ดีเอชแอล เผยผลสำรวจประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมขึ้นสังเวียนระดับโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 29, 2015 11:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ - สิงคโปร์คว้าอันดับสาม ประเทศที่มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจมากที่สุดของโลก นับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ติดหนึ่งในสิบประเทศแถวหน้า - ประเทศในกลุ่ม 25 ประเทศชั้นนำ ได้แก่ ฮ่องกงอันดับที่ 11, เกาหลี 13, ไต้หวัน 18, ไทย 19 และมาเลเซีย 21 - ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกเริ่มเบนเข็มมาทางซีกโลกตะวันออก เมื่อเศรษฐกิจใน 140 ประเทศเริ่มดีขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมโยงกันทางธุรกิจของโลกฟื้นตัวดีขึ้น ดีเอชแอล ผู้นำด้านการให้บริการลอจิสติกส์ระดับโลกได้เปิดเผยผลสำรวจฉบับที่ 3 ของดัชนีวัดความเชื่อมโยงระหว่างประเทศหรือจีซีไอ (GCI) โดยระบุถึงการฟื้นตัวด้านความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ 5 ประเทศในเอเชียที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี และไทย ล้วนเป็นประเทศที่มีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศดีเยี่ยม โดยวัดจากขนาดของประเทศและมาตรฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ รายงานดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบจากทั้งหมด 140 ประเทศว่าประเทศนั้น ๆ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร โดยมีมิติในการวัด 2 ด้าน คือ "ความลึก" ได้แก่ความสำคัญในการค้าขายสินค้าและบริการ เงินทุนเคลื่อนย้ายต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ความเชื่อมโยงทางด้านข้อมูล การย้ายถิ่นของประชากร และอีกด้านวัดจาก "ความกว้าง" ที่พิจารณาทั้ง 4 ด้าน เช่นเดียวกับความลึกแต่ดูจากสัดส่วนจำนวนประเทศที่มีการติดต่อด้วยในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งสิงคโปร์ถูกจัดลำดับในอันดับที่สาม นับเป็นอันดับที่สูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชีย และเป็นประเทศในเอเชียประเทศเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่มสิบอันดับต้น เพราะแสดงถึง "ความลึก" ของการบูรณาการระหว่างประเทศ ที่สัมพันธ์กับขนาดของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยรวม สำหรับประเทศที่ติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ทั้ง 50 ประเทศ เช่น ฮ่องกงอันดับที่ 11 เกาหลี 13 ไต้หวัน 18ไทย 19 มาเลเซีย 21 นิวซีแลนด์ 31 ออสเตรเลีย 32 เวียดนาม 33 ญี่ปุ่น 40 และกัมพูชา 48 ในขณะที่ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 84 อินเดีย 71 อินโดนีเซีย 111 ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลียังสามารถติดอยู่ในกลุ่มอันดับต้นสิบประเทศ เมื่อวัดจาก "ความกว้าง" โดยคำนวณเช่นเดียวกับความลึกแต่ดูจากสัดส่วนจำนวนประเทศที่มีการติดต่อด้วยในภูมิภาคเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และสิงคโปร์ ล้วนมีผลงานที่โดดเด่น เมื่อพิจารณาด้าน "ความลึก" ที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะเฉพาะด้านโครงสร้างของขนาดประเทศและระดับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ผลการศึกษาของจีซีไอยังชี้ชัดว่าประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงผลความเชื่อมโยงกับนานาชาติสูงมาก เนื่องจากความเชื่อมโยงทางการค้าสินค้าและบริการ (Trade Pillar) ที่สะท้อนถึงการบูรณาการด้านธุรกิจไปยังห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศและนโยบายของชาติ ล้วนมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ "ความลึก" ให้กับประเทศ นอกจากนี้ผลประกอบการของประเทศกัมพูชาและเวียดนามมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แม้ประเทศทั้งสองถือว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่รายได้ประชาชาติค่อนข้างต่ำก็ตาม ศาสตราจารย์ปานกาจ เคมาวัด (Prof. Pankaj Ghemawat) ผู้เป็นนักเขียนร่วมในผลการสำรวจครั้งนี้ และยังได้รับการยกย่องให้เป็นนักวางแผนด้านเศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโลกาภิวัฒน์กล่าวว่า “จากข้อมูลยังชี้ชัดได้ว่ามีประเทศใหม่ ๆ เริ่มติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งผิดกับช่วงก่อนปีพ.ศ.2553 ประเทศที่พัฒนาแล้วจะติอต่ดค้าขายกันเอง "หลายบริษัทจากประเทศที่เจริญแล้วควรให้ความสำคัญในการลงทุนในตลาดที่เกิดขึ้นมาใหม่เพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดว่าวงการธุรกิจได้เปลี่ยนแนวทางไปแล้วจากทศวรรษที่ผ่านมา” เจอร์รี ชู ประธานกรรมการบริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า "เรื่องที่น่าสนใจที่เราทราบหลังจากการสำรวจของจีซีไอครั้งล่าสุดนี้ก็คือ แนวโน้มของศูนย์กลางเศรษฐกิจได้โน้มเอียงไปทางเขตที่อยู่ระหว่างประเทศจีนและอินเดียภายในปีพ.ศ.2593 ซึ่งดีเอชแอลได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายต่าง ๆ ของเรา เช่นการเปิดเส้นทางขนส่งด่วนอินทรา-เอเชียที่มีขึ้นเมื่อไม่นาน แสดงให้เห็นว่าเราพร้อมสำหรับแรงเหวี่ยงทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปนี้อย่างแน่นอน" ในแง่ของระดับความเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยรวม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกอยู่ในอันดับที่สาม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเข้มแข็งที่สมดุลทั้งในแง่ของ "ความลึก" และ "ความกว้าง" และยังได้บ่งบอกถึงความเข้มแข็งในด้านความเชื่อมโยงทางการค้าและข้อมูล ซึ่งภูมิภาคนี้สามารถอยู่ในอันดับสอง นับว่าเป็นภูมิภาคที่สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดส่งออกของโลกได้สูงขึ้นมากที่สุด เคลวิน เหลียง ประธานกรรมการบริหารดีเอชแอล โกลบอล เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "รายงานของจีซีไอเมื่อปีพ.ศ.2557 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเอเชียสามารถเติบโตขึ้นมาได้จากการธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก เราจึงต้องการทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อการค้าทั้งในแถบภูมิภาคและระดับโลก โดยเห็นได้จากการที่เราขยายเครือข่ายต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างจีนและยุโรปขึ้น ในหลายประเทศในเอเชีย เริ่มจากในโตเกียว นาโกย่า โอซาก้า และฮากาตะ ในประเทศญี่ปุ่น" ภูมิภาคนี้ยังแสดงถึงประสิทธิภาพในการปรับตัวยืดหยุ่นไปกับทิศทางของสากล และยังคงความสำคัญในการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกันมากว่าสามทศวรรษ ออสก้า เดอ บอค ประธานกรรมการบริหารดีเอชแอล ซัพพลาย เชน เอเชียแปซิฟิก ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า "เศรษฐกิจในเอเชียนั้นโดดเด่นพอที่จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเรายังให้ความสำคัญกับความต้องการและความจำเป็นทางด้านลอจิสติกส์มาช้านานแล้ว โดยเห็นได้จากการลงทุนไปมหาศาล ในการสร้างศูนย์ด้านลอจิสติกส์ที่ทันสมัยทั่วภูมิภาค โดยศูนย์ที่เพิ่งสร้างเสร็จล่าสุดด้วยพื้นที่ใช้สอยกว่า 90,000 ตารางเมตร (Advanced Regional Center) ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ และศูนย์ Integrated Logistics Center อีกแห่งที่ตั้งอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย" ผลการสำรวจของจีซีไอเมื่อปีพ.ศ. 2557 ยังระบุถึงข้อมูลเฉพาะของประเทศทั้ง 140 ประเทศ รวมทั้งการสร้างแผนที่เฉพาะเกี่ยวกับกระแสการไหลเวียนทางการค้าของประเทศทั้งหลายด้วย รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงการค้นพบครั้งใหม่ของกระแสไหลเวียนของโลก ที่ได้รับการพัฒนาจากคณะผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Georgia Institute of Technology

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ