โพลล์เผยปชช.คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจอยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน ไม่รีดไถ-ไม่รับส่วย-ไม่ตั้งด่านลอย

ข่าวการเมือง Saturday July 15, 2017 09:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปตำรวจกับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ" พบว่า เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.5 ระบุว่า อยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน (ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ) รองลงมา ร้อยละ41.8 อยากเห็นการสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส และร้อยละ 35.8 อยากเห็นการโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม

เมื่อถามถึง 3 ประเด็น ที่ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้มอบให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ประชาชนมีความเห็นดังนี้

ประเด็นที่1 “ด้านโครงสร้างองค์กร"ประชาชนร้อยละ 26.5 ระบุว่าให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)รองลงมา ร้อยละ 24.4 ระบุว่า ให้กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และ ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เห็นควรย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม

ประเด็นที่ 2 “ด้านกระบวนการยุติธรรม" ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ระบุว่า ควรแยกอำนาจการสอบสวนให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นเหมือนในต่างประเทศ ขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่า ประชาชนร้อยละ 87.5 คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ว่า จะเห็นการทำงานของตำรวจที่เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด โดยร้อยละ 26.5 อยากให้ตำรวจขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีขณะที่ร้อยละ 59.0 เห็นควรแยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ และร้อยละ 59.1 เห็นควรพิจารณาจากระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน ในการโยกย้ายตำแหน่ง

ทั้งนี้ร้อยละ 42.3 มั่นใจว่า 9 เดือนจากนี้ไป จะได้เห็นผลการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิมที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ

ประเด็นที่ 3 “ด้านการบริหารบุคลากร" ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 ระบุว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจาก ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่า ควรพิจารณาจากผลงานและความดีความชอบ มีเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ควรพิจาณาจากระดับอาวุโส ส่วนการปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร2-3- 4 หรือ9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวางกรอบไว้หรือไม่ นั้น ประชาชนร้อยละ 42.3 คิดว่าได้ ขณะที่ ร้อยละ 37.7 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ

กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,084 คน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ