ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.88 ทิศทางแข็งค่า มองกรอบวันนี้ 34.80-34.95

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 27, 2017 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.88 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 34.91/93 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดผิดหวังเรื่องภาษีของสหรัฐฯตั้งแต่วันพฤหัส และข้อมูลเศรษฐกิจอเมริกาที่ออกมาก็สัญญาณไม่ชัดเจน มองทิศทาง เงินบาทค่อนข้าง Downside" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.80-34.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.98 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 112.48 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0570 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 1.0592 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.9610 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสำหรับสัปดาห์นี้ (27 ก.พ.-3 มี.ค.) ที่ 34.90-
35.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาถ้อยแถลงของประธานาธิบดีทรัมป์ต่อสภาคองเกรส (28 ก.พ.) และสัญญาณเกี่ยวกับทิศ
ทางดอกเบี้ยจากเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ดัชนีความเชื่อ
มั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคส่วนบุคคลเดือน
ม.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนธ.ค. และจีดีพีประจำไตรมาส 4/59 (รายงานครั้งที่ 2) นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามตัวเลขส่งออก
เดือนม.ค. ของไทย และ ดัชนี PMI ของจีนและยุโรปด้วยเช่นกัน
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทสัปดาห์นี้ (27 ก.พ.-3 มี.ค.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.90-
35.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยต้องจับตาการแถลงนโยบายของปธน.ทรัมป์ต่อสภาคองเกรสในวันที่ 28 ก.พ.นี้ ว่าจะมีราย
ละเอียดเกี่ยวกับมาตรการทางการคลังเพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมทั้งการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯเดือน
กุมภาพันธ์ในวันศุกร์ที่ 3 มี.ค.2560
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ประเมินแนวโน้มสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ในปี 2560
จะกลับมาเติบโตได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 6.3 ได้อีกครั้ง โดยสินเชื่อภาคธุรกิจเติบโตร้อยละ 6.0 ในขณะที่สินเชื่อรายย่อยจะกลับมา
เติบโตได้ที่ร้อยละ 7.1 จากปัจจัยหนุนใน 4 เดือนด้วยกัน ได้แก่ 1) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ 2) การ ท่องเที่ยวและ
บริการ 3) กำลังซื้อของผู้บริโภค และรายได้การเกษตรและ 4) การปรับตัวขึ้นของผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้
  • นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทาง
เรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดการณ์ตัวเลขส่งออกเดือน ม.ค. 2560 ที่กระทรวงพาณิชย์เตรียมประกาศสัปดาห์นี้ น่าจะเป็น
บวก โดยจะขยายตัวกว่า 10% แน่ เนื่องจากมีสินค้าหลายประเภทขยายตัวดี เช่น สินค้าเกษตรที่ดีขึ้นจากราคาตลาดโลกปรับขึ้นมาก
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ระดับ 96.3 ในเดือนก.พ. โดยสูงกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 96.0
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้น 3.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ
555,000 ยูนิต หลังจากร่วงลงอย่างหนักในเดือนธ.ค.
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อวันศุกร์ (24 ก.พ.) เนื่อง
จากนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ทั้งในเรื่องของการปฏิรูปภาษีและ
กระตุ้นการใช้จ่าย โดยดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง 0.6% เทียบเยน แตะที่ 111.95 เยน ส่วนยูโรอ่อนตัวลง 0.2% เทียบดอลลาร์
สหรัฐ สู่ระดับ 1.0558 ดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (24 ก.พ.) โดยปิดที่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 เดือน หลังเงิน
ดอลลาร์อ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่มั่นใจเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งเงิน
ดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้ทองคำมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือสกุลเงินอื่นๆ จึงดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น
  • ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาคองเกรสสหรัฐในคืนวันอังคารที่

28 ก.พ. หรือตรงกับช่วงเช้าของวันพุธที่ 1 มี.ค.ตามเวลาไทย โดยคาดว่าเขาจะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการปรับลด

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลในวันดังกล่าว นอกจากมาตรการปฏิรูปภาษีแล้ว นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า

ปธน.ทรัมป์จะเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการสาธารณูปโภคในวันดังกล่าวเช่นกัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ