Thailand LAB 2014 ทางออกอุตสาหกรรมอาหารปลอดภัยสู่ตลาดโลก

ข่าวทั่วไป Friday July 25, 2014 16:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--2010 ครีเอชั่น แอนด์ คลีน อุตสาหกรรมผลิตอาหาร นับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตปีละประมาณ13% โดยสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้นคิดเป็นร้อยละ 13 ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของประเทศ โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มประมงและผลิตภัณฑ์ประมงมีสัดส่วนถึงร้อยละ 42 สินค้าผักผลไม้และผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 10 สินค้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ร้อยละ 8 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ร้อยละ40ของสินค้าอาหารส่งออกทั้งหมด นางพัชรี ตั้งตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ภายใต้กติกาการเปิดเสรีทางการค้าของโลกทำให้การส่งออก สินค้าเกษตรและอาหารของไทยได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงระยะเวลา 6-7 ปีที่ผ่านมาการศึกษาวิเคราะห์ กฎหมาย กฎระเบียบของที่เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของต่างประเทศจึงนับว่ามีความความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านของการกำหนดกฎระเบียบทางการค้าของประเทศคู่ค้า และที่สำคัญคือเรื่องของการเตรียมพร้อมผู้ประกอบการไทยด้านความปลอดภัยทางอาหาร สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากสารเคมี (Chemical Safety) ,ความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ (Microbiological Safety) ,ประเด็นด้านระดับการยอมรับของสังคม (Society Concern) ที่มีต่อความปลอดภัยของอาหาร ทั้งนี้ วิธีการประเมินสถานะความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) โดยอาศัยข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ (Sound Scientific Evidence) ถือเป็นหัวใจสำคัญ “ปัญหาที่ผ่านมาในอุตสาหกรรม อาหารจำนวนมากยังไม่ได้เข้าสู่ระบบคุณภาพมาตรฐาน สุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมโรงงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล และการให้บริการด้านการตรวจสอบรับรองโรงงานมีข้อจำกัด ซึ่งยังไม่มีการดำเนินงานในลักษณะเชิงพาณิชย์ สินค้าส่งออกของไทยยังคงมีปัญหาในการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง ทั้งในส่วนของสารกำจัดแมลงและวัชพืช (Pesticide/ Herbicide) ยาปฎิชีวนะ (Veterinary Drug) สารปรุงแต่งอาหาร (Food Additive) นอกจากนั้นยังคงมีปัญหาในด้านของการแสดงข้อมูลบนฉลากสินค้า รวมถึงเชื้อจุลินทรีย์ และโรคระบาดสัตว์ ด้านการวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรมสินค้าเกษตรและอาหารของไทยยังคงขาดการวิจัยและพัฒนาในการกำหนดมาตรฐานในขบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารทั้งระบบ ( Food Chain) อีกทั้งยังขาดข้อมูลอ้างถึงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Data) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการเจรจาทางการค้า และขาดสถาบันที่ทำหน้าที่เป็น Consortium ในการสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Support) อยู่จำนวนมาก ” นางพัชรีกล่าว ดังนั้นงาน Thailand LAB 2014 งานแสดงสินค้า และประชุมนานาชาติ ด้านเทคโนโลยี เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้น วันที่ 17-19 กันยายน ที่ EH101-102 ไบเทค บางนา นั้น จะเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตร ได้ข้อมูล และทางออกในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ และนำมาใช้ในช่องทางขยายตลาดต่างประเทศต่อไป สำหรับงาน Thailand LAB 2014 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมและเปิดประชุมระดับนานาชาติ ในหัวข้อที่กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตร ต้องรู้และได้ประโยชน์สูงสุดคือ การประชุมสัมมนาในหัวข้อ “"Keep Abreast on Global Food Safety Issue and Regulations" การรู้เท่าทันปัญหาด้านความปลอดภัยอาหารทั่วโลก ซึ่งจัดประชุมสัมมนาโดย ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอาหารและบริการที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 17 กันยายน 2557 เวลา 13.00-16.00 น. ที่ห้อง 102 A ในวันที่ 19 กันยายน 2557 ช่วงเช้า 09.00น.-12.00 น. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประชุมสัมมนาในหัวข้อ "Food Allergen Derection by Elisa Technique" ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้อาหาร และ เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์สารก่อภูมิแพ้อาหารด้วยเทคโนโลยีการผลิตชุดทดสอบสารก่อภูมิแพ้ด้วยเทคนิค ELISA ทั้งนี้ปัจจุบันแนวโน้มของประชากรที่เป็นโรคภูมิแพ้อาหารมีมากขึ้น และอาจแสดงอาการแพ้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต และยังไม่มีวิธีการรักษา ทำให้หลายประเทศจัดโรคภูมิแพ้อาหารเป็นปัญหาเร่งด่วนและเพิ่มมาตรการควบคุมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง โดยออกกฎระเบียบบังคับในการแสดงฉลากของสารก่อภูมิแพ้ ผู้ผลิตอาหารจะต้องวางมาตรการในการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในโรงงาน โดยการตรวจติดตามปัจจัยเสี่ยงของการมีอยู่หรือการปนเปื้อนของสารก่อภูมิแพ้ทั้งระบบ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นทั้งต่อผู้ผลิต คู่ค้า และผู้บริโภค และในวันเดียวกัน ช่วงบ่ายจะเป็นเรื่อง "Nutraceutical" การใช้อาหารเป็นยา และการใช้ยาเป็นอาหาร นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อการประชุมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตรที่น่าสนใจ โดยสถาบันอาหาร National Food Institute (NFI) ในวันที่ 18-19 กันยายน อีกด้วย มีหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจที่พลาดไม่ได้ โดยวันที่ 18 กันยายน เวลา 9.00น.-17.00 น. จะเป็นเรื่อง NFI สัมมนาเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารการประเมินความเสี่ยงโดยการวิจัยความปลอดภัยของอาหารและการประเมินความเสี่ยงศูนย์ NFI Seminar on Food Safety Risk Assessment by Food Safety Research and Risk Assessment Center , "การประเมินความน่าจะเป็นความเสี่ยงของการได้รับอะฟลาท็อกซิน M1 จากผลิตภัณฑ์นมในประชากรไทย" "Probabilistic Risk Assessment of Exposure to Aflatoxin M1 from Milk Products in Thai Population","การประเมินการได้รับสารหนูจากห้าประเภทของข้าวกล้องในประชากรไทย" "Laboratory Analysis Supporting Food Safety Research and Risk Assessment","การเฝ้าระวังความเสี่ยงสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ในประเทศไทย""Risk Surveillance to Pesticides Residue in Fruit and Vegetable in Thailand" วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 9.00น.-17.00 น.สถาบันอาหารจัดประชุมสัมมนาเรื่อง "Add Value and Strengthen Food Safety with the Ability Laboratory International Standard ISO/IEC 17025 "บทบาทของสถาบันอาหารต่อการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทย ด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025","How to Read and Interpret the Results of the Calibration Certificate: วิธีการอ่านและตีความใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือ","Shelf Life Extension of Food Products: การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร","The Nutritional to Add Value to the Nutrition Label on Food Products: การแสดงคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยฉลากโภชนาการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร" สำหรับผู้สนใจ สามารถร่วมลงทะเบียนเข้าชมงานและฟังสัมมนาล่วงหน้าได้ที่ www.thailandlab.com ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 15 กันยายน 2557 และสามารถนัดหมายเพื่อรับทราบราคาและเทคโนโลยีกับบริษัทต่างๆ ได้โดยตรงผ่านทาง www.thailandlab.com ก่อนวันที่ 7 กันยายน 2557 สอบถามข้อมูลได้ ที VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908 หรือEmail:thailandlab@vnuexhibitionsap.com หรือ Facebook page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLab Youtube Channel:www.youtube.com/ThailandLab

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ