ภาวะตลาดเงินบาท: บาทเปิด 35.14 อ่อนค่าลง หลังตัวเลขศก.สหรัฐฯ ออกมาดีหนุนดอลลาร์แข็งค่า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 28, 2016 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.14 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.09 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางของค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลัง ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจ

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าหลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี โดย เฉพาะตัวเลขการว่างงานที่ลดลง" นักบริหารเงินฯ กล่าว

นักบริหารเงินฯ คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้จะอยู่ในกรอบระหว่าง 35.10-35.20 บาท/ดอลลลาร์

"วันนี้บาทน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบรอดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ไตร มาส 3/59"

  • ปัจจัยที่สำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 105.20 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 104.70 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0982 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0915 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.0870 บาท/
ดอลลาร์
  • วันนี้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ก.ย.59
และประมาณการเศรษฐกิจไทย
  • ญี่ปุ่นเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย. ร่วงลง 0.5% จากปีที่ผ่านมา โดยทำสถิติร่วงลงต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 7 เพราะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมความผันผวนของราคาอาหารสด
อยู่ที่ระดับ 99.6 ลดลงเมื่อเทียบกับฐานในปี 2558 ที่ระดับ 100 ด้านราคาน้ำมันดิบและสินค้าในกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลง 8.4%
เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยราคาน้ำมันเบนซินร่วงลง 9.2% และค่าไฟฟ้าปรับตัวลง 6.5% ทั้งนี้ ดัชนี CPI ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น
อาจกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประสบความยากลำบากในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2%
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เผยอัตราว่างงานของสเปนปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 18.91% ในไตรมาส 3 ปี 2559
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 เนื่องจากชาวสเปนกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นและมีการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้
จ่ายของผู้บริโภคและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
  • ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากบริษัทจดทะเบียนบางแห่งเปิดเผยผลประกอบการ
ที่ย่ำแย่ รวมถึงฟอร์ด มอเตอร์ และทวิตเตอร์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ
ปรับตัวลดลง ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,169.68 จุด ลดลง
29.65 จุด หรือ -0.16% ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,215.97 จุด ลดลง 34.30 จุด หรือ -0.65% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดที่
2,133.04 จุด ลดลง 6.39 จุด หรือ -0.30%
  • ตลาดหุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัวเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังได้รับแรงหนุนจากรายงานที่ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) ของอังกฤษขยายตัวได้ดีเกินคาดในไตรมาส 3 นั้น ภาวะการซื้อขายโดยรวมก็ได้รับแรงกดดันจากรายงานผล
ประกอบการที่ผันผวนของบริษัทจดทะเบียนในยุโรป โดยดัชนี Stoxx Europe 600 ขยับลงไม่ถึง 0.1% ปิดที่ 341.71 จุด ขณะที่
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,533.57 จุด ลดลง 1.02 จุด หรือ -0.02% ส่วนดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่
10,717.08 จุด เพิ่มขึ้น 7.40 จุด หรือ +0.07%
  • ตลาดหุ้นลอนดอนปิดบวกเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) หลังจากสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษขยายตัวได้ดีเกินคาดในไตรมาส 3 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับ
แนวโน้มเศรษฐกิจ หลังจากที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป โดยดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,986.57 จุด เพิ่ม
ขึ้น 28.48 จุด หรือ +0.41%
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่าซาอุดิ
อาระเบียและประเทศพันธมิตรในอ่าวเปอร์เซียได้ออกมาแสดงความตั้งใจที่จะปรับลดกำลังการผลิตลงถึง 4% นอกจากนี้ ตลาดยังได้
รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่าน
มา โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 49.72 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ
เบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 49 เซนต์ หรือ 1% ปิดที่ 50.47 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐได้กระตุ้น
ให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากความต้องการทองคำในอินเดียที่ปรับตัว
สูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงการเฉลิมฉลองเทศกาลของชาวฮินดู โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ
เดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.23% ปิดที่ระดับ 1,269.50 ดอลลาร์/ออนซ์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.เพิ่ม
ขึ้น 1.3 เซนต์ หรือ 0.07% ปิดที่ 17.639 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 90 เซนต์ หรือ 0.09%
ปิดที่ 964.90 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 7.75 ดอลลาร์ หรือ 1.3% ปิดที่ 613.20 ดอลลาร์/
ออนซ์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (27 ต.ค.) โดยได้
รับแรงหนุนจากคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูล
เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อวานนี้ โดยเงินยูโรอ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0902 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0909
ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ที่ระดับ 1.2178 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2230 ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลีย
อ่อนค่าลงแตะ 0.7595 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 0.7642 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบเยน สู่ระดับ 105.25 เย
น จากระดับ 104.48 เยน อ่อนค่าลงเมื่อเทียบสวิสฟรังก์ ที่ระดับ 0.9934 ฟรังก์ จาก 0.9935 ฟรังก์ และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบ
ดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3387 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3364 ดอลลาร์แคนาดา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ