ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร: ข้าว

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 17, 2014 14:42 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

1.1 การตลาด

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

ผลการดำเนินงาน

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 – 9 เมษายน 2557)

  • จำนวนสัญญา 2,913,054 สัญญา
  • จำนวนตัน 22,501,070 ตัน
  • จำนวนเงิน 352,277.545 ล้านบาท

โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

1) มติ ครม. วันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบราคา ปริมาณ วงเงินการรับจำนำข้าวเปลือกของเกษตรกร และระยะเวลาการรับจำนำโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57

2) ชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก ปี 2556/57 ให้กำหนดชนิดและราคารับจำนำข้าวเปลือก

ปี 2556/57 ณ ความชื้นไม่เกิน 15 % ดังนี้

  • ครั้งที่ 1

(1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ (42 กรัม) ตันละ 20,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด (40 กรัม) ตันละ 18,000 บาท

(ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 23 จังหวัด)

(3) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(4) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 15,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 14,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 14,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 14,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 13,800 บาท

(5) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกหอมมะลิและข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม

โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ 160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

  • ครั้งที่ 2

(1) ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

(2) ข้าวเปลือกเจ้า :-

ข้าวเปลือกเจ้า 100% ตันละ 13,000 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 12,800 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 10% ตันละ 12,600 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 15% ตันละ 12,200 บาท

ข้าวเปลือกเจ้า 25% ตันละ 11,800 บาท

(3) ข้าวเปลือกเหนียว :-

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว (42 กรัม) ตันละ 16,000 บาท

ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดสั้น (40 กรัม) ตันละ 15,000 บาท

ทั้งนี้ ราคารับจำนำข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัมในอัตรากรัมละ 200 บาท และราคารับจำนำข้าวเปลือกเหนียว ให้ปรับเพิ่ม – ลดตามจำนวนกรัม โดยเมล็ดยาว ในอัตรากรัมละ

160 บาท และเมล็ดสั้นในอัตรากรัมละ 150 บาท

3) เป้าหมายการรับจำนำ จะรับจำนำข้าวเปลือกคุณภาพดี โดยจะไม่รับจำนำข้าวเปลือกที่มีอายุน้อยกว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์ ตามที่กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ โดยจะไม่ให้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ครั้ง

4) วงเงินการรับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ไม่เกินรายละ 350,000 บาท
  • ครั้งที่ 2 ไม่เกินรายละ 300,000 บาท

5) เป้าหมายการรับจำนำ รวมจำนวน 16.5 ล้านตัน

6) ระยะเวลารับจำนำ

  • ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 28 กุมภาพันธ์ 2557

ยกเว้น ภาคใต้จะสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2557

  • ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2557

ยกเว้น ภาคใต้ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 พฤศจิกายน 2557

7) ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1

จำนวนเกษตรกรที่รับเงินกับ ธ.ก.ส. (ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 9 เมษายน 2557)

  • จำนวนสัญญา 672,626 สัญญา
  • จำนวนตัน 4,433,533 ตัน
  • จำนวนเงิน 72,428.946 ล้านบาท

ภาวการณ์ซื้อขายข้าวสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากเป็นข้าวคุณภาพ และตลาดยังคงมีความต้องการ ส่วนข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดมากขึ้น และผู้ประกอบการบางรายชะลอการสั่งซื้อข้าว เพราะรัฐบาลมีการระบายข้าวในสต๊อกจากโครงการรับจำนำ

1.2 ราคา

1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ

ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,089 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,051 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.27

ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,967 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,042 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.07

2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,400 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,260 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24

3) ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.

ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 1 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 1,032 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,135 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,026 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,047 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 88 บาท

ราคาข้าวปทุมธานี ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,329 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,776 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 447 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,715 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,690 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท

ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 355 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,398 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 352 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11,338 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท

ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,325 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,077 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 248 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.1074 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ

สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม

สมาคมอาหารแห่งเวียดนาม (Vietnam Food Association) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 (มกราคม – มีนาคม) เวียดนามส่งออกข้าว 1.22 ล้านตัน ลดลงจาก 1.45 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ถึงแม้ว่าราคาข้าวของเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามมีแนวโน้มลดลง โดยราคาส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2557 เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 13,997 บาท) ลดลงจากตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,191 บาท) หรือลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2556 ในเดือนมีนาคม 2557 เวียดนามส่งออกข้าว 583,294 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 330,501 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557 แต่ลดลงจาก 706,843 ตัน หรือลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2556 ราคาส่งออกเดือนมีนาคม 2557 เฉลี่ยตันละ 439 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณตันละ 14,095 บาท) ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557 แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2556

ทั้งนี้ ข้าวที่ส่งออกในเดือนมีนาคม 2557 จำแนกเป็น ข้าวขาว 15% 207,972 ตัน ข้าวขาว 4% – 10% 166,886 ตัน ข้าวหอม 125,200 ตัน ข้าวเหนียว 53,525 ตัน และข้าวขาว 25% 16,046 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ร้อยละ 29 ร้อยละ 21 ร้อยละ 9 และร้อยละ 3 ตามลำดับ โดยประเทศในเอเซียเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด นำเข้า 450,438 ตัน รองลงมาได้แก่ ประเทศในกลุ่มอเมริกา 66,440 ตัน แอฟริกา 47,961 ตัน สหภาพยุโรป 11,077 ตัน ตะวันออกกลาง 6,802 ตัน และออสเตรเลีย 576 ตัน ตามลำดับ

ที่มา Oryza.com

จีน

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2557/58 (กรกฎาคม 2557 – มิถุนายน 2558) จีนนำเข้าข้าวประมาณ 4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 3.5 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปี 2556/57 เนื่องจากราคาประกันของรัฐบาล (government support price) ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับราคาข้าวของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ไทย เวียดนาม และปากีสถาน โดยปกติแล้วจีนจะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นเมื่อราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวลดลง ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นอกจากนี้ การบริโภคข้าวในประเทศมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเพิ่มของผลผลิต เนื่องจากการขยายตัวของประชากรและความต้องการเชิงอุตสาหกรรม

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์เพิ่มเติมว่า ในปี 2557/58 จีนผลิตข้าว 143 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 142.3 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2556/57 ขณะที่ในปี 2557/58 จีนมีความต้องการใช้ในประเทศ 148 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 146 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี 2556/57 โดยการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจะช่วยให้จีนสามารถรักษาระดับสต๊อกข้าวปี 2557/58 ไว้ที่ 45 ล้านตัน

แหล่งข่าวดังกล่าว เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนยังคงใช้มาตรการสนับสนุนเกษตรกรภายใต้โครงการประกันราคา โดยรัฐบาลกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำข้าวพันธุ์อินดิกาประจำปี 2557/58 ตันละ 2,700 หยวน (หรือประมาณตันละ 437 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 14,031 บาท) เพิ่มขึ้นจากตันละ 2,640 หยวน (หรือประมาณตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 13,710 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปี 2556/57 สำหรับข้าวเปลือกพันธุ์จาปอนิกา ราคาตันละ 3,100 หยวน (หรือประมาณตันละ 502 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 16,118 บาท) เพิ่มขึ้นจากตันละ 3,000 หยวน (หรือประมาณ 486 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณตันละ 15,604 บาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 2556/57

ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมีกำหนดที่จะเปิดประมูลเพื่อขายข้าวที่รับซื้อจากเกษตรกรในช่วงครึ่งหลังของปี

โดยแหล่งข่าวระบุว่า รัฐบาลจีนรับซื้อข้าวจาปอนิกาจากเกษตรกรในปี 2556/57 รวม 10 ล้านตัน และรัฐบาลจะสนับสนุนเงินช่วยเหลือตันละ 140 หยวน (หรือ 23 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 738 บาท) ให้แก่ผู้ซื้อในมณฑลทางชายฝั่งตอนใต้ เพื่อซื้อข้าวที่ผลิตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

ปัจจุบัน รัฐบาลจีนยังคงกำหนดโควตาภาษี (TRQs) สำหรับการนำเข้าข้าว และจะเพิ่มโควตาในกรณีที่จำเป็น โดยจัดสรรโควตาให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้ จีนกำหนดอัตราภาษีนำเข้าข้าวในโควตาร้อยละ 1 และนอกโควตาร้อยละ 65

ที่มา Oryza.com

เมียนมาร์

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2558 เมียนมาร์ส่งออกข้าว 1.31 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1.3

ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์การส่งออกข้าวปี 2557 และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2556 ซึ่งคาดการณ์ว่าเมียนมาร์ส่งออกข้าวได้ 1.16 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 การส่งออกข้าวในปีนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ขยายตัวและการพัฒนาคุณภาพข้าว โดยล่าสุดเมียนมาร์ชนะการประมูลข้าวที่จะส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น จำนวน 60,000 ตัน และมีกำหนดจะจัดส่งภายในปีนี้

การผลิตข้าวในเมียนมาร์กำลังได้รับการพัฒนา เนื่องจากราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้น สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การสนับสนุนของรัฐบาล ระบบสาธารณูปโภคและเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุง โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2558 เมียนมาร์ผลิตข้าว 12.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 11.96 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี 2557 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกขยายตัว ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการก่อสร้างเขื่อนทั้งหมด 8 แห่ง และมีกำหนดเสร็จในปี 2557 นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงคลองระบายน้ำในเขตพื้นที่น้ำท่วมและการพัฒนาพื้นที่น้ำลึกในเขตอิรวดี ซึ่งจะส่งผลให้เมียนมาร์มีพื้นที่เพาะปลูกฤดูแล้งเพิ่มขึ้น ล่าสุดกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ผลผลิตในปี 2557 เป็น 11.96 ล้านตัน จากเดิม 11.72 ล้านตัน หรือปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2

ขณะที่ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ความต้องการใช้ในประเทศปี 2558 ไว้ที่ 11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 10.5 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2557 โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2 จะส่งผลให้อัตราการบริโภคช้าวเพิ่มขึ้นเป็น 180 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นเป็น 103 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ (หรือประมาณ 16.48 กิโลกรัมต่อไร่)

ปัจจุบัน รัฐบาลเมียนมาร์ให้การสนับสนุนเกษตรกรผ่านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การใช้เครื่องจักรกล ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนด้านการเงินแก่เกษตรกรด้วยสินเชื่อ 40,000 จ๊าดต่อ

เฮคตาร์ (หรือประมาณ 41 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,316 บาทต่อเฮคตาร์ หรือประมาณ 210 บาทต่อไร่) ผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ตั้งข้อสังเกตว่าการผลิตข้าวของเมียนมาร์ยังคงไม่สามารถแข่งขันกับไทยและเวียดนามได้ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ที่มา Oryza.com

--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 เม.ย. 2557--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ