ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.27/28 แนวโน้มยังแข็งค่า หลังดอลล์อ่อนจากความกังวลการเมืองในสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 1, 2017 09:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.27/28 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว จากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดระดับ 33.28 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีโอกาสจะแข็งค่าขึ้นไปได้ต่อ เนื่องจากดอลลาร์ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าจากปัจจัยด้านการเมืองของสหรัฐฯ เองเป็นตัวกดดัน แม้ว่าข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาในช่วงนี้จะดูดีก็ตาม

"เงินบาทวันนี้ยังมีโอกาสจะแข็งค่าต่อ เพราะดอลลาร์ยังอ่อนค่า จากกรณีเรื่องการเมืองของสหรัฐฯ เองเป็นตัวกด ดัน" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.15 - 33.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.28/29 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.64 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1827/1830 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1740 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.3140 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทสไทย (ธปท.) เตือนเอกชนทำประกันความเสี่ยง ไม่การันตี 'บาท' แข็งค่าหลุด 33 บาท/
ดอลล์ เหตุครึ่งปีหลังเงินสหรัฐมีทิศทางอ่อนลงอีก แต่มั่นใจไม่กระทบส่งออกได้ตามเป้า ขยายตัว 5%
  • สมาคมผู้ค้าปลีกไทย กังวลกำลังซื้อครึ่งปีหลังจากผลดัชนีไตรมาสสองแผ่วตัว ฉุดดัชนีครึ่งปีแรกลดลง แนะออก
มาตรการกระตุ้นเพิ่ม เหตุจากกลุ่มรายได้ปานกลาง-รายได้น้อย ติดกับดักหนี้ครัวเรือนที่สูง
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี สั่งตลาดหลักทรัพย์ ดึงเงินจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน
(CMDF) ตั้งกองทุน "แองเจิล ฟันด์" ร่วมกับภาคเอกชนและทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพตั้งแต่เป็นตัว
อ่อน พร้อมสั่งดีอี-อุตสาหกรรม-คลังเร่งเคลียร์ทุกอุปสรรคให้เสร็จภายใน ก.ย.นี้ ก่อนไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานยักษ์ START UP
THAILAND
  • นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ
ไทยขณะนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องเงินฝืด แม้ว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบมา 2 เดือนติดกัน เพราะทางเทคนิคเงินเฟ้อจะต้องติดลบติดต่อกัน
6 เดือน ถึงจะถือว่าเศรษฐกิจมีปัญหาเรื่องเงินฝืด
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในยูโรโซนทรงตัวที่
ระดับ 1.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมหมวด
อาหารและพลังงาน ดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี จากระดับ 1.2% ในเดือนมิ.ย. สวนทางนักวิเคราะห์ที่
คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 1.1%
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) รายงานว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
(pending home sales) เพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังปรับตัวลง 3 เดือนติดต่อกัน โดยหากเทียบราย
ปี ดัชนีเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค.
  • นายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ไม่ได้มี
สาเหตุเพียงอย่างเดียวจากการที่เฟดตรึงไว้ในระดับดังกล่าว แต่ยังเกิดจากการที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะอ่อนแอ รวมทั้งจากปัจจัยอื่นๆ
ซึ่งการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เป็นการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจมีศักยภาพที่จำกัดในการขยายตัว และการเติบโตที่ชะลอตัวลงจะ
ลดโอกาสของภาคธุรกิจที่จะทำกำไร และสร้างแรงกดดันต่อความต้องการลงทุน
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) จาก
แรงกดดันของสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐ โดยล่าสุดประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งปลดนายแอนโธนี สคารา
มุคซี ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของทำเนียบขาว ซึ่งได้สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนเกี่ยวกับการบริหารประเทศของ
ทรัมป์ โดยยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1825 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1754 ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อ
เทียบกับเยน ที่ระดับ 110.37 เยน จากระดับ 110.68 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (31 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้น
ติดต่อกัน 2 วันทำการ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ช่วยสกัดแรงลบในตลาด ซึ่งส่งผลให้สัญญาทองคำปิดปรับตัวลง
เพียงเล็กน้อย
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งได้แก่ การใช้จ่าย-รายได้ส่วนบุคคลเดือนมิ.ย., ดัชนีราคา
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิ.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค., ดัชนีภาคการ
ผลิตเดือนก.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนมิ.ย. และยอดขายรถเดือนก.
ค.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ