เทรนด์ไมโครสร้างประสบการณ์ “เล่นเกมมือถือ” อย่างปลอดภัย สำหรับผู้บริโภคในเมืองไทย อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday July 23, 2014 16:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--เอฟเอคิว ผู้นำด้านซอฟต์แวร์ความปลอดภัยระดับโลก ร่วมกับนักพัฒนาเกมในเอเชียจัดตั้ง “กลุ่มพันธมิตรเกมที่ปลอดภัย” เปิดตัวโมบายแอพฯฟรี “Dr.Safety” พร้อมฟีเจอร์ที่ผ่านการรับรองเผย “สถิติเติบโต และสถานการณ์ของโมบายเกมในประเทศไทย” รวมถึงแนวโน้มในอนาคต ผู้บริโภคควรพึงระวัง! ครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคจากประเทศไทยที่ตอบแบบสอบถามเคยพบเจอดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือแอพฯที่มีความเสี่ยงบนอุปกรณ์พกพา จากผลการสำรวจทางออนไลน์ล่าสุดของบริษัทเทรนด์ไมโครผู้นำระดับโลกในการพัฒนาโซลูชั่นซอฟต์แวร์ด้านการรักษาความปลอดภัย กล่าวว่าเพื่อช่วยให้การต่อสู้กับโมบายแอพฯที่อันตรายและโมบายแอพฯ ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่ชื่นชอบการเล่นเกมอย่างเช่นประเทศไทย เทรนด์ไมโครจึงได้ร่วมมือกับนักพัฒนาโมบายเกมทั่วเอเชีย จัดตั้ง “กลุ่มพันธมิตรเกมที่ปลอดภัย” หรือ Safe Gaming Alliance การประกาศความร่วมมือในครั้งนี้แสดงถึงแผนการของ เทรนด์ไมโครในการมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเกมมือถือ ต่อยอดจากประสบการณ์เชิงลึกของบริษัทฯ ในด้านระบบโมบายและโซเชียลเน็ตเวิร์ก ภายใต้ความมุ่งมั่นดังกล่าว เทรนด์ไมโครได้เปิดตัว “Dr. Safety” ซึ่งเป็นโมบายแอพฯสำหรับการรักษาความปลอดภัยอย่างเหนือชั้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยร่วมมือกับนักพัฒนาเกม เพื่อสร้างโลกแห่งโมบายเกมที่ปลอดภัยมากขึ้น แอพฯดังกล่าวเปิดตัวเป็นครั้งแรกที่ไต้หวัน และขณะนี้พร้อมใช้งานในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย-แปซิฟิกแล้วแอพฯนี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีเกมที่ปลอดภัย 6 เทคโนโลยี รวมถึงฟีเจอร์แนะนำเกมที่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคสำหรับการดาวน์โหลดแอพฯเกมที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อประสบการณ์การเล่นเกมโมบายที่ดีที่สุด นักพัฒนาโมบายเกมที่เข้าร่วมกลุ่ม Safe Gaming Alliance ได้แก่ Monkey Wrench Games และPigsss Games จากประเทศไทย รวมถึงนักพัฒนาจากทั่วภูมิภาค เช่น AppXplore, CreatioSoft, FunPlus, Games Solution Centre ของสิงคโปร์, Gamiana, Gumi Asia, Softstar Entertainment และ Tuttifrutti Interactive “ด้วยอัตราการเติบโตของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในเมืองไทยจึงมีการใช้งานการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น แอพฯเกมมือถือเป็นเซ็คเตอร์หนึ่งที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นอาชญากรไซเบอร์จึงมีแนวโน้มที่จะหาหนทางสร้างรายได้จากเซ็คเตอร์นี้ ด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระดับท้องถิ่น เช่น Monkey Wrench Games และ Pigsss GAMES เราจึงสามารถนำเสนอแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภคชาวไทย เพื่อป้องกันการดาวน์โหลดแอพฯเกมมือถือที่ปลอมแปลงหรือมีความเสี่ยง ซึ่งมาพร้อมกับคอนเทนต์อันตราย” มร. เทอเรนซ์ ตัง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเทรนด์ไมโคร เดวิท อึ้ง ประธานฝ่ายบริหารของ Gumi Asia กล่าวว่า “สำหรับ Gumi Asia เราเชื่อว่าไม่เพียงแต่การสร้างเกมมือถือให้ผู้เล่นชื่นชอบเท่านั้น แต่ความปลอดภัยในเกมมือถือที่เล่นนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่พวกเขาต้องการ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรเกมที่ปลอดภัย Safe Gaming Alliance และเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามอย่างต่อเนื่องไปสู่เกมที่มีรูปแบบที่ปลอดภัยสำหรับผู้เล่นเกมมือถือ” สถานการณ์ของโมบายเกมในไทย และแนวโน้มในอนาคต ในเอเชีย เทคโนโลยีโมบายและโซเชียลเน็ตเวิร์คหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จึงคาดว่าอุตสาหกรรมเกมจะเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ รายงานจาก Newzoo บริษัทวิจัยสัญชาติดัทช์ ระบุว่ารายได้จากเกมมือถือจะเติบโตในอัตรา 27.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีจนถึงปี 2559 นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุว่าภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเกมมือถือ ด้วยส่วนแบ่ง 48 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลก นอกจากนั้น ผลโพลล์ออนไลน์ล่าสุดของเทรนด์ไมโคร ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 2,000 คนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ยืนยันว่า ผู้บริโภคในเอเชียมีความต้องการเล่นเกมมือถือเป็นอย่างมากในเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามบนระบบโมบาย ข้อมูลสำคัญที่ได้รับจากผลโพลล์ออนไลน์มีดังนี้: -ประเทศไทยครองอันดับ 3 ด้านการดาวน์โหลดแอพฯ เกมส์มือถือ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม – 81% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยเล่นเกมมือถืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ขณะที่ 53% เล่นเกมมือถือทุกวัน ในส่วนของการดาวน์โหลดแอพฯเกมมือถือ ผู้บริโภค 40% ดาวน์โหลดแอพฯเกมทุกสัปดาห์ ขณะที่ 27 % ดาวน์โหลดเกมทุกเดือน -ประเทศไทยมีการใช้จ่ายสำหรับแอพฯเกมมือถือสูงสุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ตอบแบบสอบถาม – 63 % ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่า 10 ดอลลาร์ (320 บาท) เพื่อซื้อเกมมือถือหนึ่งเกม จึงนับเป็นประเทศที่มียอดใช้จ่ายบนเกมมือถือมากที่สุด -โดยเฉลี่ยแล้ว พ่อแม่น้อยกว่าครึ่งที่ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในไลฟ์สไตล์การใช้โมบายของลูก – มีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยเพียงแค่ 44 %เท่านั้นที่รับรู้ว่าลูกของตัวเองเล่นเกมอะไรบนอุปกรณ์พกพา และมีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30 %ที่เล่นเกมมือถือกับสมาชิกครอบครัวและเพื่อนฝูง -ผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามบนมือถือ– มีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยเพียงแค่ 43%ที่ติดตั้งแอพฯรักษาความปลอดภัยหรือแอพฯป้องกันไวรัสบนโทรศัพท์มือถือ เมื่อถามว่าผู้ใช้เคยพบเจอหรือดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือแอพที่มีความเสี่ยงหรือไม่ ปรากฏว่า 50 %ระบุว่าเคย ขณะที่ 25 % ระบุว่าไม่เคย และอีก25 %ไม่รู้ว่าตนเองเคยดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือไม่ -ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้ตรวจสอบว่าแอพฯเป็นของแท้หรือไม่ – มีเพียง 16%ของผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยที่ตรวจสอบแอพฯหลังจากที่ดาวน์โหลดจากแอพฯสโตร์ ระวังภัยคุกคามบนมือถือ! รายงานความปลอดภัยประจำไตรมาสแรกของปี 2557 ของเทรนด์ไมโครชี้ว่า จำนวนของโมบายมัลแวร์และแอพฯความเสี่ยงสูงแตะระดับ 2 ล้าน สถานการณ์ของภัยคุกคามบนมือถือเริ่มใกล้เคียงกับสถานการณ์ของภัยคุกคามบนพีซี โดยมีการตรวจพบช่องโหว่ใหม่ๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2556 เป็นต้นมา เช่น ช่องโหว่ “มาสเตอร์คีย์” บนระบบปฏิบัติการ Android™ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เกือบทั้งหมด ทำให้โมบายมัลแวร์ถูกเข้าใจว่าเป็นแอพฯที่ “ถูกต้องเหมาะสม” และหลังจากนั้นไม่นานนัก ช่องโหว่ในอุปกรณ์เสริม เช่น ซิมการ์ด และอุปกรณ์ชาร์จ iPhone®ของปลอม ก็เริ่มปรากฏให้เห็น และต่อมาก็พบจุดบกพร่องของแพลตฟอร์มที่ทำให้อุปกรณ์เข้าสู่วังวนของการรีบูตอย่างไม่รู้จบ หรือทำให้ข้อมูลผู้ใช้เกิดรั่วไหล และล่าสุด ช่องโหว่ Heartbleed ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุปกรณ์พกพา เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันอาชญากรไซเบอร์กำลังปรับเปลี่ยนแอพฯเกมมือถือยอดนิยมด้วยเจตนาร้าย โดยแอพฯเหล่านี้นอกจากจะโฮสต์อยู่บนไซต์อันตรายแล้ว ยังเผยแพร่อยู่ในแอพฯสโตร์ที่ถูกกฎหมายอีกด้วย ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ กรณีล่าสุดของเกม Flappy Bird ที่ถูกปรับเปลี่ยนและแฝงโค้ดอันตรายเพื่อให้กลายเป็นโทรจัน ปรากฏว่าแอพฯปลอมดังกล่าวถูกดาวน์โหลดหลายต่อหลายครั้งโดยผู้ใช้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวภายในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากที่แอพฯทางการถูกเพิกถอนออกจากแอพฯสโตร์ “ที่ Monkey Wrench Games เป้าหมายของเราคือการสร้างเกมมือถือที่แปลกใหม่ สนุกสนาน และมีคุณภาพสูง เราต้องการให้ลูกค้ามั่นใจว่าเกมของเราสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยบนโทรศัพท์มือถือ ด้วยเหตุนี้เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Safe Gaming Alliance เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการเล่นเกมที่ปลอดภัยมากขึ้นบนอุปกรณ์พกพา” นาย ภาณุภัค เมธาไชยสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ Monkey Wrench Games เกมสตูดิโออิสระของไทย กล่าว เล่นเกมอย่างปลอดภัยบนอุปกรณ์พกพาด้วย Dr. Safety Dr. Safety คือโมบายแอพฯฟรีที่ประกอบด้วยฟังก์ชั่นแนะนำแอพฯเกม ช่วยให้เกมเมอร์เล่นเกมที่แนะนำได้อย่างสบายใจ และไม่ต้องกังวลว่าจะดาวน์โหลดแอพฯปลอมหรือถูกขโมยไอเท็มในเกม Dr. Safety มีความสามารถในการตรวจจับ 100% จึงสามารถปกป้องผู้ใช้ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามภายนอก และสามารถลบโมบายแอพฯอันตรายออกจากอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะช่วยปรับปรุงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บน Facebook และระบุแอพฯอันตรายที่ขโมยข้อมูล รวมถึงแอพฯธนาคารปลอม ทั้งนี้ Dr. Safety ตรวจจับได้ 100% จากผลการทดสอบ AV-TEST และได้รับการรับรองโดย PCSL และ AV-Comparatives ฟีเจอร์การป้องกัน 6 ฟีเจอร์ใน Dr. Safety ได้แก่: 1. ปกป้องบัญชีเกม–สแกนแอพฯและไฟล์ทั้งหมดของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอันตราย 2. ปกป้องความเป็นส่วนตัว–ระบุว่าแอพฯใดเก็บรวบรวมและขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณ โดยใช้เครือข่ายการปกป้องอัจฉริยะของเทรนด์ไมโคร (Trend Micro Smart Protection Network) 3. ป้องกันการฟิชชิ่ง–ปิดกั้นเว็บไซต์อันตราย รวมถึงฟิชชิ่ง และเว็บไซต์ธนาคารปลอม 4. ป้องกันโจรกรรม–ค้นหาอุปกรณ์ของคุณในกรณีที่เกิดสูญหาย 5. ป้องกันการรบกวน–ปิดกั้นการติดต่อที่ไม่พึงประสงค์ด้วยรายการหมายเลขโทรศัพท์ที่ปลอดภัยและบัญชีดำ (แบล็คลิสต์) 6. แนะนำเกมที่รับรองว่าปลอดภัย–ดาวน์โหลดแอพฯได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งเล่นเกมและใช้ยูทิลิตี้ที่แนะนำได้อย่างไร้กังวล Dr. Safety พร้อมดาวน์โหลดแล้วที่ Google Playและรองรับภาษาอังกฤษ บาฮาซ่าอินโดนีเซีย จีน โปรตุเกส (บราซิล) รัสเซีย ไทย ตุรกี และเวียดนาม
แท็ก เอเชีย   โมบาย   AFET  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ