ศก.จีนถดถอย สศก. มั่นใจ ภาคเกษตรไทยยังไม่กระทบ ระบุ ส่งออกเกษตรยังขยายตัวดี

ข่าวทั่วไป Tuesday July 14, 2015 11:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.ค.--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุ ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนถดถอย ยังไม่กระทบต่อภาคเกษตรไทยมากนัก เผย การส่งออกสินค้าเกษตร ยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งผลไม้ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สวนทางกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในภาพรวม และความสะดวกในการขนส่งสินค้า ด้าน รัฐบาลได้วางมาตรการช่วยภาคเกษตรไทยไว้แล้ว เพื่อลดผลกระทบจากจีนเบาบางลง แนะติดตามการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจของจีนอย่างใกล้ชิด นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับจีนมาอย่างยาวนาน โดยมีแนวโน้มการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากจีน เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2553 – 2557 ซึ่งปี 2557 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค 1,251,528.3 ล้านบาท โดยสินค้าประเภทผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้มีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับ 3 มูลค่า 21,227.5 ล้านบาท และ ปี 2558 เดือนมกราคม-พฤษภาคม นำเข้า 7,954.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตร พบว่า ไทยส่งออกสินค้าที่สำคัญไปยังจีนหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา ทุเรียน มังคุด ลำไย เป็นต้น โดยในปี 2557 ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีนมูลค่าสูงถึง 806,437.6 ล้านบาท และในปี 2558 เดือน มกราคม-พฤษภาคม ส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่า 309,359.2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 335,560.8 ล้านบาท โดยสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้และผัก (ทุเรียน มังคุด ลำไย) ข้าว และสินค้าอื่นๆ มีการขยายตัวในการส่งออกไปยังจีนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาประชากรของจีนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงหันมานิยมบริโภคสินค้า โดยเฉพาะผลไม้ของไทย ซึ่งนับว่ามีราคาที่สูงและถือว่าเป็นของที่มีคุณภาพดี ในขณะเดียวกันปริมาณการส่งออกยางพาราเริ่มลดลง เนื่องจากมีการปลูกยางพาราในประเทศจีนเป็นจำนวนมาก และอยู่ในช่วงอายุที่เริ่มกรีดน้ำยางได้แล้ว จึงทำให้ความต้องการยางพาราของจีนลดลง ตารางมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปจีน ใน 10 อันดับแรก ระหว่างปี 2553-2558 (ม.ค.-พ.ค.) ลำดับ สินค้า มูลค่า : ล้านบาท 2553 2554 2555 2556 2557 2557 2558 (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) 1 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 36,705.6 41,044.8 46,223.8 60,989.4 75,004.0 31,880.6 37,105.0 2 ยางพารา 77,039.3 139,096.0 111,544.4 114,274.8 88,636.0 45,597.8 28,433.8 3 ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง 6,437.9 13,951.8 11,787.0 13,553.5 12,592.1 5,577.2 5,794.2 4 ข้าว 6,876.5 7,137.2 4,699.0 7,665.3 12,364.0 4,844.4 5,154.0 5 กุ้งสด แช่เย็น แช่แข็ง 1,480.0 897.5 1,001.8 453.5 645.2 118.7 555.9 6 ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง 1,798.6 1,678.9 1,499.5 1,614.5 1,867.0 878.7 434.2 7 ถั่วอื่น ๆ 17.7 76.2 34.3 501.4 332.5 249.9 263.9 8 ปลาแห้ง 17.4 29.8 513.5 1,211.4 651.3 143.1 246.0 9 เมล็ดผัก/สปอร์ใช้สำหรับปลูก 104.4 151.6 131.4 212.2 213.1 100.9 128.7 10 สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย 357.2 392.2 296.9 363.7 298.4 129.8 62.9 รวม10 รายการ 130,834.6 204,456.0 177,731.6 200,839.7 192,603.5 89,521.3 78,178.6 อื่นๆ 547,797.2 586,756.2 652,116.6 623,832.5 613,834.1 246,039.5 231,180.5 รวมทั้งสิ้น 678,631.8 791,212.2 829,848.2 824,672.2 806,437.6 335,560.8 309,359.2 ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร, 2558 สำหรับมาตรฐานการส่งออกผลไม้จากประเทศไทยไปจีน ได้มีข้อตกลงอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ 23 ชนิด คือ กล้วย มะเฟือง ส้มโอ ส้ม มะพร้าว น้อยหน่า ฝรั่ง ขนุน ลองกอง มะละกอ เสาวรส ชมพู่ เงาะ ละมุด สละ มะขาม ส้มเขียวหวาน สับปะรด มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และมังคุด โดยผลไม้ที่ส่งไปจีน จะต้องมีฉลาก และระบุข้อความตามข้อกำหนด คือ Fruit type, Origin และ Export to the People's Republic of China ซึ่งข้อกำหนดในการนำเข้าผลไม้ 5 ชนิดตามพิธีสารความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชระหว่างไทยกับจีน คือ ผลไม้เขตร้อนของไทย 5 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ และมังคุด โดยผลไม้ดังกล่าวจะต้องปลอดจากศัตรูพืชควบคุมของจีน (Regulated Pests) และมีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติต่าง เช่น ต้องมาจากแปลงปลูกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และมาจากโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรองคุณภาพและมาตรฐานตามระบบการผลิตที่ดี (GMP) จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก พร้อมผ่านการตรวจสอบตามข้อที่กำหนดไว้ต่าง เป็นต้น กรณีการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนโดยผ่านประเทศที่ 3 (ด่านตรวจพืชมุกดาหาร – ด่านผิงเสียง) ผู้ส่งออกสามารถศึกษาข้อมูลได้จากประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสาหรับผลไม้ที่ส่งออกผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ.2552 ส่วนกรณีการนำเข้าผักสดตามพิธีสารฯ ผักไทย-จีน นอกจากผักที่ส่งออกต้องมาจากแปลงปลูกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) แล้ว จะต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชแนบ และมีสารตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งผักสดที่สามารถส่งออกได้มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผักรับประทานหัว ราก และหัวกลีบ 2) ผักรับประทานผล และถั่ว 3) ผักรับประทานใบ ดอก 4) เห็ด และ 5) ผักรับประทานหน่อ อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งผลให้ฤดูกาลเริ่มเปลี่ยนแปลง ฝนตกล่าช้า การเกิดภัยแล้ง อุทกภัย เป็นต้น ทำให้ปริมาณการผลิตพืชลดลงไปด้วย ส่งผลราคาขายสินค้าเกษตรยังคงอยู่ในระดับดี ซึ่งหากได้รับผลกระทบจากความต้องการการสั่งซื้อจากจีนที่ลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ เกษตรกรก็จะยังสามารถอยู่ได้ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังดีอยู่ ดังนั้น จึงคาดว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนถดถอย จะยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรไทยมากนัก แม้ไทยจะขาดดุลการค้ากับประเทศจีนมาตลอด แต่ด้านการส่งออกสินค้าเกษตรนั้นยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งผลไม้ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากโอกาสในการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพของชาวจีน กำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในภาพรวม และความสะดวกในการขนส่งสินค้า ทั้งนี้ ผลกระทบที่คาดว่าเกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของจีน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ทางรัฐบาลจะมีมาตรการให้ภาคเกษตรของไทยไม่ถดถอยไปกว่าเดิมอยู่แล้ว เช่น การส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษใน 5 จังหวัด ซึ่งเป็นลู่ทางการค้าการลงทุน การส่งออก เพื่อให้ภาคการเกษตรขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ได้รับผลกระทบจากจีนเบาบางลง นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการส่งเสริมการค้ากับจีนโดยเฉพาะ เพื่อผลักดันให้การค้าระหว่างไทย-จีนเพิ่มมากขึ้น การประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อการปรับตัวของภาคเกษตรไทยที่ทันท่วงที ควรมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจของจีนอย่างใกล้ชิดต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ