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 38.8 โดย ไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 11 ของไต้หวัน สำหรับการนำเข้านั้น ไต้หวันนำเข้าจากไทยคิดเป็นมูลค่า 952.9 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.8 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 11 ของไต้หวัน ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.6 โดยไต้หวัน เป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าไทยคิดเป็นมูลค่า 342.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 49.27

4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก / ประเทศไต้หวัน

การค้าไต้หวัน — ภูมิภาคอาเซียน (6 ประเทศ — ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เวียตนาม)

  รายการ              มูลค่าการค้า (USD: Million)             อัตราการขยายตัว (%)       สัดส่วนการค้าไต้หวัน — ภูมิภาคอาเซียน 6 ประเทศ
                   2007        2008        2009       2007     2008     2009     เปรียบเทียบกับไต้หวัน — โลก (2009 มค.-พค.)
                                        (มค.-พค.)                     (มค.-พค.)
มูลค่าการค้า       59,477.6     64,082.0    16,660.0    10.23     7.74    -38.27                      12.88
ไต้หวันส่งออก      35,784.4     38,395.6     9,995.4    16.74     7.29    -39.80                      13.97
ไต้หวันนำเข้า      23,693.2     25,686.4     6,664.6     1.66     8.41    -35.80                      11.54

การค้าไทย — ไต้หวัน

  รายการ            มูลค่าการค้า (USD: Million)             อัตราการขยายตัว (%)                 สัดส่วนการค้าไต้หวัน — ไทย
                   2007      2008      2009         2007      2008      2009      เปรียบเทียบกับไต้หวัน — โลก (2009 มค.-พค.)
                                     (มค.-พค.)                        (มค.-พค.)
มูลค่าการค้า        8,813.1    8,159.1   2,248.3      11.63     -7.42     -40.51                   1.74
ไทยนำเข้า         5,199.6    4,906.4   1,295.3      13.60     -5.60     -38.80                   1.81
ไทยส่งออก         3,613.4    3,252.7     952.9       8.90    -10.00     -33.80                   1.65

4.3  สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศ ไต้หวัน.และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากประเทศไต้หวัน  (5 อันดับแรก)
      สินค้าหลักที่ไทยส่งออก                            ประเทศคู่แข่ง                                   สินค้าหลักที่ไทยนำเข้า                               ตลาดสำคัญของไต้หวัน
1. แผงวงจรรวม (8542)                       ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, จีน, สิงคโปร์                     1. แผงวงจรรวม (8542)                        ฮ่องกง, จีน, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้
2. ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (8471)           จีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น                     2. แผ่น CD/DVD ที่ยังไม่ถูกบันทึก (8523)            ฮ่องกง, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ไทย
3. น้ำมันจากการกลั่นทาร์ (2707)                 เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ, สิงคโปร์                 3. ปลาแช่แข็ง (0303)                          ญี่ปุ่น, ไทย, สหรัฐฯ, ฟิลิปปินส์, เกาหลีใต้
4. เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน (8415)            จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ                    4. อุปกรณ์ให้สัญญาณภาพและเสียง (8531)            จีน, สหรัฐฯ, เม็กซิโก, ฮ่องกง, เยอรมัน
5. น้ำตาล (1701)                            ออสเตรเลีย, อินเดีย, กัวเตมาลา,                         5. แผงวงจรพิมพ์ (8534)                        จีน, ฮ่องกง, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย

เวียตนาม, ญี่ปุ่น

4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศไต้หวัน
      สินค้า/บริการ ศักยภาพ                      ประเทศคู่แข่ง                                   วัตถุดิบ Out Sourcing ที่สำค
1. สินค้าคอมพิวเตอร์อีเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน    เกาหลีใต้ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์                    1. สินค้าคอมพิวเตอร์อีเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
2. เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน              จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, สหรัฐฯ                     2. ปลาแช่เย็นแช่แข็ง
3. อะหลั่ยและชิ้นส่วนรถยนต์                 เกาหลีใต้ จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย                            3. เครื่องจักรกล
4. น้ำตาล                              ออสเตรเลีย, อินเดีย, กัวเตมาลา, เวียตนาม, ญี่ปุ่น             4. เคมีภัณฑ์
5. ธุรกิจบันเทิง                          สหรัฐฯ ญีปุ่น ฮ่องกง จีน เกาหลีใต้                           5. เหล็ก

4.5  ข้อตกลง / ความร่วมมือทางการค้า กับประเทศไทย

1) Agreement for the Avoidance of Double Taxation on Jul 09, 1999

2) Agreement on the Promotion and Protection of Investments on April 30, 1996

3) Agreement on Agricultural Cooperation on July 24, 2003

4.6 ปัญหา/ อุปสรรค / ประเด็นทางการค้าและการลงทุนกับไทย
1) ปัญหา/อุปสรรค ด้านการค้า

ไต้หวันมีการใช้มาตรการปกป้องทางการค้าเช่น การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumpling - AD) การกำหนดมาตรการพิเศษ (Special safeguard - SPS) การกำหนดโควตาภาษี (Tariff Quota - TRQ)ฯลฯ สินค้า ไทยเคยถูกไต่สวนการทุ่มตลาดได้แก่ กระดาษพิมพ์เขียน ลวดเหล็กเกลียวที่ใช้ในการก่อสร้าง แต่ผลการไต่สวนในขั้นสุดท้าย สรุปว่าไทยไม่มีการทุ่มตลาดจึงรอดพ้นจากการถูกเก็บภาษีตอบโต้

มาตรการที่เป็นอุปสรรคในปัจจุบันคือ มาตรการพิเศษซึ่งไต้หวันใช้จำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป ปศุสัตว์ โดยอ้างเหตุผลด้านสุขอนามัยและการกักกันโรคพืชและสัตว์

รายละเอียดปรากฎตามตารางสินค้าที่มีผลกระทบด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีของไต้หวัน

2) ปัญหา/อุปสรรค ด้านการลงทุน

ไต้หวันยังคงมีการกำหนดรายการธุรกิจที่ห้ามชาวต่างชาติลงทุนประกอบการ ได้แก่ การขนส่ง การไปรษณีย์ การให้เช่ารถ การกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ การประกอบการสถานบันเทิงชนิดพิเศษ ฯลฯ และมีรายการธุรกิจที่ต้อง กำกัด(restricted industries)ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อน ได้แก่ การเกษตร การประมง การผลิตไวน์ สุรา เบียร์ ยาสูบ ฯลฯ รายละเอียดปรากฎตามรายการห้างชาวต่างชาติลงทุน (Negative List for Investment by Overseas Chinese and Foreign Nationals)

สำหรับปัญหา / อุปสรรค ด้านการลงทุนของไทยในไต้หวันที่ประสบปัญหามากในปัจจุบันได้แก่ การลงทุน ภัตตาคารไทย และ การบริการนวดและสปา

ผู้ประกอบการของไทยมีศักยภาพการลงทุนในสาขาภัตตาคารไทย แต่ประสบปัญหาในการนำเข้าพ่อครัวเนื่อง จากไต้หวันกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่ขออนุญาตนำเข้าพ่อครัวไว้สูงกล่าวคือจะต้องมีเงินทุนจดทะเบียนสูงถึง 5 ล้านเหรียญไต้หวัน ยอดขายปีละ 10 ล้านเหรียญไต้หวัน และได้รับการอนุมัติให้นำเข้าได้ประมาณ 3 คนต่อบริษัท นอกจากนี้ยังจำกัดคุณสมบัติ ของพ่อครัว/แม่ครัวไว้สูงกล่าวคือจะต้องจบปริญญาตรีและมีประสบการณ์ 2 ปี หากจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจะต้องมี ประสบการณ์ทำงาน 5 ปี

ในส่วนของพนักงานนวดและสปา นั้น ไต้หวันยังไม่เปิดให้มีการนำเข้าแรงงานในประเภทดังกล่าว ในทางปฏิบัติ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจนวดแผนไทยต้องใช้วิธีว่าจ้างหญิงไทยที่แต่งงานมาในไต้หวันเพื่อทำงานเป็นพนักงานนวดโดยทำการฝึก อบรมวิธีนวดก่อน หรือมิเช่นนั้นจะใช้วิธีเลี่ยงกฎหมายด้วยการนำเข้าแรงงานเถื่อนซึ่งหากถูกปรับจะมีโทษสูงมาก กล่าวคือผู้ ประกอบการจะถูกปรับสูงสุดถึง 1 แสนเหรียญไต้หวัน

4.7 ลู่ทางการค้าและการลงทุน

ลู่ทางการลงทุนทั่วไป

ไต้หวันให้การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องต่อนโยบายการพัฒนาประเทศของ ไต้หวัน รัฐบาลไต้หวันให้การส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิ์ประโยชน์ทางด้านภาษี การวิจัย-พัฒนา การอบรมบุคลลากร ผู้ลงทุน จะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ผ่านการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของไต้หวัน หรือจากการยื่นขอสิทธิ์ประโยชน์จากกรมอุตสาหกรรม ของกระทรวงเศรษฐการ อุตสาหกรรมที่ไต้หวันให้การส่งเสริมได้แก่

  • อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และไมโครอิเล็กทรอนิคส์
  • จอแสดงผล
  • อ็อบโตอิเล็กทรอนิคส์
  • เทคโนโลยีชีวภาพและเภสัชกรรม
  • การสื่อสาร
  • เนื้อหาดิจิตอล (digital content)
  • เครื่องจักรมีความแม่นยำสูง (Precision Machinery)
  • วัสดุและเคมีภัณฑ์ขั้นสูง
  • อากาศยานและอวกาศ
  • การบริการด้านเทคนิกและวิศวกรรม
  • ในส่วนของอุตสาหกรรมดั่งเดิม (tradition field) ซึ่งหมายถึงอุตสาหกรรมเบาหรือการผลิตสินค้าทั่วไป
รวมทั้งธุรกิจบริการ ไต้หวันจะให้การส่งเสริม การจัดตั้งสำนักงานใหญ่ การจัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนา การเงินหลักทรัพย์และการ
ประกันภัย โลจิสติกส์ การขนส่งและการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค
  • ไต้หวันมีแผนที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ขยายตัวมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว สันทนาการและแหล่ง

บันเทิง เป็นสิ่งที่มีโอกาสขยายตัวในไต้หวันเช่นกัน

ลู่ทางการลงทุนสำหรับนักธุรกิจไทย

นักธุรกิจไทยที่ประสงค์จะลงทุนในไต้หวัน ควรคำนึงถึงความได้เปรียบทางด้านทรัพย์กรที่ไทยมีอยู่ การลงทุนของ ชาวไทยในไต้หวันที่มีแนวโน้มดีได้แก่

1. การเปิดภัตตาคารไทย

2. การให้บริการสปา หรือนวดแผนไทย

3. การจัดตั้งบริษัทเพื่อนำเข้าสินค้าไทยและค้าส่ง ค้าปลีก

4.8 จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน

จากสถิติของกรมการท่องเที่ยวไต้หวันในปี 2551 มีนักท่องเที่ยวจากไต้หวันเดินทางเยือนประเทศไทยทั้งสิ้น 332,997 คนครั้ง ลดลงร้อยละ 5.78 จากปีก่อนหน้า โดยจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาไต้หวันมีจำนวน 84,586 คนครั้ง ลดลง ร้อยละ 6.09

5. บริษัท 10 อันดับแรก

บริษัทไต้หวันนำเข้าจากไทย

          บริษัท                                                       สินค้า
1. Asustek Computer Inc.                                          - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
2. General Instrument of Taiwan Ltd.                              - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
3. Formosa Chemicals & Fibre Corp.                                - เคมีภัณฑ์
4. Kyec Chu-Nan Affiliated with King Yuan Electronics Co.,Ltd.    - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
5. NEC Tokin Taiwan Co.,Ltd.                                      - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
6. ROHM Electronics Taiwan Co.,Ltd.                               - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
7. Shin-Etsu Silicone Taiwan Co.,Ltd.                             - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
8. Taiwan Styrene Monomer Corp.                                   - เคมีภัณฑ์
9. WFE Technology Corp.                                           - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
10. Yieh United Steel Corp.                                       - ผลิตภัณฑ์เหล็ก

บริษัทไต้หวันส่งออกมายังไทย

              บริษัท                                                 สินค้า
1. Kyec Chu-Nan Affiliated with King Yuan Electronics Co.,Ltd.    - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
2. Chi-Mei Optoelectronics Corp.                                  - จอ TFT/LCD
3. Showa Denko HD Trace Corp.                                     - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
4. Darts Technologies Corp.                                       - โทรศัพท์เคลื่อนที่
5. Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.,Ltd.                    - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
6. Texas Instruments Taiwan Ltd.                                  - ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์
7. Formosa Petrochemical Corp.                                    - เคมีภัณฑ์
8. Tungpei Industrial Co.,Ltd.                                    - Ball Bearings
9. Formosa Plastic Corp.                                          - เม็ดพลาสติก
10. Emerging Display Technologies Co.,Ltd.                        - จอ TFT/LCD


6. การวิเคราะห์แนวโน้ม

ภาวะเศรษฐกิจ

จากการคาดการณ์ล่าสุดในช่วงเดือนพฤษภาคมของ Global Insight คาดว่าเศรษฐกิจโลกที่ประสบกับภาวะ ถดถอยมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาจะยังคงซบเซาต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ แต่ในระยะนี้เริ่มเห็นจะเห็นการฟื้นตัวในหลายประเทศ อันเป็นผลมาจากการที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เริ่มเห็นผลมากขึ้นเรื่อยๆ จึงคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2552 จะเติบโตติดลบร้อยละ 2.6 (ติดลบเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ร้อยละ 1.2) โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโต ติดลบร้อยละ 3.1 กลุ่มประเทศอียู เติบโตติดลบร้อยละ 4.3 ญี่ปุ่นติดลบร้อยละ 6.6 และจากการประเมินสถานการณ์ของ สำนักสถิติและงบประมาณแห่งชาติ ของไต้หวัน (21 พ.ค. 52) คาดว่าในปี 2552 เศรษฐกิจไต้หวันจะเติบโตติดลบร้อยละ 4.25

ตลาด

ปัจจัยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายด้วยความระมัดระวังมากขึ้น การกระตุ้นตลาดสินค้าและบริการ ด้วยการเปิดตัวสินค้าใหม่อาจได้ผลไม่เต็มที่ เนื่องจากผู้บริโภคจะใช้จ่ายโดยคำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริงมากขึ้น

สินค้า /บริการ

สินค้าบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ ยังคงมีแนวโน้มที่ดีเป็นสินค้าที่มีการขยายตัวสูง โดยเฉพาะการผลักดันโทรศัพท์มือระบบ 3G

สำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ อยู่ในภาวะทรงตัว

7. SWOT Analysis

Strength

1. เป็นตลาดที่ประชากรมีอำนาจซื้อสูง รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2009 คาดว่าสูงถึง 15,841 เหรียญสหรัฐ

2. มีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคง การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี และจากการที่รัฐบาลดำเนินนโยบายเป็นมิตร กับจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผลให้การติดต่อธุรกิจราบรื่นมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยไต้หวันเป็นทางผ่านในการเข้าสู่ ตลาดจีนได้ง่ายขึ้น

3. มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมาประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

4. มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและการวิจัย

5. มีผู้ประกอบการ SME เป็นจำนวนมาก

Weakness

1. ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตโดยตรง

2. แม้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีนโยบายสร้างสัมพันธ์กับจีนแต่ก็ยังคงมีปัญหาในระดับประเทศอยู่ ทำให้ประเทศที่มีความ สัมพันธ์ทางการทูตกับจีนต้องให้ความระมัดระวังในการเจริญสัมพันธ์ด้วย นอกจากนี้การตัดสินใจใดๆของไต้หวันในการเปลี่ยนแปลง สถานะของประเทศ อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิคได้

3. ใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) กับสินค้าเกษตรจำนวนมาก

4. ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมการจับกลุ่มทางการค้า เช่น การทำเขตการค้าเสรี ASEAN+3 ทำให้ไต้หวันถูก โดดเดี่ยวและสูญเสียโอกาสในการเข้ามาร่วมในธุรกิจและขาดสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

5. ผู้ประกอบการบางส่วนยังคงใช้แต่ภาษาจีนในการติดต่อธุรกิจ

Opportunity

1. ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติทำให้การผลิต การบริโภค ต้องพึ่งพาการนำเข้า

2. ประชาชนนิยมจับจ่ายใช้สอย

3. มีแรงงานไทยและอาเซียนเข้ามาทำงานโดยเฉพาะแรงงานไทยกว่าหกหมื่นคน ที่มีความต้องการสินค้าไทย

4. มีธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมเป็นจำนวนมากทำให้สามารถจับคู่ทางธุรกิจกับผู้ส่งออกไทยได้ง่าย

5. มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีทำให้ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยและรู้จักสินค้าไทย

เป็นอย่างดี

6. มีการติดต่อธุรกิจกับไทยเป็นเวลายาวนานและไม่ค่อยมีกรณีพิพาททางการค้า

Threat

1. มักนำมาตรการกีดกันทางการค้ามาเป็นเครื่องมือเพื่อต่อรองทางการเมือง

2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ในระดับผู้บริหารระดับสูงได้เป็นอุปสรรคในการติดต่อเจรจาของภาครัฐ

3. ต้องใช้ความระมัดระวังในการเจริญความสัมพันธ์จากปัญหาระหว่างไต้หวันกับจีน

4. ตลาดเล็ก มีการแข่งขันด้านราคาสูงทำให้ผู้นำเข้าต้องหันมากดราคาจากผู้ส่งออก

5. มีธุรกิจขนาดกลางและย่อมเป็นจำนวนมากทำให้การสั่งซื้อแต่ละครั้งไม่ใช่ยอดที่สูงมากนัก

6. มีปัญหาด้านการลอกเลียนแบบสินค้า

7. มีคู่แข่งในสินค้าเดียวกันมาก เช่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย

8. นักธุรกิจคุ้นเคยกับสินค้าไทยมากจนสามารถ มาตั้งบริษัทเป็นผู้ส่งออกได้เองในไทย

9. ผู้บริโภคไต้หวันส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าไทยเป็นของราคาถูก

8. กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ณ ประเทศไต้หวันในปีงบประมาณ 2552
      วันที่                                         กิจกรรม                                   เมืองประเทศ         สินค้า
ตุลาคม 2551-กันยายน 2552    จัดคณะผู้แทนการค้าและเชิญสื่อมวลชน เข้าชมงานแสดงสินค้านานาชาติ                กรุงเทพ        สินค้าและบริการ
                          ในประเทศไทย 13 งาน                                                  ไทย
17 พฤศจิกายน 2551          โครงการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์ไทยในไต้หวัน (จัดงานประชาสัมพันธ์
                          ภาพยนตร์ร่วมทุนระหว่างไทย-ไต้หวันเรื่องตอกตราผี)                             ไทเป          ธุรกิจบริการ
1-30 พฤศจิกายน 2551        โครงการส่งเสริมสินค้าข้าวเหนียวไทยร่วมกับร้านอาหารไทย Thai Select           ทั่วไต้หวัน           อาหาร
3-4 ธันวาคม 2551           โครงการประชาสัมพันธ์อาหารไทยและข้าวไทย                                  ไทเป             อาหาร
4-9 กุมภาพันธ์ 2552          เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Taipei Int’l Book Exhibition 2009                 ไทเป             สิ่งพิมพ์
18-19 กุมภาพันธ์ 2552        โครงการสอนทำอาหารไทยร่วมกับโรงเรียน Taipei Kaiping
                          Culinary School                                                     ไทเป           อาหารไทย
มีนาคม-เมษายน 2552         โครงการส่งเสริมร้านอาหารไทย Thai Select                                ไต้หวัน          ธุรกิจบริการ
เมษายน 2552               โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์ทุเรียนไทยในไต้หวันร่วมกับสถานีโทรทัศน์ TVBS             ไต้หวัน            ผลไม้
14-17 เมษายน 2552           เข้าร่วมงานแสดงสินค้า Taipei AMPA 2009                                ไต้หวัน         อะหลั่ยและชิ้นส่วนรถยนต์
5 พฤษภาคม — 30 มิถุนายน 2552    การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าทุเรียนไทยร่วมกับห้าง
                              Carrefour 49 สาขา ในไต้หวัน                                       ไต้หวัน         สินค้าผลไม้
9-17 พฤษภาคม 2552         การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทยร่วมกับห้าง                           ไต้หวัน         สินค้าอาหาร เครื่องใช้ในบ้าน
                          RT-Mart 23 สาขา ในไต้หวัน                                                           เสื้อผ้า OTOP
23-26 มิถุนายน 2552         เข้าร่วมงาน Taipei International Food Show 2008                       ไทเป          สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป
23 กรกฎาคม 2552           โครงการขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจในเมืองเศรษฐกิจใหม่ของไต้หวัน             ไทจง          สินค้าอาหาร

9.  Web Site ที่น่าสนใจ

9.1 Taiwan External Trade Development Council (TAITRA)

http://www.taiwantrade.com.tw

9.2 Bureau of Foreign Trade, Ministry of Economic Affairs

http://www.trade.gov.tw

9.3 Department of Investment Service, Ministry of Economic Affairs

http://www.dois.moea.gov.tw

9.4 Taipei World Trade Center

http://www.twtc.com.tw

9.5 Importers & Exporters Association of Taipei

http://www.ieatpe.org.tw

9.6 Taiwan Electric & Electronic Manufacturers’ Association

http://www.teema.org.tw

10. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าในไต้หวัน

หน่วยงานไทยในไต้หวัน

  • สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเป (เทียบเท่าสถานเอกอัครราชทูตไทย)

12F, No.168, Sung Chiang Rd., Taipei, Taiwan

Tel: 886-2-25811979 Fax: 886-2-25818707

E-mail : tteo@ms22.hinet.net

  • สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)

7E10, No.5, Hsin Yi Rd., Sec.5, Taipei 110, Taiwan

Tel: 886-2-27231800 Fax: 886-2-27231821

E-mail: thaicom.taipei@msa.hinet.net

  • สำนักงานแรงงาน ณ กรุงไทเป, มี 2 สำนักงานคือที่กรุงไทเปและเมืองเกาสง

10F, No.151, Hsin Yi Rd., Sec.3, Taipei, Taiwan

          Tel: 886-2-27011410        Fax: 886-2-7011433

14F-4, 80, Min Zu 1 Rd., San Min Dist., Kaohsiung City, Taiwan

Tel: 886-7-3927620 Fax: 886-7-3925914

  • สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ ไทเป

3E10, No.5, Hsin Yi Rd., Sec.5, Taipei 110, Taiwan

Tel: 886-2-23456663 Fax: 886-2-23459223

Email: sakchai@boi.go.th

  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สาขาไทเป

13F, No.111, Sung Chiang Rd., Taipei, Taiwan

Tel: 886-2-25021600 Fax: 886-2-25021603

E-mail: tattpe@ms3.hinet.net

  • บริษัท การบินไทย จำกัด

8F, No. 308, Pa Deh Rd., Sec.2, Taipei

Tel: 886-2-87725222 Fax: 886-2-87727200

E-mail : tpehttg@ms75.hinet.net

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มี 3 สาขา คือ ที่กรุงไทเป เมืองเกาสง และเมืองไทจง

121Sung Chiang Rd., Taipei

Tel: 886-2-25073275 Fax: 886-2-25062800

9F-1, No.345, Chong Kang Rd., Sec.1, Taichung City

Tel: 886-4-23269623 Fax: 886-4-23233685

1F, No.63, Wu Fu 3 Rd., Chien Jin Dist., Kaohsiung City

Tel: 886-7-2710000 Fax: 886-7-2713730

หน่วยงานไต้หวัน

  • Taiwan External Trade Development Council

5-7 F, No.333, Keelung Rd., Sec.1, Taipei 110

          Tel: 886-2-27255200        Fax: 886-2-27576245

Web-site: http://www.taiwantrade.com.tw

  • Bureau of Foreign Trade, Ministry of Economic Affairs

No.1, Hu Kou St., Taipei 100

          Tel: 886-2-23510271        Fax: 886-2-23517080

Web-site: http://www.trade.gov.tw

  • Department of Investment Service, Ministry of Economic Affairs

8F, No. 71, Kuan Chien Rd., Taipei 100

Tel: 886-2-23892111 Fax: 886-2-23820497

Web-site: http://www.dois.moea.gov.tw

  • Importers & Exporters Association of Taipei

No.350, Sung Chiang Rd., Taipei 104

Tel: 886-2-25813251 Fax: 886-2-25682294

Web-site: http://www.ieatpe.org.tw

  • Taiwan Electrical & Electronic Manufacturers’ Association

6F, No.109, Min Chuan E. Rd., Sec.6, Taipei 114

Tel: 886-2-87926666 Fax: 886-2-87926088

Web-site: http://www.teema.org.tw

11. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่ายงานส่งเสริมการค้าของไต้หวันในประเทศไทย
  • Taiwan Trade Center, Bangkok

Unit 1204, 12 Fl., Diethelm Tower A, 93/1 Wireless Rd., Pathumwan, BKK

Tel: 66-2-6514470 Fax: 66-2-6514472

Email: Bangkok@taitra.co.th

  • Taipei Economic and Cultural Office in Thailand, Economic Division

20 Fl., Empire Tower, 195, South Sathorn Rd., Yannawa, BKK

Tel: 66-2-6700024 Fax: 66-2-6700226

Email: tecoecon@ji-net.com

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ