แรงกดดันด้านต้นทุนและเวลา ได้ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารจัดการโครงการในภูมิภาคเอเชีย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 16, 2014 12:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ โรงไฟฟ้าสองแห่ง ในประเทศไทย ซึ่งแต่ละโรงอยู่ห่างกันถึง 800 กิโลเมตร ได้ถูกสร้างให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมกัน โดยทีมงานเดียวกัน 1.5 ล้านครัวเรือนจะได้รับประโยชน์จาก พลังงานที่เพิ่มขึ้น 1,530 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานที่มีความจำเป็นในครัวเรือนเป็นอย่างมาก แรงกดดันด้านต้นทุนและการแข่งขันเพื่อที่จะเชื่อมต่อช่องว่างความต้องการของการใช้ไฟฟ้าทั่วภูมิถาคทั้งเอเชียได้กระตุ้นให้ EPC หรือ ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการ (ดำเนินการออกแบบ, จัดซื้อ และควบคุมการก่อสร้าง) ได้นำแนวทางการบริหารจัดการโครงการแบบทางเลือกมาใช้ เพื่อที่จะสามารถนำพลังงานออกสู่ตลาดได้มากขึ้น และ รวดเร็วยิ่งขึ้นอย่างน่าเชื่อถือ รวมทั้งสามารถควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความสำเร็จของโครงการ จะนะ บล๊อค 2 และวังน้อย บล๊อค 4 ในประเทศไทย นับเป็นตัวอย่างของแนวคิดใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่องค์ประกอบหลักที่สำคัญต่างๆ ของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งสอง ได้รับการจัดการและดำเนินการไปพร้อมๆกันจากทีมงานเดียวกัน แบล็ค แอนด์ วิชช์ ดำเนินโครงการ จะนะ 2 และวังน้อย 4 ภายใต้การว่าจ้างของมารุเบนิ คอร์ปอเรชั่น นับตั้งแต่ปี 2554 ด้วยตารางงานที่คล้ายคลึงกันเกือบทั้งหมด รวมทั้งยังมีการบริหารจัดการโครงการและงานออกแบบหลักโดยทีมวิศวกรเดียวกัน ถึงแม้ว่าทั้งสองโครงการจะมีลักษณะ และพื้นทีหน้างานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ตาม และอีกทั้งยังตั้งอยู่ห่างกันถึง 800 กิโลเมตร “อัตราการเติบโตของภูมิภาคเอเชียส่วนมากขึ้นอยู่กับว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานถูกพัฒนาขึ้นมากน้อยแค่ไหนในช่วงเวลาไปไม่กี่ปีนี้ เราเห็นได้ว่านักพัฒนาพลังงานได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อที่จะสามารถนำเสนอวิธีแก้ปัญหาพลังงานสู่ตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น” คุณจอห์น กัสท์กี รองประธานอาวุโสของ แบล็ค แอนด์ วิชช์ ในกลุ่มธุรกิจพลังงานประจำกรุงเทพมหานครกล่าว "โครงการจะนะและวังน้อยได้ตั้งมาตรฐานแนวทางใหม่ล่าสุดสำหรับวิธีการในการจัดการบริหารโครงการทางด้านพลังงานที่สามารถนำไปใช้กับโครงการอื่นๆได้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย วิธีการนี้เป็นส่วนผสมที่จำเพาะ แต่การที่เราสามารถบรรลุเป้าหมายตามกำหนดการที่ปฏิบัติได้จริง และสามารถรวมทีมที่เหมาะสมที่สุดในเวลาที่เหมาะสม ได้ช่วยนำไปสู่การใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และวิธีการบริหารโครงการที่น่าเชื่อถือ”. ขอบข่ายงานของ แบล็ค แอนด์ วิชช์ ประกอบด้วยวิศวกรรมการออกแบบ และการจัดซื้อเครื่องมือที่ใช้ในงานควบคุมระบบสมดุลของโรงไฟฟ้า (balance of plant) และงานบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค และการจัดหาเครื่องกำเนิดไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน (heat recovery steam generators) รวมไปถึงงานคอมมิชชั่นนิ่งอุปกรณ์ในขอบข่ายของ แบล็ค แอนด์ วิชช์ วิชาล บาลิกา ผู้จัดการโครงการของแบล็ค แอนด์ วิชช์ ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “เราได้ใช้ทีมงานหลัก ทีมเดียวกันในส่วนงานวิศวกรรมที่สำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิผล สำหรับส่วนงานที่แต่ละโครงการมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน เราค่อยจัดสรรทรัพยากรจำเพาะ เพื่อให้แน่ใจว่าการประสานงานเป็นไปอย่างสอดคล้อง และเหมาะสมกับรายละเอียดเฉพาะของเต่ละโครงการ ทรัพยากรเพิ่มเติมอื่นๆที่จำเป็นก็จะถูกระดมไปยังโครงการทั้งสองเพื่อให้มั่นใจว่างานสามารถดำเนินไปได้ตามกำหนด ในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถรักษามาตรฐานความปลอดภัยไว้ได้อีกด้วย” “แบล็ค แอนด์ วิชช์ ทำได้ตามความคาดหวังที่เราตั้งไว้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มดำเนินการ พร้อมทั้งส่งทีมงานที่มีความคล่องตัว และทุ่มเทให้เข้ามาจัดการด้านตารางเวลา และคุณภาพตามมาตรฐานที่เราต้องการอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทุกคนในทีมงาน และผู้ร่วมงานนั้นมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์และจุดมุ่งหมายเดียวกัน รวมไปถึงความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่ทำให้ประสบการณ์ของโครงการเป็นที่น่าจดจำ” ทาคาฮิโร คาวาชิ ผู้อำนวยการของโครงการจะนะ 2 และวังน้อย 4 มารุเบนิ คอร์ปอเรชั่นกล่าว โครงการวังน้อย 4 และจะนะ 2 สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนเมษายน และมิถุนายน 2557 และได้เริ่มต้นการผลิตพลังงานไฟฟ้า 769 เมกะวัตต์และ 782 เมกะวัตต์ตามลำดับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ