SPU : วิศวไฟฟ้าฯม.ศรีปทุมจัดประลอง“เจ้าความเร็ว” เด็กสาธิตจุฬาฯสุดเจ๋ง..! คว้าแชมป์"รถวิ่งตามเส้นเจ้าความเร็ว : Engineering Challenge 2016"

ข่าวทั่วไป Wednesday August 24, 2016 17:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรมโครงการแข่งขัน "รถวิ่งตามเส้นเจ้าความเร็ว : Engineering Challenge 2016" ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันรถเจ้าความเร็วอัจฉริยะสมองกลวิ่งตามเส้นทางที่กำหนด โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษาเข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ฝึกฝนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีเยาวชนจากหลายสถาบันการศึกษา ให้ความสนใจและตื่นตัว ส่งทีมเข้าร่วมทำการแข่งขันเป็นจำนวนมากถึง 145 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและมอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะเลิศในการแข่งขันฯ ซึ่งในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป จะทำการแข่งขันใน "รอบชิงชนะเลิศ" ณ ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ ชั้น 5 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า....คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดงานนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษา ได้ออกแบบสร้างรถแข่งวิ่งตามเส้นในรูปแบบการตรวจจับความแตกต่างและสัญลักษณ์ บนพื้นผิวได้อย่างถูกต้อง เพื่อค้นหาสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางด้านสิ่งประดิษฐ์ สำหรับรถวิ่งตามเส้นความเร็วสูง เพื่อฝึกฝนการออกแบบและพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการทำงานของรถวิ่งตามเส้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้าน นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยสามารถนำไปใช้งานได้จริงเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้ และกิจกรรมการศึกษานอกห้องเรียนให้เป็นประโยชน์อย่างสูงสุด คุณสมบัติผู้สมัคร - ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ไม่เกินระดับ ม.6 - ผู้สมัครกำลังศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา เงื่อนไขการสมัคร - ทีมละไม่เกิน 3 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา กฎกติกาและเงื่อนไข - ใช้รถแข่งวิ่งตามเส้นคันเดียวกันตลอดการแข่งขัน ห้ามมีการสับเปลี่ยนรถแข่งในขณะแข่งขัน - ไม่จำกัดเทคโนโลยีที่ใช้งาน - ไม่จำกัดน้ำหนัก - ขนาดของตัวรถกว้าง× ยาวไม่เกิน 210 × 297 มิลลิเมตร (ขนาดไม่เกินกระดาษ A4) - การแข่งขันจำนวน 2 รอบ เอารอบเวลาที่ดีที่สุด - หากหลุดออกจากแข่งขันให้สามารถนำมาวางในจุดที่กำหนดหลังเส้นจับเวลา แต่จะไม่หยุดจับเวลา ข้อบังคับ - ห้ามใช้เครื่องยนต์ทุกชนิด หรือใช้วิธีการจุดระเบิด หรือวิธีการใดๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้จัดและผู้เข้าร่วม - ห้ามมีการบังคับด้วยมือ หรือส่งสัญญาณช่วยในการควบคุมรถแข่ง - หากมีการร้องเรียน การทำผิดกฎกติกา หรือข้อกำหนด ถือว่าละเมิดข้อบังคับต่างๆ จะถูกตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน และตัดสิทธิ์ในรางวัลต่างๆ รางวัลการแข่งขัน - รางวัล Winner รางวัลละ 15,000 บาท(พร้อมถ้วยรางวัล) - รางวัล Best Technique Award รางวัลละ 5,000 บาท - รางวัล Special Award รางวัลละ 5,000 บาท - ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจนจบรายการ ได้ใบประกาศนียบัตร และเหรียญรางวัลความสำเร็จ (Engineering Achievement Award) - ทุกทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนทีม ทีมละ 1,500 บาท เกณฑ์การตัดสิน (คำตัดสินของกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด) - หาความเร็วสูงสุดในการแข่งขัน จากทีมทั้งหมดที่เข้าร่วม - เทคโนโลยี/ระบบควบคุม - ความคิดสร้างสรรค์ รูปแถบสีของพื้นสนามที่ใช้ในการแข่งขัน - วัสดุพื้นไม้ทาสีดำ กว้าง 30 เซนติเมตร - เส้นสีขาว (ตรงกลาง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร - เส้นสีขาว (ด้านข้างทั้งสองข้าง) ความกว้าง 3 เซนติเมตร สนามที่ใช้ในการแข่งขัน สนามมีขนาดความกว้าง 300 เซนติเมตร ความยาว 900 เซนติเมตร สรุปผลการแข่งขัน - รางวัลชนะเลิศ winner ด้วยเวลาการแข่งขัน 21.6 วินาที ได้แก่ ด.ช.สรสิช สิรวัฒนากุล มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม รับทุนการศึกษาจำนวน 16,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัลเกียรติยศจาก ผศ.ดร.ชลธิศ เอียมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม - รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม Best technique ได้แก่ น.ส.พริมา โตกลม และ น.ส.กัณฐิกา อภิญโญวิเชียรมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนราชินีบน รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท - รางวัลขวัญใจกรรมการ Special award ได้แก่ นายณเมธี น้อยแก้ว มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม รับทุนการศึกษาจำนวน 6,500 บาท - ราวัล Boo-Bee Award ได้แก่ นายณัฐวัฒ แก้ว มะลัง และ นายวุฒินันท์ ก้อนทองดีปวส. ชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รับทุนการศึกษาจำนวน 3,500 บาท - โรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้าย ได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษาโรงเรียนละ 1,500 บาท ได้แก่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายมัธยม, ศูนย์การเรียนรู้ด้านหุ่นยนต์,โรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่ พัทยา, โรงเรียนทานตะวันไตรภาษา, โรงเรียนบ้านนา"นายกพิทยากร", โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกมัธยม, โรงเรียนจิตรลดา(สายวิชาชีพ), วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนราชินีบน, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม, วิทยาลัยการอาชีพกุมภวาปี, วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา, วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี, โรเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๘ จันทบุรี, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์, โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม, วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ, วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา, โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม, วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา, โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ