นานาชาติผนึกกำลังส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจด้าน Smart Energy ในอาเซียน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 2, 2017 16:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ส.ค.--องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ข้อจำกัดในการนำ Smart Energy มาใช้แก้ปัญหาด้านพลังงานไม่ได้เป็นความท้าทายด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลักอีกต่อไปหากแต่เป็นด้านซอฟต์แวร์และรูปแบบธุรกิจ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาของแหล่งพลังงานสะอาดได้ลดลงอย่างต่อเนื่องและสังคมให้ความสนใจกับประเด็นนี้เป็นหลัก ในอนาคตความสนใจจะเปลี่ยนไปที่การดึงศักยภาพทางดิจิตอลออกมาใช้ในการเข้าถึงผู้บริโภคและการเสนอทางออก เห็นได้จากคำยอดฮิตในยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management) สมาร์ทกริด (Smart Grid) บล็อกเชน (Blockchain) และ Internet of Things (IoT) และอื่น ๆ อีกมากมาย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) มุ่งที่จะลดช่องว่างทางดิจิตอลนี้และสร้างความตระหนักถึงศักยภาพด้านดิจิตอลในอุตสาหกรรม Smart Energy ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว GIZ ร่วมมือกับ CalCEF, TechGrind, CU Innovation Hub และ KX จัดงาน Smart Energy Hackathon Southeast Asia ในวันที่ 8-10 กันยายน 2560 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถได้แสดงฝีมืออีกทั้งยังนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลมาแก้ปัญหาด้านพลังงานในปัจจุบัน งานดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการสนับสนุนการสร้างระบบนิเวศสำหรับซอฟต์แวร์ด้าน Smart Energy ในอาเซียน ผู้ชนะในงาน Smart Energy Hackathon จะได้รับเงินรางวัลรวมมูลค่าสูงสุด 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 350,000 บาท อีกทั้งทีมที่ฉายแววโดดเด่นยังมีโอกาสที่จะได้รับเงินทุนหรือเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจจาก Incubator หลังจบงาน งาน Hackathon นี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์สายโหดเท่านั้นแต่เปิดโอกาสให้กับทั้งเหล่าสตาร์ทอัพ นักออกแบบ นักวิเคราะห์ข้อมูลและกูรูด้านพลังงานมาแข่งขันเพื่อหาทางออกเชิงนวัตกรรมร่วมกัน ตลอดงานจะมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาตั้งแต่นักออกแบบไปจนถึงผู้คร่ำหวอดในแวดวงพลังงานมาคอยให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้เข้าแข่งขัน ไฮไลท์สำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขัน: 1.เงินรางวัลรวมมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 350,000 บาท อันดับ 1: 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 140,000 บาท อันดับ 2: 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 105,000 บาท อันดับ 3: 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 70,000 บาท อันดับ 4: 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 35,000 บาท 2. โอกาสในการเข้าถึงเครือข่าย Incubator และ Accelerator ด้าน Smart Energy 3. โอกาสในการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเพื่อเร่งรัดการเติบโตของสตาร์ทอัพด้าน Smart Energy ของคุณ 4. เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายมืออาชีพที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หากคุณมีไอเดียเจ๋ง ๆ อย่ารีรอที่จะมาร่วมสนุกและสร้างเครือข่ายไปกับเหล่านักนวัตกรรม พร้อม ๆ กับร่วมแก้ปัญหาด้านพลังงานของอาเซียน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://smartenergyhackathon.com/ หรือเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/smartenergyhack/ งานดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดสปอนเซอร์ของเรา หากบริษัทของคุณอยากมีส่วนร่วมในงานนี้หรือมีโจทย์ที่อยากให้เหล่าแฮกเกอร์ร่วมกันแก้ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโอกาสในการสปอนเซอร์ https://www.dropbox.com/s/lmujdajm2ireqvx/Sponsorship%20Flyer.pdf?dl=0
แท็ก อาเซียน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ