นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดนาโน ส่งออก สร้างรายได้ ให้มหาวิทยาลัยฯ

ข่าวทั่วไป Thursday June 16, 2016 17:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--มทร.ธัญบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ นักวิจัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี และ RMUTT Research Center : Nano Microorganism for Agriculture ได้ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดนาโน ส่งออก ให้กับประเทศมาเลเซีย จำนวนมากกว่า 110,000 ตันต่อปี โดยสร้างรายได้แก่มหาวิทยาลัยฯประมาณ 800-900 ล้านบาทต่อปี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์ เปิดเผยว่า หัวเชื้อจุลินทรีย์และสารสกัดนาโน หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโน สารสกัดจุลินทรีย์นาโนและผลิตภัณฑ์อื่นๆเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ได้จากการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และพัฒนาต่อยอดร่วมกับสถานประกอบการเครือข่ายฯของมหาวิทยาลัยฯมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้นวัตกรรมชีวภาพที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาการเกษตร เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาและผลกระทบให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร และอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เมื่อเกษตรกรนำหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนปรับสภาพดิน และใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับสารสกัดจุลินทรีย์นาโนทดแทนปุ๋ยเคมี หรือใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนและสารสกัดจุลินทรีย์นาโนร่วมกับปุ๋ยเคมี จะทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน ยกตัวอย่างการปลูกข้าว 1 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมี มีต้นทุนประมาณ 6,000-7,000 บาท หากเกษตรกรใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนและสารสกัดจุลินทรีย์นาโน จะลดต้นทุนเหลือประมาณ 2,000-3,000 บาท แต่ทำให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตมากขึ้นกว่าปกติ เพิ่มกำไร กำจัดโลหะหนักปนเปื้อน ที่สำคัญปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้เหมาะสมเพื่อการเกษตรในระยะยาวนาน คุณภาพผลผลิตอินทรีย์ได้มาตรฐาน GAP ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน จำหน่ายให้กับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทุนพัฒนาและฟื้นฟูการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรมเอกชนในประเทศมาเลเซีย รวมถึงรัฐบาล ประเทศมาเลเซีย จำนวนมากว่า 110,000 ตันต่อปี โดยสร้างรายได้แก่มหาวิทยาลัยฯประมาณ 800-900 ล้านบาทต่อปี ชนิดผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโนที่ศูนย์ RMUTT Research Center Nano Microorganism for Agriculture ผลิตเพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วย 1.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน(ผง) สำหรับเร่งการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ที่เป็นแหล่งอินทรียสาร(Organic matter) ให้กลายเป็นธาตุอาหารหลัก อาหารรองและอาหารเสริมในรูปที่รากพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ และลดปริมาณโลหะหนักปนเปื้อน 80-90 % ทำให้ได้ปุ๋ยชีวภาพที่มีคุณภาพสูงกว่าค่ามาตรฐานสารปรับปรุงชีวภาพ สำหรับพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา ข้าว อื่นๆ ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่ม กำจัดมลสารและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมแบบครบวงจร 2. หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน(เม็ด) สำหรับเคลือบและผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมี เพื่อทำให้ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมี มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้สูงกว่าค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์สารปรับปรุงชีวภาพ 3. สารสกัดจุลินทรีย์นาโน เพื่อเป็นอาหารเสริม ฮอร์โมน เอนไซม์ อื่นๆ สำหรับช่วยเร่งการเติบโตของพืชแต่ละชนิด ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อใช้ร่วมกับหัวเชื้อชีวภาพนาโนที่เหมาะสมกับชนิดพืชที่เกษตรกรต้องการพัฒนา 4. หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโน สำหรับใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ หรือร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ เพียงแต่เกษตรกรใช้หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับสารสกัดจุลินทรีย์นาโน สำหรับพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจในแต่ละชนิด ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา มะนาว มันสำปะหลัง อ้อย อื่นๆ ก็จะช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร ลดต้นทุนของเกษตรกร สร้างมูลค่าเพิ่ม กำจัดมลสาร ปรับสภาพดินและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าปกติ และโรงงานอุตสาหกรรมแบบครบวงจร 5.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน สำหรับควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรค 6.หัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน สำหรับควบคุมศัตรูแมลง โดยผลิตภัณฑ์นาโนเหล่านี้เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญๆ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ ยางพารา ข้าว อื่นๆ จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไรกำจัดโลหะหนักปนเปื้อน และที่สำคัญปรับปรุงสภาพดินที่เสื่อมโทรมให้เหมาะสมเกษตร สามารถเพาะปลูกในระยะยาวนาน เพียงแต่เกษตรกรใส่ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อชีวภาพอัดเม็ดนาโนร่วมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์นาโน ในปริมาณน้อยกว่าปกติแต่มีประสิทธิภาพการต่อการเกษตรเพิ่มขึ้น หากเกษตรกรและหน่วยงานที่สนใจผลิตภัณฑ์เหล่านี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ RMUTT Research Center Nano Microorganism for Agriculture โทร.089-7678569

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ