ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.38 แข็งค่าสอดคล้องทิศทางภูมิภาค รอดูความชัดเจนนโยบาย"ทรัมป์"คืนพรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 19, 2017 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.38 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเปิดตลาดเช้าที่ระดับ 35.44 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา

"บาทแกว่งตัวแคบๆ ในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ระหว่างวันเคลื่อนไหวในช่วง 35.30 ปลายๆ ถึงช่วง 35.40 ต้นๆ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 35.35-35.45 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดน่าจะรอดูความชัดเจนเรื่องนโยบายของทรัมป์อีกทีในช่วงค่ำวันศุกร์" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.54 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ 114.77 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0662 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ 1.0625 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,554.88 จุด ลดลง 5.95 จุด, -0.38% มูลค่าการซื้อขาย 53,206.33 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 191.75 ล้านบาท (SET+MAI)
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT) ยังมองว่าด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐในขณะนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังมีทิศ
ทางที่จะแข็งค่าต่อเนื่องในปีนี้ แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงจากคำพูดของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะเข้า
รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 ม.ค.นี้ ซึ่งการสื่อความของนายทรัมป์อาจจะทำให้ตลาดเกิดความผันผวนในช่วงสั้น อย่าง
ไรก็ตามผู้ประกอบการและนักลงทุนควรให้น้ำหนักกับการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่
จะบ่งชี้ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์เป็นหลัก
  • ธนาคารยูโอบี(ไทย) เปิดเผยว่าภาวะเงินทุนระหว่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนจะยังคงผันผวนในปีนี้จากการ
ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมของธนาคารกลางของประเทศพัฒนาแล้ว และทิศทางการเมืองในสหรัฐฯและยุโรป การเปลี่ยน
แปลงนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน และความมั่นใจของนักลงทุน
  • อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงเผชิญความเสี่ยงด้านต่างประเทศ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ,
แนวนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่, ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และการเมืองในยุโรป ซึ่งอาจส่งผลให้ไทย
มีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นในช่วงปลายปี 60 เพื่อปรับสมดุลและรับมือกับภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายตามความผันผวนของ
เศรษฐกิจโลก หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันไว้ที่ระดับ 1.50% ต่อปีมาอย่าง
ต่อเนื่อง
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) ประกาศเป้าหมายขึ้นผลักดันกำไรขึ้นสู่อันดับ 3 ของกลุ่มธนาคารภายในปี 61 จากปัจจุบัน
อยู่ในอันดับ 4 ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดแผนงานในปี 60 ที่จะมีกำไรดีกว่าปีก่อน ตามแนวโน้มสินเชื่อที่จะขยายตัวให้มากกว่า 5% สูง
กว่าภาพรวมสินเชื่อกลุ่มธนาคารที่คาดว่าจะเติบโตราว 4-5% เน้นกลุ่มสินเชื่อโครงการของภาครัฐ พร้อมควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย
ได้ (NPL) ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ว่าแนวโน้มครึ่งปีแรก NPL อาจจะเพิ่มขึ้น แต่เป็นอัตราที่ชะลอลง
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) อัดฉีดเงินอีก 1.90 แสนล้านหยวนเข้าสู่ตลาดเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันในวันนี้ ผ่านการ
ดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO เพื่อรองรับความต้องการเงินสดก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีนใน
สัปดาห์หน้า
  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวบีบีซีของ
อังกฤษ โดยเตือนว่า กระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) มีความยุ่งยากซับซ้อน และความไม่แน่นอนที่
เกิดขึ้นในด้านของเงื่อนไขและกรอบเวลานั้น จะทำให้เศรษฐกิจของอังกฤษเผชิญกับความเสี่ยงในทิศทางขาลง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของอังกฤษจะขยายตัวดีกว่าที่ IMF คาดการณ์ไว้ก็ตาม
  • นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส เปิดเผยว่า การค้ากับเม็กซิโกนั้นให้ผล
ประโยชน์กับแรงงานสหรัฐ เนื่องจากเม็กซิโกนั้นได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจสหรัฐมานานแล้ว ขณะที่แรงงานอพยพก็ช่วยสนับสนุน
เศรษฐกิจสหรัฐได้ในระยะยาว

ถ้อยแถลงดังกล่าวถือว่าอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐที่จะขึ้นดำรง ตำแหน่งอย่างเป็นทางการวันที่ 20 ม.ค.นี้

  • นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยนักลงทุนรอดูว่านายทรัมป์จะ
เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ