ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 34.92 แข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย มองกรอบสัปดาห์หน้า 34.75-35.20

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 29, 2016 16:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.92 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาดเช้านี้ ที่ระดับ 34.94 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.89-35.00 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน คาดว่าตลาดรอดูตัวเลขการจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสหรัฐในสัปดาห์หน้า" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.75-35.20 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.9100 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.06 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.32 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1381 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1383 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย วันที่ 22 เม.ย.59 อยู่
ที่ 176.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวันที่ 15 เม.ย.59 ที่ 176.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของ
ไทย วันที่ 22 เม.ย.59 อยู่ที่ 13.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับวันที่ 15 เม.ย.59 อยู่ที่ 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 22 เม.ย.59 อยู่ที่ 6,202.1 พันล้านบาท จาก 6,187.3 พันล้าน
บาท เมื่อวันที่ 15 เม.ย.59
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุเศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคม 2559 ทรงตัวจากเดือนก่อน แรงขับเคลื่อน
เศรษฐกิจหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัว แม้การใช้จ่ายในหมวด
สินค้าคงทนปรับดีขึ้นบ้าง แต่กำลังซื้อภาคครัวเรือนถูกถ่วงด้วยรายได้เกษตรที่ลดลงจากผลกระทบภัยแล้งที่ปรากฎชัดในเดือนนี้ และ
ชั่วโมงการทำงานภาคอุตสาหกรรมที่ปรับลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมกระเตื้องขึ้นบ้างโดยเฉพาะหมดวยานยนต์

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังกระจุกตัวในบางธุรกิจ ด้านมูลค่าการส่งออกที่หักทองคำหดตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับภาวะ เศรษฐกิจคู่ค้าหลัก ประกอบกับราคาสินค้าส่งออกที่ยังต่ำตามราคาน้ำมัน

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี คาดภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วง Q1/59 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น และมีสัญญา
นที่เป็นบวก โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายและการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
  • นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)
เดือนมี.ค.59 กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 1.83% หลังจากติดลบ 2 เดือนติดต่อกัน โดยค่าดัชนีล่าสุดมาอยู่ที่ 120.23 จาก 118.07
ในเดือน มี.ค. 58 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.59 อยู่ที่ 72.49 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 3
ปี
  • นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผย
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559 (ต.ค.58-มี.ค.59) รัฐบาลมีรายได้นำส่ง
คลังทั้งสิ้น 1,059,175 ล้านบาท ขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1,570,876 ล้านบาท รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชย
การขาดดุล 313,023 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 203,218 ล้านบาท
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ เผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เพราะได้
แรงหนุนจากการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชนที่ฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมในเดือนมี.ค.ปรับตัวขึ้น 0.6% จากเดือน
ก่อนหน้า หลังจากที่ขยายตัว 0.6% ในเดือนก.พ.
  • สำนักงานจ้างงานของรัฐบาลกลางเยอรมนี (BA) เผยจำนวนผู้ว่างงานในเยอรมนีเดือนเม.ย.ปรับตัวลงแตะระดับ
ต่ำสุดในรอบ 25 ปี โดยจำนวนของผู้ว่างงานในเยอรมนีเดือนเม.ย.อยู่ที่ 2.7 ล้านคน ลดลงจากเดือนมี.ค.ที่ระดับ 101,000 คน
โดยจำนวนผุ้ว่างงานเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 25 ปี ขณะที่อัตราว่างงานปรับตัวลงที่ 0.2 จุด หรือคิดเป็น 6.3% เมื่อ
เทียบรายเดือน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เผยเศรษฐกิจสเปนขยายตัว 0.8% ในไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วง
3 เดือนก่อนหน้านั้น ทำสถิติขยายตัวเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจสเปน ขยาย
ตัว 3.4% ทั้งนี้ สเปนผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ในปี 2556 และขณะนี้เป็นกำลังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการขยายตัวที่สูงที่
สุดในสหภาพยุโรป ถึงแม้ว่าอัตราว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 21% ซึ่งเป็นอัตราว่างงานที่สูงเป็นอันดับสองรองจากกรีซก็ตาม
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (Insee) ระบุการใช้จ่ายของผู้บริโภคของฝรั่งเศส เติบโตขึ้นถึง 0.2% ใน
เดือนมีนาคม สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว2.7% ซึ่งขยายตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายในเดือนมีนาคม 2559 โดยมี
แรงหนุนหลักมาจากการใช้จ่ายที่แข็งแกร่งด้านพลังงาน
  • ธนาคารกลางจีนได้ปรับขึ้นอัตราอ้างอิงเงินหยวน 0.6% แตะ 6.4589 หยวนต่อดอลลาร์ หลังจากดอลลาร์ร่วงลง
เมื่อคืนที่ผ่านมา นับเป็นการปรับขึ้นค่ากลางที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2558

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ