Analysis: โลกของเราจะตกอยู่ในภาวะแผ่นดินไหวอีกครั้งหรือไม่

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 18, 2016 10:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวและความเคลื่อนไหวทางธรณีที่ผิดปกติขึ้นทั่วโลก โดยเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งที่เอกวาดอร์ ญี่ปุ่น เมียนมาร์ อัฟกานิสถาน และอินโดนีเซีย ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิต และยังมีการเตือนภัยเรื่องคลื่นสึนามิตามมาอีกหลายครั้ง

หลายฝ่ายอดสงสัยไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงเรื่องบังเอิญหรือไม่ หรือโลกเราจะเข้าสู่โหมดแผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ตามมาอีกหรือไม่

แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญเองก็มองว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาบทสรุปได้อย่างรวดเร็วกับเรื่องนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็มองว่า ทั้งความแรงและความถี่ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้จะยังคงอยู่ในระดับที่ปกติ

แรนดี บอลด์วิน นักภูมิศาสตร์ประจำสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) กล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า การจะชี้ชัดลงไปว่า โลกกำลังเผชิญกับช่วงเวลาแห่งการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกแบบบ่อยครั้งอีกหรือไม่นั้น ยังเป็นเรื่องที่ลำบาก

แรนดี กล่าวว่า พื้นที่ที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวทั่วโลกนั้น อาจจะเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงในเวลาใดก็ได้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่เชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญมองว่า สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และชี้ว่า ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย ซึ่งทั้ง 2 ประเทศตั้งอยู่บนพื้นที่การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนั้น ก็เป็นสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

พื้นที่ดังกล่าวครอบคลุมไปจนถึงชายฝั่งแปซิฟิคของสหรัฐ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และนิวซีแลนด์ การปล่อยพลังงานประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของพลังงานในการก่อให้เกิดแผ่นดินไหวจากภายในโลกใบนี้ ส่งผลให้มีการตั้งชื่อพื้นที่บริเวณนี้ว่า วงแหวนแห่งไฟในแปซิฟิก

อย่างไรก็ตาม การแสดงปฏิกริยาที่ตื่นตระหนกเกี่ยวกับกระแสการเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงครั้งใหม่นั้น ถือเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป โดยนักวิทยาศาสตร์บางส่วนยืนกรานว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในบางพื้นที่เท่านั้นที่จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

นายซู เหว่ย นักวิจัยของสถาบันธรณีวิทยาในสังกัดของสำนักงานแผ่นดินไหวจีน กล่าวเตือนว่า พื้นที่ทางใต้ของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนนั้น มีกิจกรรมด้านภูมิศาสตรฺเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และปัจจุบันก็เข้าสู่ช่วงเวลาของการรวมแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่รุนแรงกว่าขนาด 7 แมกนิจูดแล้ว

"เราต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำความเข้าใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มของเปลือกโลกในภูมิภาค" นายซู กล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงาน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ