สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 13-17 เม.ย. 58 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 20-24 เม.ย. 58 โดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday April 20, 2015 15:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--ปตท. สัปดาห์ ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 3.98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 61.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 3.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 3.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 54.81เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 4.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 75.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 3.11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 72.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก กลุ่มติดอาวุธ Al-Majles al-Ahli อดีตหนึ่งในกองกำลังของ Al Qaeda อาศัยความไม่สงบจากการต่อสู้ในเยเมน บุกเข้ายึดท่าส่งออกน้ำมันดิบ Ash Shihr Terminal ปริมาณส่งออก 140,000 บาร์เรลต่อวัน และเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบ Bab el-Mandeb Baker Huges รายงานจำนวนแท่นขุนเจาะน้ำมันดิบ (Rig Counts) ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เม.ย. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 42 แท่น อยู่ที่ระดับ 760 แท่น The North Dakota Industrial Commission (NDIC) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Bakken รัฐ North Dakota เดือน ก.พ. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 14,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 EIA ปรับเพิ่มความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.08 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 93.60 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเลขขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯรายงานการลงทุนสัญญาน้ำมันดิบ WTI NYMEXในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์ก และ ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย. 58 นักลงทุนปรับเพิ่มสถานะการเข้าซื้อสุทธิ (Net Long Position) ขึ้น จากสัปดาห์ก่อน 10,368 สัญญา อยู่ที่ระดับ 235,057 สัญญา ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เม.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.3 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 483.7 ล้านบาร์เรล ในขณะที่คลังกักเก็บน้ำมันที่ Cushing รัฐ Oklahoma ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 61.5 ล้านบาร์เรล และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 14 EIA คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มนอก OPEC ในปี 2558 เพิ่มขึ้นจากประมาณการณ์เดือนก่อน 30,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 57.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเติบโตจากปีก่อน 630,000 บาร์เรลต่อวัน จากการผลิตที่เพิ่มขึ้นในเอเชียและบราซิล สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีน ในไตรมาสที่ 1/2558 เติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7% แต่ลดลงมาจาก 7.3% ในไตรมาสที่ 4/2557 กรมศุลกากรจีนรายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือน มี.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 350,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 6.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากปริมาณสำรองที่อยู่ในระดับสูง ความต้องการสำหรับปริมาณสำรองเชิงยุทธศาสตร์ผ่อนแรง กอปรกับโรงกลั่นเข้าสู่ช่วงปิดซ่อมบำรุง แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปิดตลาดวันศุกร์ปรับลดลงจากภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดทั้งจากปริมาณการผลิตของ OPEC ที่ทรงตัวในระดับสูง และปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบนักวิเคราะห์ของ Citibank ประเมินผลกระทบของการบุกยึดท่าส่งออกน้ำมันดิบในเยเมน (ส่งออกที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน) ยังไม่ได้บ่งชี้ว่าเส้นทางเดินเรือขนส่งน้ำมันสำคัญของโลกใกล้ชายฝั่งเยเมนจะมีอุปสรรคในการเดินเรือ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเฉลี่ยสัปดาห์ที่ 13-17 เม.ย. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากรายงานรายสัปดาห์ของจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ หยุดดำเนินการปรับลดลงสู่ระดับ ต่ำสุดในรอบ 8 ปี ทั้งนี้กระแสการปรับลด CAPEX ของบริษัทน้ำมันทั่วโลกเพื่อปรับสถานะทางธุรกิจให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบตกต่ำสะท้อนให้เห็นเป็นระยะ ล่าสุด Schlumberger ประเมินค่าใช้จ่ายด้าน E&P ในสหรัฐฯ ลดลง 30% และ ทั่วโลกอยู่ที่ 15% ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทั้งสหรัฐฯ และในประเทศอื่นลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี อีกทั้งทางการจีนใช้นโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ติดตามการเจรจาของกรีซกับกลุ่มเจ้าหนี้ เพราะฐานะการคลังกรีซในปี 2557 แย่กว่าที่คาดโดยยอดขาดดุลแตะ 6.4 พันล้านยูโร (6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือ 3.5% ของ GDP มากกว่าคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 1.3% และของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ 1.6% ส่งผลให้กรีซมีแนวโน้มผิดนัดชำระหนี้หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้ได้ ทางเทคนิคคาดว่าราคาน้ำมันดิบ Brent , WTI และ Dubai สัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในกรอบ 62.9-66.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล, 55.4-59.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 60.4-64.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากการประท้วงที่ท่าส่งออกน้ำมันของบริษัท Vopak บริษัทถังน้ำมันจากเนเธอร์แลนด์ โดย สหภาพแรงงาน FNV Havens และ CNV Vakmensen เริ่มประท้วงที่ท่าส่งออก หลังการเจรจาเรียกร้องให้บริษัทปรับเพิ่มเงินเดือน และรับประกันตำแหน่งงาน ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลให้ยุโรปมีปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินลดลง และ IES รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 เม.ย. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 12.58 ล้านบาร์เรล ขณะที่ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เม.ย. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 227.9 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Energy Aspects รายงานความต้องการใช้น้ำมันเบนซินของจีน เดือน มี.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 300,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวันหลังจากช่วงเทศกาลตรุษจีนสิ้นสุด ขณะที่ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 เม.ย. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 3.46% มาอยู่ที่ 10.78 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 74.4-78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่น Dung Quat (กำลังการกลั่น 130,000 บาร์เรลต่อวัน) ของเวียตนามลดกำลังการกลั่นมาอยู่ที่ 50% เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศอ่อนแอจากการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีเมื่อต้นปีที่ผ่านมาประกอบกับบริษัท Egyptian General Petroleum Corp. (EGPC) ของอียิปต์นำเข้าน้ำมันเบนซิน 6.3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบเดือน พ.ค.-มิ.ย. 58 ขณะที่ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 เม.ย. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.66% มาอยู่ที่ 9.37 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ วันที่ 15 เม.ย.58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.94 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 12.58 ล้านบาร์เรล และ EIA รายงานปริมาณสำรองDistillate เชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เม.ย. 58 เพิ่มขึ้น จากสัปดาห์ก่อน 2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่128.9 ล้านบาร์เรล สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 72-76.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ