ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.47 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังความกังวลการเมืองสหรัฐฯกดดอลล์อ่อน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 18, 2017 09:18 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.47 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงจากช่วงเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.49/53 บาท/ดอลลาร์

วันนี้บาทคงจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ แต่ก็มีแนวโน้มไปในทิศทางที่อ่อนค่าตามค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค หลังจากที่ ตลาดมีความกังวลต่อปัญหาทางการเมืองในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายปฏิรูปอื่นๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

"ตอนนี้คนกลัวความเสี่ยงเรื่องทรัมป์ เพราะอาจจะมีผลต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ตามที่เขาเคยหา เสียงไว้ก่อนหน้านี้ เช้านี้ตลาดหุ้นในเอเชียก็ติดลบกัน ขณะที่เมื่อคืนดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ปิดร่วงไปกว่า 300 จุด" นัก บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.45-34.55 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.01 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 112.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1158 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1100 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.4890 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารทหารไทย จะประชุมคณะกรรมการสินทรัพย์และหนี้สิน (Alco) ในวันนี้ เพื่อพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยเงิน
กู้ ให้สอดคล้องกับกลไกตลาด
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวเกินคาด ชี้ปัจจัยหนุนเกษตร-ส่งออก-ลงทุน
ภาครัฐขยายตัว จับตาลงทุนเอกชนไม่ฟื้น คาดครึ่งปีหลังโตจากโครงการพื้นฐานและอีอีซี
  • นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด ระบุว่า มี
ความกังวลต่อตัวเลขการลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร รวมถึงมีข้อสังเกตว่า เหตุใดภาคเอกชนมีเงินทุนและ
เงินสดจำนวนมาก แต่ไม่ยอมเลือกลงทุนใหม่ กลับเลือกนำเงินไปจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสูง เพื่อกระตุ้นการเติบโตในตลาดหลัก
ทรัพย์แทน ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติ แนะรัฐบาลเปิดข้อมูลเศรษฐกิจแท้จริง อย่าบอกแค่ด้านดี
  • ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่นได้ขยายตัว 2.2% เทียบรายปีในไตรมาส
แรกของปีนี้ ทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกที่คึกคัก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว

ทางด้านการลงทุนภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่รัฐบาลญี่ปุ่นติดตามอย่างใกล้ชิด ขยายตัว 0.2% ชะลอตัวลงจากไตร มาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.9% ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัวลง 0.1% ในไตรมาสแรกของปีนี้

  • นายเยนส์ สปาห์น รมช.คลังเยอรมนี กล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ควรเริ่มต้นลดระดับการใช้นโยบายการ
เงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในไม่ช้า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบข้างเคียงที่จะตามมา
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยว่า หนี้ภาคครัวเรือนของสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 12.73 ล้านล้าน
ดอลลาร์ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงกว่าระดับ 12.68 ล้านล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงใน
ปี 2008
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17
พ.ค.) ด้วยแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบาย
กระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจนำไปสู่การถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอีกด้วย โดยยูโร
แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.1155 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1094 ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่
ระดับ 110.94 เยน จากระดับ 113.02 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (17 พ.ค.) เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองในสหรัฐได้กระตุ้นให้
นักลงทุนแห่เข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ การเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ ยังช่วยลดคาดการณ์
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนหน้า

นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการคาดการณที่ว่า เฟดอาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า หลัง จากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านร่วงลง 2.6% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.17 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว จากระดับ 1.20 ล้านยูนิตในเดือนมี.ค.

  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนี
การผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ค.โดยเฟดฟิลาเดลเฟีย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ